A6854FA9 8714 4F8C BEB4 5ED22E111081

กฟผ. เปิดซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ดันกลไกใหม่ช่วยไทยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า

(เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายเร็วกว่ากำหนด ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายใบรับรองการผลิตเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่าภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์  ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จลดก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าเปิดซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน อภิปรายภายในงานว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก 4 ด้านสำคัญได้แก่  ด้านนโยบายและแผนพลังงาน ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 คาดจะลดได้ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะประเมินตามแนวทางการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1  ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกเฟสแรกได้ก่อนเวลาที่ NAMA/ COP21 กำหนด จากการขับเคลื่อนมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 ที่ทำมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ กฟผ. ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (กฟผ. และ IPP) ประจำปี 2562 ได้รวม 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันเป็นผลมาจากความร่วมมือของ กฟผ. และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า  ด้านการประสานความร่วมมือ โดยสร้างภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย   โดยผลการลดดังกล่าวได้นำส่งกระทรวงพลังงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA  REC กลไกสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสร้างความยั่งยืน Renewable Energy Certificate หรือ REC เป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน ที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบ REC โดยหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC) แนวโน้มการเติบโตของตลาด REC  พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิก RE100 ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันความต้องการขาย REC ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ลงทะเบียนกับมาตรฐาน I-REC แล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 750 MWp กฟผ. เปิดซื้อขาย REC รายแรก […]

52C16A04 6E41 4BE8 913F BB630AEC091D

กฟผ. ปั้นเครือข่าย Thailand Clean Energy Network ชูซื้อขายเครดิตพลังงาน (REC) หนุนไทยลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้า NDC

กฟผ. จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) วันนี้ (8 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” โดยมี มร.เคส พิเทอร์ ราเดอ (H.E. Mr.Kees Pieter Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เครือข่ายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ทั้งในและต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทเอกชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกว่า 170 […]

30

VOLVO ประกาศ ปี2040 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0

วอลโว่ คาร์ ประกาศแผนการดำเนินงานครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2025 ถือเป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของวอลโว่ เพื่อเป็นบริษัทที่ี่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Climate-Neutral Company) ภายในปี ค.ศ. 2040 แผนครั้งนี้ระบุถึงการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงร่วมกับปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Level) เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ของวอลโว่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่วอลโว่มีความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าของโลก หากแผนการดำเนินงานครั้งนี้ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในเครือข่ายการผลิต การดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน และผ่านการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 วอลโว่ คาร์ ได้เปลี่ยนมาใช้มาตรการที่ท้าทายอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในระหว่างปี ค.ศ. 2018 – 2025 ซึ่งในกรอบเวลานี้ บริษัทยังตั้งเป้าหมายให้เครือข่ายการผลิตทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน “เรากำลังเปลี่ยนแปลงบริษัทของเราด้วยแผนการดำเนินที่เป็นรูปธรรม มิใช่แค่คำมั่นสัญญา” มร. ฮาคาน ซามูเอลส์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร วอลโว่ คาร์ […]

Banner 220

ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]

Banner 218 01

ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้

จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา  ชวนิชย์  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ  พานิชผล […]

Banner 2132

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

วันนี้โลกเราก้าวข้าม “ภาวะโลกร้อน” เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”  จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยและโลกไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ รวมทั้งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้เชี่ยวชาญที่มีความพร้อม ในการนำความรู้มามี ส่วนร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส […]

Banner 2121

ผ่าคำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ให้ค่า “โลกเดือด” แค่ไหน

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่นำพาคณะรัฐมนตรีฝ่าด่านอภิปรายโดยไม่ลงมติจากสมาชิกรัฐสภาตลอด 2 วันเต็ม (11-12 ก.ย.66) เล่นเอาเรียกเสียงฮือฮาจากเหล่าเอฟซีทั้งกองเชียร์และกองแช่งอึงมี่ไปทั่วเมือง เพราะหลายนโยบายฟังแล้วก็น่าหนุนส่งอยากให้เร่งทำคลอดออกมาไว ๆ ในขณะที่ก็มีบางนโยบายถูกแซวว่าไม่ตรงปกผิดเพี้ยนไปจากที่พรรคแกนนำหาเสียงไว้ รวมถึงบางนโยบายก็หายลิบเลือนเข้ากลีบเมฆไปไม่ปรากฏให้เห็นในคำแถลงที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา ความยาว 14 หน้า นับรวมได้ถึง 297 บรรทัด ซึ่งเมื่อใครได้ชมการแถลงสดกลางสภาของท่านนายกเศรษฐา หรือจะกลับมานั่งอ่านดูกันให้ละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญยิ่งกับภารกิจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาส่อเค้าจะซึมยาวให้หวนกลับมาคึกคักดังจะเห็นได้จากมาตรการเร่งด่วนทั้งลดค่าไฟ ค่าน้ำมันดีเซล พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจ SMEs เรื่อยไปจนถึงแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เมื่อเราลองกวาดตาพลิกหานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้เจอเข้าอย่างจังกับความพยายามสู้โลกเดือดที่ก็ให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอินเทรนด์ได้ไม่น้อยหน้าประเทศชั้นนำอื่นเช่นกัน โดยแอบปรากฏคำว่า “คาร์บอน” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของการสู้โลกเดือดครั้งนี้ไว้มากถึง 3 แห่งเลยทีเดียว นั่นคือ “การขายคาร์บอนเครดิต” “Carbon Neutrality” และ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” คำแรก “การขายคาร์บอนเครดิต” ปรากฏพบอยู่ที่หน้า 8 ในราชกิจจานุเบกษา ตรงย่อหน้าที่ว่า“…นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล…” อ่านเผิน ๆ ก็พลอยทำให้ใจฟูได้อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับยังมองไม่เห็นแววแนวดำเนินนโยบายที่แน่ชัดโดยเฉพาะกับวรรคที่กล่าวว่า “…กำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่…” ดูแล้วก็จะคล้ายกับข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยที่ก่อนหน้านี้เคยกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมด้วยจำนวนพืชผักและไม้ผลต่าง […]

Banner 209 01 1

ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”

“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]

Banner 210 01

ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG

หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ  กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]

Banner 208 01

แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก….. 

“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner