Banner 133 03

“MDCU Let’s Talk” น้องหมอจุฬาฯ เลิกเครียด ส่งรุ่นพี่ คุยเสริมสุข นอกห้องเรียน

แพทย์ จุฬาฯ จัด “MDCU Let’s Talk” ส่งแพทย์รุ่นพี่และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับนิสิตแพทย์ทุกชั้นปี คลายภาวะกดดันจากการเรียน หวังส่งบัณฑิตถึงฝั่งยกรุ่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ใส่ใจสุขภาพจิตนิสิตแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากภาวะเครียดจากการเรียน จึงได้จัดโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อการเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างมีความสุข” (MDCU Let’s Talk)” บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่นิสิตแพทย์ทุกชั้นปีผ่านการเข้ารับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Behavioral Therapists) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ และนักจิตวิทยาการศึกษา ผศ. นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร วิทยากรประจำโครงการเผยว่า “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 6 ปี เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชามีปริมาณมากและค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับกรอบระยะเวลา และมักสร้างความท้อแท้ หมดกำลังใจระหว่างเรียน จนนิสิตแพทย์เกิดภาวะเครียดสะสม บางรายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพอจะเห็นได้อยู่เนือง ๆ จากการดำเนินงานของโครงการ MDCU Let’s Talk ในปีที่ผ่านมา มีนิสิตแพทย์ให้ความสนใจขอเข้ารับบริการ จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน ซึ่งหลังจากติดตามผลการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ […]

THE SHARPENER Update Covid 1 0

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 1 ก.พ. 64

วันนี้ (1 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 836 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 19,618 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 7,027 ราย หายแล้วจำนวน 12,514 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 899 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

Banner 133 01

จุฬาฯ ชูเพศเท่าเทียม ติวเข้มแม่วัยใส คลอดคู่มือสุขภาพคนข้ามเพศ

เพราะความรู้เรื่องทางเพศในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปไกลกว่าที่เคย ทั้งการศึกษาธรรมชาติของความเป็นเพศมนุษย์ด้านกายวิภาค สรีระ และพฤติกรรม จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้มีประกาศออกมาว่า “มนุษย์มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือทนทุกข์ทรมานได้จากความเป็นเพศมนุษย์เอง” และจัดให้เรื่องทางเพศเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพอนามัย (Health) ของมนุษย์ พร้อมเรียกร้องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health Service) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (Promotive Care)  การป้องกันโรค (Preventive Care) การรักษาโรค (Curative Care) และการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitative Care) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศที่อาจเกิดขึ้น นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตมีความสุขจากความปลอดภัยทางเพศ หรือที่เรียกว่า สุขภาวะทางเพศที่ดี (Sexual well-being) เมื่อมองย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทางเพศในประเทศไทย พบว่าปัญหาการเพิ่มประชากรจากการมีบุตรมากและมีบุตรถี่ขึ้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติและกำลังสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของคนในครอบครัวแบบองค์รวม จากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า “ปัญหาแม่วัยใส” วัยรุ่นหญิงไทยตั้งครรภ์และคลอดบุตรในวัยรุ่นโดยเฉพาะช่วงอายุ 10-19 ปี นั้น มีทั้งสิ้น 84,578 ราย ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าในแต่ละวันจะมีทารกที่เกิดขึ้นจากวัยรุ่นหญิงกลุ่มนี้เฉลี่ยสูงถึงวันละ 232 ราย […]

999889DE E7F5 4F26 AB6C 8957E16BE15D

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 31 ม.ค. 64

วันนี้ (31 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 829 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 18,782 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 7,090 ราย หายแล้วจำนวน 11,615 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 110 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner 132 07

จุฬาฯ ติวเข้มคุณแม่วัยใส (Teenage Mom) รับมือสุขภาวะทางเพศเปลี่ยน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ภายใต้การกำกับของสำนักบริหารกิจการนิสิต ร่วมกับ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบบริการใหม่ส่งเสริมสุขภาวะรับมือกับปัญหาสุขภาวะทางเพศ “คุณแม่วัยใส” พร้อมให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีผ่านการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาการปรึกษา  นางสาวธารีวรรณ เทียมเมฆ หัวหน้าหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Student Wellness) กล่าวว่า “นอกจากบริการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) แล้ว ทางหน่วยฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ซึ่งเป็นหลักสูตรทางจิตวิทยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานิสิตด้านสุขภาวะ เสริมสร้างทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเองในด้านต่าง ๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน อาทิ กิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ให้นิสิตสัมผัสถึงประสบการณ์ที่เป็นความสุขที่แท้ อารมณ์ทางบวก สัมพันธภาพที่ดี รวมถึงให้ตระหนักถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่และกิจกรรมอ่อนโยนกับตัวเอง เพื่อเรียนรู้พื้นฐานของความสัมพันธ์ของลมหายใจกับร่างกายของตนเอง เพื่อฟื้นฟูศักยภาพการตื่นรู้ของร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เรายังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ (sexual well-being) ร่วมกับ องค์การสหประชาชาติ การให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาวะทางเพศ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (safe-sex communication) […]

Banner 132 06

ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ปลุกวัยรุ่นใส่ใจเซ็กส์วัยเรียน ชวนปรึกษา คลินิกสูตินรีเวช แก้ปัญหาเพศสัมพันธ์

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด Safety Love – Safety Sex Clinic ให้คำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์แก่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ หวังแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well-being)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUCH) สถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ (Primary Care) ใส่ใจสุขภาพนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหมู่เยาวชนไทยอายุ 15-24 ปี จึงจัดโครงการ Safety Love – Safety Sex Clinic เชิญชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ทั่วมหาวิทยาลัย รับคำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์ โดยขอรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) เบื้องต้น และบริการส่งต่อตรวจเพิ่มเติมพร้อมรับยาเฉพาะทางที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ยังสามารถรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนตอบปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น และการใช้เวชภัณฑ์ที่เหมาะสม อาทิ ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด จากบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  น.พ.สัณฐิติ ดะห์ลัน​ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จากการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพฯ ในส่วนของคลินิกสูตินรีเวชและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของศูนย์ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่ามีนิสิตและบุคลากรทั้งชายหญิง […]

Banner 132 04

จุฬาฯ พัฒนา 5 นวัตกรรมใส่ใจผู้ป่วยสมองขาดเลือดครบวงจร ชู Telemedicine ดูแลคนไทยพ้นภัยหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับล้าน จากการเปิดเผยของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2562) ระบุว่า ในปีหนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 5.5 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากอาการหลอดเลือดสมองตีบตันแล้วมากกว่า 80 ล้านคน เป็นผู้ป่วยใหม่มากถึง 13.7 ล้านคนต่อปี และมีผู้ป่วยกว่าร้อยละ 60 ต้องปิดฉากชีวิตก่อนวัยอันควร โดยข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ที่จำนวนผู้ป่วยของโรคนี้กว่า 1 ใน 4 นั้นมีอายุเพียง 25 ปีขึ้นไปเท่านั้น สำหรับสถานการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยในช่วงปี 2556-2560 ก็มีแนวโน้มสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับทั่วโลกเช่นกัน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอยู่บนสุดของหัวตาราง โดยในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยพุ่งสูงกว่า 304,807 ราย และมีผู้เสียชีวิตราว 30,000 ราย  ศ. พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ อาจารย์ประจำภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า […]

1E1FD090 1526 4B8E BCE4 B037F9310F28

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 30 ม.ค. 64

วันนี้ (30 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 930 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 17,953 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 6,371 ราย หายแล้วจำนวน 11,505 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 109 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 คน โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner Poster EP.8 Website

ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.8 “Medivisage” ธุรกิจ Beauty Care กับ หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร

ธุรกิจที่หลายคนเฝ้ารอหลังปลดล็อก หนึ่งในนั้นคงเป็นคลินิกเสริมความงาม ที่การบริการเลี่ยงสัมผัสไม่ได้ ต้องระมัดระวังความสะอาด ทั้งอุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร เป็นอย่างมากเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ  “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 8 นี้จะชวนคุณล้อมวงกันเข้ามา ผ่าวิถีใหม่ไปกับ “หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร” นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญความงามแห่ง “Medivisage” คลินิกเสริมความงามอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย  พร้อมด้วยกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ”  อาจารประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ก่อตั้ง Baiya Phytopharm ฝากคอมเมนต์ EP. 8 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/dQRE4GuQrg9e3WrF9​ แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.9 วันพุธที่ 22 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ  Chula Alumni

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner