banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

messageImage 1636861752376

สมการ ทสม. 1 + 1 = ?

โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง  “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง  อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน”  เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]

SDGs ทสม 02 scaled

จาก ทส. ยกกำลัง 2 + 4 สู่ยุค New Normal ทส. ยกกำลังเอ็กซ์

เมื่อช่วงต้นปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยให้แนวทางการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปีนี้ไว้ว่า ให้ทำงานแบบ “ทส. ยกกำลัง 2 + 4” “ยกกำลัง 2” คือ คนทำงานต้องยกระดับการทำงาน ความกระตือรือร้น จิตใจในการทำงาน จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์เป็นทวีคูณ ต้องห้ามหย่อนยานกับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ แล้วเสริมพลังด้วย “บวก 4” คือ หนึ่ง ทำงานโดยเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานงานอนุรักษ์ที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การทำงานต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังที่เน้นย้ำมาเสมอว่า การทำงานแบบต่างคนต่างทำ ภาครัฐและประชาชนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ สาม ต้องทำงานแบบมีความรู้เชิงวิชาการ เพราะความรู้คือรากฐานของพลังในการสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง การทำงานแบบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่เท่าทันโลก อาจยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสี่ ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง “การทำงานแบบ ยกกำลัง 2 + […]

SDGs ทสม 03 scaled

เหตุผลที่คุณต้องห้ามพลาด “ข่าวสาร ทสม.”

เพราะ “การสื่อสาร” กลายเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะทำงานทำงานในสาขาอาชีพใดก็ตาม แม้แต่ในสายงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ยิ่งต้องอาศัยการสื่อสารเป็นอาวุธลับในการทำให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง ทั้งการรายงานสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อประสบพบเจอ และการแก้ไขให้ทันท่วงที เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ดูแลรักษา เฝ้าระวัง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วยจิตอาสา โดยมีบาทบาททั้งการประสานงาน และการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน และชุมชน และที่สำคัญคือ เป็นนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์ทรัพยากร การจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแจ้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ หรือเรียกว่า “ข่าวสาร ทสม.” นั่นเอง และยิ่งทุกวันนี้ โลกได้มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ซึ่งเราต่างก็มีโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำการง่ายต่อการติดตาม และการใช้ประโยชน์จาก ข่าวสาร ทสม. หรือส่งต่อได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เพียงคุณหยิบโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์สื่อสารใดอีกก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมา และ เสิร์ชหาแอปพลิเคชัน “Arsa4thai” ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปนี้เอาไว้   ซึ่งแอปนี้จะช่วยคุณสื่อสารกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้จบครบในแอปเดียว ทั้งส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ แลกเปลี่ยน รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้ทันที เผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมไปยังสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้ในแอปเดียว […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner