คำแนะนำการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ : กล่องรอดตาย
สเปรย์แอลกอฮอล์ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะต้องมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป จึงจะสามารถกำจัดเชื้อโรคโควิด-19ได้ การใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือสามารถนำมาใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นเพื่อทำความสะอาดมือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถหาสบู่และน้ำเปล่าได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เช็ดทำความสะอาดสิ่งของต่างๆได้เช่นกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย วิธีการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือ 1. พ่นสเปรย์แอลกอฮอล์ลงบนฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ทั้งบริเวณฝ่ามือและหลังมือ 2. ปิดฝาทุกครั้งหลังใช้งาน ควรเก็บเจลแอลกอฮอล์ในที่พ้นแสงแดด และให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณดวงตาหรือใบหน้า ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ http://www.bangkokdrugstore.co.th/branch-search.php https://shopee.co.th/osotsala
คำแนะนำการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว : กล่องรอดตาย
เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ Oximeter เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 และใช้ในการเฝ้าระวังอาการโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รุนแรง เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้วสามารถวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (SpO2) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เป็นค่าที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของปอด โดยค่าปกติของระดับออกซิเจนในเลือด ไม่ควรต่ำกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ มีวิธีการใช้งานโดยเริ่มจากการกดปุ่มเปิด ที่ตัวเครื่อง จากนั้นสอดนิ้วเข้าไปในตัวเครื่อง หายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนคลาย เครื่องจะทำการวัดค่า แล้วจะแสดงผลที่ได้บนหน้าจอเครื่อง โดยค่าตัวบนคือระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวล่างคืออัตราการเต้นของหัวใจ/นาที ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://shopee.co.th/kaideegadget?smtt=0.0.9 https://shopee.co.th/stayhealthy01 https://shopee.co.th/pleasehealth
คำแนะนำการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล : กล่องรอดตาย
เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สะดวก สามารถใช้งานได้ในทุกช่วงอายุ การใช้งานคล้ายกับเทอร์โมนิเตอร์วัดไข้แบบแก้ว แต่ ให้การอ่านที่แม่นยำกว่าโดยมีการแสดงผลในรูปแบบตัวเลขดิจิทัล มีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมินิ่งและสามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย เช่นทางปาก รักแร้ และทวารหนัก วิธีการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัลสามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. กดปุ่มเปิดบริเวณตัวเครื่อง 2. จากนั้นนำปลายเทอร์โมมิเตอร์เสียบเข้าไปที่บริเวณรักแร้โดยให้อยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง และไม่เลยออกไปทางด้านหลังหนีบทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง รอจนสัญญาณดังขึ้น 3. จากนั้นจึงอ่านค่าของตัวเลขดิจิทัลที่แสดงอยู่บนหน้าปัดจากนั้นนำมาเทียบกับสเกลอุณหภูมิของร่างกายเพื่อประเมินอาการไข้ อุณหภูมิ 37.6-38.3 องศาเซลเซียส มีไข้ต่ำ อุณหภูมิ 38.4-39.4 องศาเซลเซียส มีไข้ปานกลาง อุณหภูมิ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส มีไข้สูง อุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีไข้สูงมาก ต้องรีบเช็ดตัวลดอุณหภูมิและปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ควรหลีกเลี่ยงการวัดไข้หลังการอาบน้ำหรือการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นค่ะ ถ้าหากมีอุณหภูมิเกิน 37 องศาเซลเซียส ให้รับประทานยาลดไข้ทันที ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรติดต่อแพทย์ ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://www.facebook.com/digitalthermometer24/
คำแนะนำการทานยาฟ้าทะลายโจร : กล่องรอดตาย
ยาฟ้าทะลายโจร จัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร ที่มีสารสำคัญคือ แอนโดรกราโฟไลด์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการป่วยโควิด ที่ไม่รุนแรง เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ลดโอกาสที่โรคจะลุกลามลงปอด ใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ต่อการเกิดโรครุนแรง วิธีการรับประทาน 1. ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล ขนาด 450 มิลลิกรัม ให้รับประทานทันทีเมื่อมีอาการแสบคอ เจ็บคอ ครั้งละ 3-4 แคปซูล วันละ 3 เวลาหลังอาหาร 2. สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือรับประทานตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากยาฟ้าทะลายโจรแต่ละยี่ห้อมีปริมาณของแอนโดรกราโฟไลด์ที่ไม่เท่ากัน โดยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร ผู้ป่วยควรได้รับสารแอนโดรรกราโฟไลด์ ไม่เกิน 180 มิลลิกรัมต่อวัน ห้ามรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วันต่ออาทิตย์ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น […]
คำแนะนำการทานยาพาราเซตามอล : กล่องรอดตาย
พาราเซตามอล (Paracetamol) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอล หนึ่งแผงจะประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 10 เม็ด ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือปวดบริเวณต่างๆ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (500-1,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถส่งผลต่อตับได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง ยาพาราเซตามอลมีคำเตือนดังต่อไปนี้ – ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง – […]
คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย
The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 : กล่องรอดตาย
The Sharpener จะแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด ในระหว่างการแยกตัวที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า “Home Isolation” ผู้ป่วยควรนอนคว่ำ เพื่อให้อากาศเข้าปอดได้ดีขึ้น และควรเปลี่ยนท่าไปเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ เริ่มที่ท่าแรก ท่าที่ 1 นอนคว่ำ ใบหน้าตะแคงเล็กน้อย เพื่อให้หายใจได้สะดวก และใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ลำตัว และปลายเท้า เป็นเวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 3 นั่งหลังตรง 90 องศา หรือเอาหมอนมาหนุนด้านหลังพยายามหายใจลึก ๆ ให้เต็มปอด เพื่อให้ปอดส่วนล่างขยายได้เต็มที่ ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ เป็นเวลา 30 นาที ถึง […]
ทำความรู้จัก “กล่องรอดตาย”
The Sharpener จะพาทุกคนมารู้จักกับกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยนะคะ หลังจากตรวจเชิงรุก โดยรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน โดยผู้ที่ได้รับกล่องสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดบนกล่องรอดตาย เมื่อสแกนแล้วแสดงว่าทุกท่านได้อยู่ในระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ของเรา ในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยา และเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำทางออนไลน์จากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Home Isolation อย่างเข้มข้น ภายในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด 7 รายการ ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อนสำหรับใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว นอกจากนี้กล่องรอดตายยังมีไฮไลต์สำคัญที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่านระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox) ที่มีแนวทางปฎิบัติตัวระหว่างรักษาตัวอยู่ที่บ้าน […]
จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ
เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]
“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด
ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo) ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]