ทานน์ดี นวัตกรรมอาหาร เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี
The Shapener พาคุยกับ ผศ.ดร. สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้ง ทานน์ดี (Tann:D) อาจารย์แอมกล่าวว่าทานน์ดี ต้องการให้คนไทยทั่วไปมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน เลยทำให้นวัตกรรมของทานน์ดี เป็นนวัตกรรมที่มีความแตกต่างส่งเสริมสุขภาพโดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำออกมาคือเส้นโปรตีนจากไข่ขาวไม่ผสมแป้งเพื่อที่จะทำให้คนไทยดูแลตัวเองได้แบบง่าย ๆ และได้โปรตีนอย่างเพียงพอ Tann:D ทำไมถึงดีต่อผู้ป่วย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะโรคจากการมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ผลิตภัณฑ์ของทานน์ดี 1 ห่อจะให้พลังงานเพียงแค่ 35 กิโลแคลอรีหรือเท่ากับแอปเปิ้ลครึ่งลูกเพียงเท่านั้น หากเทียบกับเส้นทั่ว ๆ ไปในปริมาณที่เท่ากัน ทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าอย่างน้อยถึง 2 เท่า แต่ถ้าเทียบกับเส้นอุด้งแล้วเส้นไข่ขาวของทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าถึง 5 เท่า เหตุนี้จึงทำให้คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก สามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี หรือคนเป็นโรคเบาหวานสามารถที่จะทานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลเกิน คนที่ต้องการโปรตีน ผู้ป่วยที่ล้างไต หรือคนไข้โรคมะเร็ง ก็สามารถทานเส้นไข่ขาวได้ อีกทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักสุขภาพ ที่ต้องการดูแลร่างกายของตนเอง Tann:D ทำเมนูอะไรดี ทานน์ดีสามารถทำได้ทั้งของคาวและของหวาน เมนูโปรดของผู้ใหญ่ที่ซื้อทานน์ดีไปรับประทานคือนำเส้นอุด้งไข่ขาวไปใส่กับน้ำเต้าหู้ จัดเป็นเมนูของหวานที่ได้รับความนิยม หากเป็นเมนูอาหารคาวที่รสจัดหน่อย ก็สามารถนำไปแทนเส้นขนมจีน ทำเป็นเส้นทานน์ดีกับน้ำยากะทิ หรือนำไปทานคู่กับส้มตำ ก็ได้ […]
กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน 4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]
ทำความรู้จัก “กล่องรอดตาย”
The Sharpener จะพาทุกคนมารู้จักกับกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยนะคะ หลังจากตรวจเชิงรุก โดยรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน โดยผู้ที่ได้รับกล่องสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดบนกล่องรอดตาย เมื่อสแกนแล้วแสดงว่าทุกท่านได้อยู่ในระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ของเรา ในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยา และเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำทางออนไลน์จากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Home Isolation อย่างเข้มข้น ภายในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด 7 รายการ ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อนสำหรับใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว นอกจากนี้กล่องรอดตายยังมีไฮไลต์สำคัญที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่านระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox) ที่มีแนวทางปฎิบัติตัวระหว่างรักษาตัวอยู่ที่บ้าน […]
Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม
เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]
รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)
ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]
เมื่อ 7 เชฟดัง รังสรรค์ 7 เมนู เพื่อคนสู้โควิดในชุมชนแออัด
เมื่อโควิด-19 ระบาดแรงระลอก 3 จนมีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศแล้ว 171,781 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิ.ย.64) โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดภายในกรุงเทพมหานครชั้นในที่มีผู้อาศัยอยู่กว่า 2 แสนราย ซึ่งแต่ละบ้านอาศัยอยู่กัน 5-9 คน ในพื้นที่จำกัด อึดอัดและคับแคบ ยากที่จะกักตัวแยกออกจากผู้อื่นตามมาตรการที่รัฐร้องขอ ส่งผลให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายในครอบครัวอย่างรวดเร็วชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอติดกันทั้งตรอกซอกซอย ส่งผลให้หลายคนโดนเลิกจ้าง บรรดาพ่อค้าแม่ขายต้องปิดร้านตามประกาศของรัฐบาล เมื่อไร้งานก็ไร้เงินจนชักหน้าไม่ถึงหลัง ลำพังหากเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ คงพอจะประทังตำข้าวสารกรอกหม้อผ่านไปได้ แต่หากต้องทอดเวลาออกไปไม่รู้จบยาวนานเป็นแรมเดือน เงินเก็บย่อมร่อยหรอ กระทบเรื่องปากท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับชุมชนของเขาจำเป็นต้องเสียสละตนเองยอมกักตัวอยู่ในพื้นที่ไม่ออกไปเสี่ยงแพร่เชื้อภายซ้ำเติมให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปในยามนี้ เครือข่าย Food For Fighters จึงขอเปิดศูนย์บัญชาการใจกลางย่านสยามสแควร์ เยียวยาคนเมืองหลวงร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ระดมเปิดรับบริจาคอาหารกล่องจากผู้มีจิตศรัทธาในแคมเปญ “ข้าวแสนกล่อง” เพื่อจัดส่งไปยังชุมชนแออัดหลายพื้นที่เป็นประจำทุกวัน ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าเชฟชื่อก้องทั้ง 7 คนของเมืองไทย ได้แก่ เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ Chim by […]