กรีน AF ผ่าทางรอดให้ The Modern Melody ด้วย Service Mind
สถาบันสอนดนตรีถือเป็นสถานศึกษาที่ใครหลายคนมักลืมไปว่าที่แห่งนี้ก็แหล่งประสิทธิ์ประสาททักษะวิชาแขงหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับโรงเรียนเสริมสร้างทักษะเฉพาะทาง ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งบ่มพรแสวงและต่อเติมพรสวรรค์ให้กับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจในศาสตร์นี้ โดยเฉพาะค่านิยมของคนสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมมองหาทักษะเสริมความรู้ด้านวิชาการให้กับบุตรหลานให้มีความสามารถพิเศษติดตัวเพิ่มขึ้นทั้งร้อง ทั้งเต้น ทั้งเล่นดนตรี เพิ่มคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างความมั่นใจในทุกย่างก้าว ใช้เป็นแต้มต่อในชีวิตของคนยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้เอง “The Modern Melody” สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ของ ครูกรีน-นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ หรือ กรีน AF7 อดีต Law Chula นักล่าฝันผู้มากความสามารถ จึงผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งครูกรีนได้ใช้ความรู้ความสามารถรอบด้านบวกกับประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานับสิบปี พัฒนาหลักสูตรถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีและการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับนักเรียนของเขา ซึ่งมีตั้งแต่เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน เรื่อยขึ้นไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 มาเยือน ธุรกิจที่จำเป็นต้องอาศัยการพูดคุย การเปล่งเสียง การสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด อย่างสถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ จึงจัดอยู่เป็นหนึ่งในลิสต์ที่รัฐบาลออกประกาศให้ต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งแน่นอนว่า The Modern Melody ก็ดำเนินตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัดเช่นกัน แต่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันยังคงดำเนินต่อไปไม่ได้หยุดตามประกาศใด ๆ ของรัฐบาล ทั้งค่าเช่าสถานที่ที่ยังต้องจ่ายบางส่วน ครูสอนร้องเพลง ครูสอนดนตรี อีกหลายชีวิตที่เขายังต้องดูแล ทำให้ครูกรีนต้องคิดหากลยุทธ์พลิกสถานการณ์กลับมายืนหนึ่งเหนือวิกฤติให้ได้ “แม้เราจะเตรียมตัวเรื่องการสอนออนไลน์มาบ้างก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศให้ปิดชั่วคราว […]
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 12 มิ.ย. 63
วันนี้ (12 มิ.ย. 63) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อจาก State Quarantine ทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 3,129 ราย โดยแบ่งเป็นกำลังรักษา 84 ราย หายแล้วจำนวน 2,987 ราย ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ทำเนียบรัฐบาล
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 11 มิ.ย. 63
วันนี้ (11 มิ.ย. 63) ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 3,125 ราย โดยแบ่งเป็นกำลังรักษา 80 ราย หายแล้วจำนวน 2,987 ราย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 6 ราย (มากกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มถึง 4 ราย) ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ที่มา : ศูนย์แถลงข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 9 มิ.ย. 63
วันนี้ (9 มิ.ย. 63) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อจาก State Quarantine ทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 3,121 ราย โดยแบ่งเป็นกำลังรักษา 90 ราย หายแล้วจำนวน 2,973 ราย ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กระทรวงสาธารณสุข
“เชฟจ๊อบ กัณฑ์พิชญ์” พลิกวิกฤติ พา FRIDAY รอดโควิด
หากจะกล่าวถึงแลนด์มาร์คแห่งใหม่กลางสัตหีบ เมืองตากอากาศยอดฮิตของเหล่าฮิปสเตอร์ ในช่วงปีที่ผ่านมา รับรองว่า “FRIDAY” Café & Restaurant ต้องเป็นหนึ่งในหมุดหมายที่ไม่อาจพลาดอย่างแน่นอน ด้วยเสน่ห์อันน่าหลงใหลของคอนเซ็ปต์ “FRIDAY EVERYDAY” ที่อยากให้ทุกวันของคุณเป็นวันศุกร์ ทำให้ผู้ที่เคยแวะเวียนมานั่งรับประทานอาหาร กินขนมอร่อย ๆ ปล่อยใจชิล ๆ ไปกับการนั่งชากาแฟของที่นี่ จำต้องหวนกลับมากอบโกยช่วงเวลาแห่งความสุขกันอีกหลายต่อหลายครั้ง แต่พลันเมื่อเกิดวิกฤติ COVID-19 ทุกสิ่งที่ FRIDAY จำต้องหยุดชะงักลงทันที “เชฟจ๊อบ” กัณฑ์พิชญ์ ศิริสุทธิวรนันท์ เจ้าของ “FRIDAY” เล่าให้เราฟังในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni ถึงสถานการณ์ของ FRIDAY ช่วง 2 – 3 เดือนที่วิกฤติ COVID-19 มาเยือนคาเฟ่สุดชิคแห่งนี้ ธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับธุรกิจใหญ่น้อยในเมืองท่องเที่ยว โดยเริ่มมีสัญญานให้เห็นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2562 เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนลดน้อยลง ส่งผลให้ยอดขายของร้านลดลงตามด้วยไปค่อนข้างมาก จนเมื่อรัฐบาลประกาศมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ร้าน […]
“ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” เปิดแนวคิดธุรกิจยุคโควิด-19 ต้องสร้างความไว้วางใจให้ connect
ผ่านไปแล้วกับ Episode 2 คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 กับธุรกิจร้านอาหาร ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ชิค ชิค จาก The Sharpener และ Chula Alumni ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ มาให้แนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงโควิด-19 ว่าด้วยเรื่องของ Trust Economy หรือความไว้วางใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเลือก การตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งที่หายไปจากสังคมคือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ศ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่า “เมื่อสังคมเกิดความไม่ไว้วางใจ และ New Normal ทำให้เราต้องเปิดพื้นที่ใหม่ในโลกออนไลน์ และสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นใหม่คือ ความไว้วางใจกัน ถ้าเมื่อไหร่เกิดความไว้วางใจกัน จะเกิดการเชื่อม หรือ connect กันต่อมา ธุรกิจต่าง ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าการ […]
คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 ธุรกิจร้านอาหาร กับ จ็อบ กัณฑ์พิชญ์ Friday Everyday
“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” อยากชวนคุณมาคุยกันผ่าวิกฤติโควิด-19 อีกครั้งใน Espisode 2 ว่าด้วยเรื่องธุรกิจร้านอาหาร พบกับ “จ๊อบ – กัณฑ์พิชญ์ ศิริสุทธิวรนันท์” พี่เก่าคณะบัญชี ดีกรีลีดจุฬาฯ ที่ผันตัวมาเป็นเชฟ เจ้าของร้าน “Friday” Cafe’ & Restaurant สุดชิคที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วหลากหลายวิกฤติ “ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ท่านใหม่ งานนี้เหล่า Foodie ตัวชงต้องไม่พลาด รายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.2 Friday จ๊อบ กัณฑ์พิชญ์” คืนวันพุธที่ 3 มิ.ย. นี้ 2 ทุ่มเป็นต้นไปดำเนินรายการโดย 4 Co-Host แมค อาร์ต ปาร์ค กรีน เช่นเคย ทางแฟนเพจ The […]
ธุรกิจร้านอาหาร กับ New Normal หลังโลกถูกโควิด-19 Disrupt
ร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่าธุรกิจร้านอาหารของไทยในปี 2563 จะมีรายได้ลดลงราว 2.65 – 3.65 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าผลกระทบจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตามประเภทของร้านอาหารและปัจจัยรอบด้านอื่น ๆ เช่น ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ ผู้คนหลีกเลี่ยงที่จะออกไปกินอาหารนอกบ้าน เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ในต่างประเทศ ร้านอาหารดังในตำนานหลายแห่งถึงขั้นต้องปิดตัวเพราะทนพิษบาดแผลโควิด-19 ไม่ไหว เช่นร้าน Legendary Pitt Eatery ในเมืองพิตส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ร้านขวัญใจของเหล่านักศึกษาและบรรดานักกิน หรือ foodie ทั้งหลาย ที่รู้จักกันในชื่อ The O เปิดขายฮอตด็อก เฟรนช์ฟรายส์ และพิซซ่า ตั้งแต่ปี 1960 ต้องยอมเลิกกิจการ และบรรดาลูกค้าของ The O เมื่อทราบข่าว ต่างก็ทวีตเพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาดี ๆ ที่ The O เคยมอบให้ จนเกิดแฮชแท็ก #RIPTheO ซึ่ง The O […]
New Normal หลังโควิด-19 โลกที่ Cyber Security และ Privacy ไปคู่กัน
New Normal (ความปกติแบบใหม่) คือ พฤติกรรมอะไรที่ผิดปกติกลายเป็นพฤติกรรมปกติ เช่น ทุกคนใส่หน้ากากและทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ก็เช่นกัน อย่างแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่เป็นประเด็นในโลกออนไลน์ ทำให้เห็นว่าประชาชนตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) มากขึ้น อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security กล่าวว่า คนทั่วโลกจะมอง 2 สิ่ง คือ เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และ ความเป็นส่วนตัว ถ้าเจาะลึกไปที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะเห็นว่า DP ตรงกลางมาจากคำว่า Data Protection หมายความว่าข้อมูลต้องถูกป้องกัน คือ เรื่องการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย คนที่เก็บข้อมูลไว้และไม่รักษาความปลอดภัยจะต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องกังวลการที่ภาครัฐหรือเอกชนนำข้อมูลไปเก็บ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ และสามารถร้องเรียนได้เมื่อเกิดความเสียหาย “เพราะฉะนั้นโลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกที่ CYBER SECURITY และ PRIVACY ไปด้วยกันทั้งคู่” ถึงแม้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเลื่อนไป 1 ปี ในบางมาตรา แต่เรื่องความปลอดภัย […]
“3E of Trust Economy” ทางรอดธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19 โดย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์
ขึ้นชื่อว่าเป็น GURU มากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ อุปนายก สนจ.และ CFO มิตรผล ให้ข้อคิดทางรอดธุรกิจไว้ในรายการ ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.1 “ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดของธุรกิจนวดไทยสปา” ถึง Trust Economy หรือเศรษฐกิจของความไว้ใจ ที่จะสำคัญมากขึ้นในรากฐานของเศรษฐกิจยุคโควิด-19 ที่พัฒนามาจาก New Normal และ Next Normal ในสเต็ปต่อไป ดร.ศรายุธ มองว่า ต่อไปทางรอดของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพ จับต้องได้เป็นรูปธรรม และมีความน่าเชื่อถือ เพราะคนจะคำนึงถึง ความปลอดภัย (Security/Safety) มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้ Trust จากลูกค้า จะไปไม่รอด โดยเฉพาะธุรกิจบริการ ที่เป็นเรื่องของความคาดหวัง (expectation) บวกกับความไว้ใจ (Trust) ทำให้เกิดผลงาน (Performance) ที่ดีขึ้นได้ […]