Banner 179 03

คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย

The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย  ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

Banner 179 02

คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 : กล่องรอดตาย

The Sharpener จะแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด ในระหว่างการแยกตัวที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า “Home Isolation” ผู้ป่วยควรนอนคว่ำ เพื่อให้อากาศเข้าปอดได้ดีขึ้น และควรเปลี่ยนท่าไปเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ เริ่มที่ท่าแรก  ท่าที่ 1 นอนคว่ำ ใบหน้าตะแคงเล็กน้อย เพื่อให้หายใจได้สะดวก และใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ลำตัว และปลายเท้า เป็นเวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 3 นั่งหลังตรง 90 องศา หรือเอาหมอนมาหนุนด้านหลังพยายามหายใจลึก ๆ ให้เต็มปอด เพื่อให้ปอดส่วนล่างขยายได้เต็มที่ ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ เป็นเวลา 30 นาที ถึง […]

Banner 179 01

ทำความรู้จัก “กล่องรอดตาย”

The Sharpener จะพาทุกคนมารู้จักกับกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยนะคะ หลังจากตรวจเชิงรุก โดยรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน โดยผู้ที่ได้รับกล่องสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดบนกล่องรอดตาย เมื่อสแกนแล้วแสดงว่าทุกท่านได้อยู่ในระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ของเรา ในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยา และเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำทางออนไลน์จากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.)​ กรมควบคุมโรค  และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Home Isolation อย่างเข้มข้น ภายในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด 7 รายการ ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด  ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ 1 แท่ง  เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง  หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก.  ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อนสำหรับใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว  นอกจากนี้กล่องรอดตายยังมีไฮไลต์สำคัญที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่านระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox)  ที่มีแนวทางปฎิบัติตัวระหว่างรักษาตัวอยู่ที่บ้าน […]

Banner 176

จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ

เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]

S 5685258

“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด

ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo)  ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ  “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner