คำแนะนำการทานยาพาราเซตามอล : กล่องรอดตาย
พาราเซตามอล (Paracetamol) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอล หนึ่งแผงจะประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 10 เม็ด ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือปวดบริเวณต่างๆ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (500-1,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถส่งผลต่อตับได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง ยาพาราเซตามอลมีคำเตือนดังต่อไปนี้ – ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง – […]
คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย
The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 : กล่องรอดตาย
The Sharpener จะแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด ในระหว่างการแยกตัวที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า “Home Isolation” ผู้ป่วยควรนอนคว่ำ เพื่อให้อากาศเข้าปอดได้ดีขึ้น และควรเปลี่ยนท่าไปเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ เริ่มที่ท่าแรก ท่าที่ 1 นอนคว่ำ ใบหน้าตะแคงเล็กน้อย เพื่อให้หายใจได้สะดวก และใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ลำตัว และปลายเท้า เป็นเวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 3 นั่งหลังตรง 90 องศา หรือเอาหมอนมาหนุนด้านหลังพยายามหายใจลึก ๆ ให้เต็มปอด เพื่อให้ปอดส่วนล่างขยายได้เต็มที่ ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ เป็นเวลา 30 นาที ถึง […]
ทำความรู้จัก “กล่องรอดตาย”
The Sharpener จะพาทุกคนมารู้จักกับกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยนะคะ หลังจากตรวจเชิงรุก โดยรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน โดยผู้ที่ได้รับกล่องสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดบนกล่องรอดตาย เมื่อสแกนแล้วแสดงว่าทุกท่านได้อยู่ในระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ของเรา ในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยา และเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำทางออนไลน์จากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Home Isolation อย่างเข้มข้น ภายในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด 7 รายการ ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อนสำหรับใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว นอกจากนี้กล่องรอดตายยังมีไฮไลต์สำคัญที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่านระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox) ที่มีแนวทางปฎิบัติตัวระหว่างรักษาตัวอยู่ที่บ้าน […]
Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม
เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]
“กล่องรอดตาย” เราจะอยู่กับคุณจนกว่าจะ “หาย” หรือ “ได้เตียง”
https://www.youtube.com/watch?v=0-TxvgTtkk4 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค มูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะไทย และภาคีเครือข่าย ขอชวนพี่น้องนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคยาและเวชภัณฑ์เพื่อจัดทำ “กล่องรอดตาย” (Survival Box) พร้อมระบบติดตามอาการสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทราบผลจากการตรวจเชิงรุกของรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน (Express Analysis Mobile Unit) เพื่อใช้ดูแลรักษาตนเองที่บ้านขณะรอเตียง โดยยาและเวชภัณฑ์ในกล่องรอดตาย 1 ชุด ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล ปรอทวัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อน📍สมทบทุนจัดทำกล่องรอดตาย กล่องละ 500 […]
จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ
เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]
รมช.ศธ. หนุน “ข้าวแสนกล่อง” ช่วยเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้
7 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ CU2503 นำคณะนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมชมพร้อมฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา โดยให้กำลังใจเครือข่าย Food for Fighters และร่วมทำถุงยังชีพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งยังได้บริจาคอาหารกล่องร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ขณะนี้บริจาคอาหารกล่องนับตั้งแต่เริ่มภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” รวมทั้งสิ้น 11,900 กล่องแล้ว ภารกิจข้าวแสนกล่องวันนี้ได้รับบริจาคอาหารกล่องทั้งสิ้น 4,070 กล่อง ซึ่งนอกจากจะกระจายให้กับชุมชนที่ต้องกักตัวเป็นประจำตามปกติ ในจำนวนนี้ยังได้แบ่งนำส่งไปที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้อพยพกรณีเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน สำหรับผู้ที่สนใจยังคงบริจาคอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องกักตัว โดยนำส่งได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ตั้งวันนี้จนถึงวันที่ 31 ก.ค.2564 ตั้งแต่ 09:00-17:00 น. หรือร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 109-2-49780-3 ชื่อบัญชี มูลนิธิคุวานันท์ […]
ส่งข้าวฟ้าผ่า กลางแคมป์พระราม 3 ยื้อ 136 ชีวิต ถูกพักงาน ไร้ผู้เหลียวแล
4 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทันทีที่ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับแจ้งเหตุ “ด่วน 136 ชีวิตร้องขอสิ่งประทังชีวิตหลังปิดแคมป์คนงาน ไม่มีใครดูแล” ที่เสนอข่าวโดย NationTV (https://www.nationtv.tv/news/378828263) และ Khaosod TV (https://www.youtube.com/watch?v=U6FNthlb4sI&ab_channel=KhaosodTV-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%94) จาก รศ.ไพลิน ผ่องใส อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เครือข่าย Food for Fighters ได้เร่งประสานไปยัง “หัวหน้าอู๋” ผู้ดูแลแคมป์คนงานย่านพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วนแห่งนี้ ซึ่งเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง และได้เร่งนำอาหารกล่อง จำนวน 140 กล่อง เข้าไปบรรเทาความหิวโหยของคนงานภายในแคมป์ทั้งหมด 136 คนในทันที โดยทั้งหมดถูกกักตัวแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ตามมาตรการปิดแคมป์คนงาน หวังสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้รับการร้องขอความช่วยเหลือสิ่งของที่จำเป็นจากแคมป์ดังกล่าว อาทิ หน้ากากอนามัย ข้าวสาร อาหารแห้ง […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]