ดราม่าบิทคอยน์.. ทำลายสิ่งแวดล้อม
หลายคนคงรู้จัก บิทคอยน์ (Bitcoin) หรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นเป็นเรื่องไกลตัวตราบใดที่ยังมีธนบัตรที่จับต้องได้ไว้ใช้จ่าย มีบัตรเครดิตในกระเป๋าไว้ “รูดปื๊ด” ยามที่ไม่อยากใช้เงินสด บางท่านมีสารพัดแอป (Application) ในสมาร์ทโฟนสำหรับการรับและจ่ายเงิน ใครจะมีหรือไม่มีบิทคอยน์ที่เป็นเงินดิจิตอลก็ไม่รู้สึกว่าจะตัองเดือดร้อนแต่อย่างใด แต่ถ้าบอกว่าบิทคอยน์กำลังทำลายสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นดังนั้นจริงเราทุกคนคงต้องเดือดร้อนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีก แต่ข้อกล่าวอ้างนั้นเป็นจริงหรือเป็นเพียง “ดราม่า” กันแน่ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ นาย อีลอน มัสก์ ซีอีโอบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา อิงก์ (Tesla Inc.) ที่ปัจจุบันครองตำแหน่งเศรษฐีอันดับ 2 จากการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุดในโลกปี 2021 โดย Forbes ประกาศว่าได้เข้าซื้อบิทคอยน์เป็นเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาคิดเป็นเงินไทยประมาณ 46,500 ล้านบาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับการประกาศว่าจะเปิดทางให้ใช้บิตคอยน์ในการซื้อรถยนต์เทสลาของบริษัทที่ตัวเขาเองเป็นเจ้าของได้ ทำให้วงการบิทคอยน์ คึกคักราคาต่อเหรียญพุ่งขึ้นเกือบ 4% จาก 42,566 เหรียญสหรัฐอเมริกาไปที่ 44,138 เหรียญสหรัฐอเมริกาภายใน 5 นาทีหลังจากการทวีต (tweet) และยังคงพุ่งต่อไปจนทำสถิติสูงสุดที่ 59,523.9 […]
8 เหตุผลที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19
นอกจากปฏิบัติตามหลัก New normal การฉีดวัคซีนนับเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทุกคนปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 สำหรับใครที่ยังลังเล วันนี้เรามี 8 เหตุผลสำคัญที่ช่วยให้คุณมั่นใจในวัคซีนมากยิ่งขึ้น มาอ่านกันเลย
เตรียมพร้อมฉีดวัคซีนโควิด-19 กันเถอะ หมอพร้อม-เราพร้อม-วัคซีนพร้อม กับ 7 ข้อแนะนำ
หมอพร้อม วัคซีนพร้อม แล้วคุณเตรียมพร้อมฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือยัง? ถ้ายัง The Sharpener มี 7 ข้อแนะนำทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันเชื้อโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วตามมาอ่านกัน
‘CROWDFUNDING’ โมเดลระดมทุน ดันงานสตาร์ทอัพจากหิ้ง สู่ ห้าง
ท่ามกลางการแข่งขัน และเติบโตของโลกธุรกิจ “Startups” ที่ต่างประชันไอเดีย และนวัตกรรมของตนเอง เพื่อดึงดูดเหล่านักลงทุนทำให้ Startups เหล่านั้นมีเงินทุนดำเนิน กิจการและเติบโตขึ้น การเฟ้นหาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องวางแผนและเลือกเครื่องมือหรือแนวทางเพื่อให้ได้ทุนตามเป้าที่ตั้งไว้ด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการประกวดแข่งขันนำเสนอไอเดีย, การกู้ยืมจากธนาคาร, การแลกหุ้นบริษัทกับเงินลงทุน หรือในหลายปีนี้ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือ “การระดมทุนจากสาธารณะ” หรือ “Crowdfuding” นั่นเอง Crowdfunding เป็นเครื่องมือของสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินลงทุนมาดำเนินธุรกิจ และโปรโมทโครงการหรือธุรกิจให้สาธารณชนได้รู้จักไปในตัว โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี แต่ขาดเงินลงทุนและต้องการความรวดเร็วในการได้รับเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไป โดย Crowdfunding นั้นสามารถทำได้ด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ Reward-based Crowdfunding เป็นการระดมทุนที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ลงทุนและสตาร์ทอัพหรือบริษัทนั้นจะให้ผลตอบแทนเป็นสิทธิประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์กลับไปเมื่อโครงการนั้นสำเร็จถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ Donation-based Crowdfunding การระดมทุนแบบบริจาคตามความศรัทธาของสาธารณชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยผู้ที่บริจาคจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน Equity-based Crowdfunding การระดมทุนโดยการเสนอหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ให้แก่สาธารณชนเพื่อนำเงินมาลงทุน โดยผู้ให้ทุนจะได้ถือครองหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนพร้อมกับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากกิจการในอนาคต Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending การระดมทุนโดยการกู้ยืมเงินจากผู้สนับสนุนซึ่งต้องกำหนดระยะเวลาการชำระเงินคืน และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนที่ให้การสนับสนุน Crowdfunding แบบไหนนิยมใช้กันบ้าง? จากงานวิจัยเพื่อสำรวจประเภทของการระดมทุนจากสาธารณะในประเทศอิตาลีของ […]
รู้ไว้ อุ่นใจกว่า กับข้อควรปฏิบัติหากต้องเข้าพักในโรงพยาบาลสนาม
หลังจากการระบาดรอบล่าสุดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อรวดเร็วกว่ารอบก่อน และยังไม่มีทีท่าว่าจะ “เอาอยู่” ดังเช่นที่ผ่านมา จนทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดสะสมทั่วประเทศมากกว่า 5 หมื่นรายแล้วนั้น จนเกรงกันว่าอาจเกินศักยภาพของสถานพยาบาลที่มีอยู่จะรับได้ โดยการระบาดรอบนี้ได้กระจายตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยแต่ละพื้นที่จะถูกกำหนดว่ามีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันไป ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้แบ่งพื้นที่เสี่ยงออกเป็นสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังนี้ 1. พื้นที่สีแดงเลือดหมู หรือแดงเข้ม คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมากที่สุด และมีการคัดกรองเข้าออกมากที่สุดยิ่งกว่าพื้นที่สีแดง มีทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เชียงใหม่, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ 2. พื้นที่สีแดง คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุด มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 พื้นที่ มีทั้งหมด 45 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, เชียงราย, […]