1

ส่งข้าวฟ้าผ่า กลางแคมป์พระราม 3 ยื้อ 136 ชีวิต ถูกพักงาน ไร้ผู้เหลียวแล

4 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทันทีที่ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับแจ้งเหตุ “ด่วน 136 ชีวิตร้องขอสิ่งประทังชีวิตหลังปิดแคมป์คนงาน ไม่มีใครดูแล” ที่เสนอข่าวโดย NationTV (https://www.nationtv.tv/news/378828263) และ Khaosod TV (https://www.youtube.com/watch?v=U6FNthlb4sI&ab_channel=KhaosodTV-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%94) จาก รศ.ไพลิน ผ่องใส อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เครือข่าย Food for Fighters ได้เร่งประสานไปยัง “หัวหน้าอู๋” ผู้ดูแลแคมป์คนงานย่านพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วนแห่งนี้ ซึ่งเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง และได้เร่งนำอาหารกล่อง จำนวน 140 กล่อง เข้าไปบรรเทาความหิวโหยของคนงานภายในแคมป์ทั้งหมด 136 คนในทันที โดยทั้งหมดถูกกักตัวแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ตามมาตรการปิดแคมป์คนงาน หวังสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้รับการร้องขอความช่วยเหลือสิ่งของที่จำเป็นจากแคมป์ดังกล่าว อาทิ หน้ากากอนามัย ข้าวสาร อาหารแห้ง […]

Banner 172

3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”

คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)  เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]

banner 8 01

Chula Zero Waste ปลื้ม FFF ใช้กล่องข้าวรักษ์โลก

27 มิ.ย. 2564 ภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ผู้แทนสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ รุดเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ Food For Fighters พร้อมหารือแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนแออัดที่ต้องกักตัวโดยใช้ตามกรอบแนวคิด Chula Zero Waste ให้บรรลุเป้าหมาย SDG 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนตามที่ได้รับคำแนะนำจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) นายกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้าภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ กล่าวว่า “Food For Fighters ดำเนินภารกิจข้าวแสนกล่องโดยใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมดีอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากการขอความร่วมมือให้ผู้บริจาคอาหารกล่องเลือกใช้วัสดุรักษ์โลกอย่างกล่องกระดาษ กล่องไบโอพลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์ หลีกเลี่ยงการใช้กล่องโฟม และรณรงค์ไม่ใส่ช้อนพลาสติกในกล่องข้าวเพราะผู้กักตัวที่บ้านมีช้อนส้อมอยู่แล้ว ทำให้ลดใช้ช้อนพลาสสิกไปได้นับแสนคัน และที่น่าประทับใจคืออาหารที่นำส่งให้กับแพทย์พยาบาลที่ รพ.สนามนั้น จะใช้ปิ่นโตที่สามารถล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษที่ถุงยังชีพที่นี่ใช้ถุงพลาสติกจากมันสำปะหลังที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีอยากฝากให้ผู้ดำเนินโครงการติดตามและให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกต้องตามหลักรีไซเคิล เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย” การดำเนินภารกิจวันที่ 42 ของศูนย์ ได้รับบริจาคอาหารทั้งสิ้น 3,448 กล่อง จากผู้มีจิตศรัทธา อาทิ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ คุณธิติมา […]

Banner 171

Food For Fighters หารือ UNDP ผุด ‘ข้าวแสนกล่อง’ ขจัดหิวโหยช่วงโควิด นิติจุฬาฯ ปิ๊งคิวอาร์โค้ดเยียวยาปัญหากฎหมาย

25 มิ.ย.64 ณ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เครือข่าย Food For Fighters นำโดยคุณพันชนะ วัฒนเสถียร ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ผู้ก่อตั้ง The Sharpener และ กรรมการอำนวยการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) คุณปิยาภรณ์ แสนโกศิก ผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด และคุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563 เข้าพบ นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ Food For Fighters ปีที่ 2 พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (The Sustainability Developmdent Goals : SDG) เป้าหมายที่ […]

Banner 170

รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)

ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]

Banner 169

3 หน่วยงาน ผนึกกำลังรองรับการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ช่วยลดมลภาวะ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย

กฟผ. MEA รฟท. ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รับเทรนด์การเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ฤกษ์ดีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร และสถานีต้นทางบางซื่อ พร้อมส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับสถานีกลางบางซื่อและโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวมถึงรองรับการใช้ไฟฟ้าพื้นที่เมืองมหานครในอนาคต เริ่มใช้งาน ก.ค. นี้ วันนี้ (21 มิถุนายน 2564) นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กฟผ. และสถานีต้นทางบางซื่อ MEA เพื่อส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับสถานีกลางบางซื่อและโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ร่วมกับ MEA และ รฟท. ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้ไฟฟ้าของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) […]

3 01

จุฬาฯ เจ๋ง ส่ง “น้องหมา” คัดกรองโควิด แม่นยำเฉียด 100%

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย เปิดตัว “รถดมไว” คันแรกของไทย สนับสนุนภารกิจภาคสนามของ “สุนัขดมกลิ่นคัดกรองโควิด-19” มั่นใจผลตรวจแม่นยำสูงถึงร้อยละ 96 17 มิ.ย. 64 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล พร้อมด้วยคณบดีอีก 4 คณะ ได้แก่ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย นพ.วิชาญ    ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และผู้แทน บริษัท พีคิวเอแอสโซซิเอส จำกัด ร่วมกันแถลงเปิดตัว […]

S 5685258

“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด

ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo)  ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ  “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]

AF20D973 DE7F 424A 8D1C 13C270B748A2

ข้าวแสนกล่องห่วงใย ไม่ทิ้ง “บางขวาง”

14 มิ.ย. 2564 ภารกิจข้าวแสนกล่องวันที่ 29 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) นำส่งอาหารกล่องลงพื้นที่ 15 ชุมชน อาทิ มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนเย็นอากาศ ชุมชนโค้งรถไฟยมราช ชุมชนกุหลาบแดง ชุมชนมหานาควัดแคนางเลิ้ง ไม่เพียงแต่ชุมชนแออัดเท่านั้น แต่เครือข่าย Food For Fighters ยังส่งอาหารให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ณ รพ.สนามเรือนจำกลางบางขวาง นนทบุรี เป็นครั้งที่ 18 นับรวมได้กว่า 1,200 กล่องแล้ว เพื่อเป็นกำลังใจให้ต่อสู้คลี่คลายคลัสเตอร์ใหญ่ที่มีผู้ต้องขังติดเชื้อนับพันราย วันนี้ มีผู้มีจิตศรัทธาทยอยส่งอาหารกล่องเข้ามาตลอดทั้งวันรวมทั้งสิ้น 5,190 กล่อง โดยเป็นการไฟฟ้านครหลวง SEA (Thailand) สมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และคณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ส่งอาหารเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเหล่าเชฟมิเชลินสตาร์ ได้แก่ เชฟแอนดี้ ยังเอกสกุล เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ เชฟส้ม จุฑามาศ […]

รูปจริง

“วิดยารวมใจช่วยข้าวแสนกล่อง” ระดมส่งข้าวทะลุหมื่นแล้ว

13 มิ.ย.2564 วันที่ 28 ของภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) กลุ่มนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาทยอยส่งอาหารกล่องเข้ามาตลอดทั้งวันรวมทั้งสิ้น 4,658 กล่อง โดยวันนี้สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ส่งอาหารกล่องเข้ามามากที่สุด จำนวน 500 กล่อง ผ่านโครงการ “วิดยารวมใจช่วยข้าวแสนกล่อง” ที่ถึงขณะนี้ระดมเงินบริจาคจากเครือข่ายนิสิตเก่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะนำมาจัดจ้างร้านอาหารในโรงอาหารตึกจุลจักรพงษ์ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้จัดทำอาหารกล่องเพื่อนำส่งให้ สนจ. ได้แล้วถึง 11,110 กล่อง นอกจากนี้ ยังมีสมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ร่วมส่งอาหารกล่องเข้ามาสมทบด้วยเช่นกัน  วันนี้เครือข่าย Food For Fighters ได้ส่งมอบอาหารกล่องไปยังชุมชนที่ต้องกักตัวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 16 ชุมชน ได้แก่ มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนตลาดท่าเรือ ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชนเเบงค์บ้านมั่นคง ชุมชนพัฒนาใหม่ ชุมชนวัดเเค ชุมชนโค้งรถไฟยมราช […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner