Banner 135 06

โฆษกเผย รบ. ยึดหลักการกระจายวัคซีนโควิด-19 อย่างเป็นธรรม แบ่งฉีดเป็น 3 ระยะ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบแนวทางเกี่ยวกับการบริหารวัคซีนโควิด-19 ยึดหลักให้มีการกระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจะบริหารแผนการฉีดวัคซีน และกระทรวงสาธารณสุขจะติดตามประเมินผลการฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนคนไทยคนแรกได้ภายในเดือนกุมภาพันธุ์นี้ นายกรัฐมนตรียังวอนให้คนไทย “ตั้งการ์ดสูง” และยังต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่เสี่ยงและสถานที่แออัด นายอนุชา กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2564 ได้มีการรายงานลำดับกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงที่วัคซีนมีปริมาณจำกัด ดำเนินการในพื้นที่ที่มีการระบาด เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ จะดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ผู้มีโรคประจำตัว 6 โรคกำหนด คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน ผู้ที่มีอายุ 60 […]

THE SHARPENER Update Covid 1 0

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 1 ก.พ. 64

วันนี้ (1 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 836 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 19,618 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 7,027 ราย หายแล้วจำนวน 12,514 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 899 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

999889DE E7F5 4F26 AB6C 8957E16BE15D

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 31 ม.ค. 64

วันนี้ (31 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 829 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 18,782 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 7,090 ราย หายแล้วจำนวน 11,615 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 110 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

1E1FD090 1526 4B8E BCE4 B037F9310F28

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 30 ม.ค. 64

วันนี้ (30 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 930 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 17,953 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 6,371 ราย หายแล้วจำนวน 11,505 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 109 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 คน โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 77 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

5947E2DB 2B9C 4C55 9231 C136930E7984

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 29 ม.ค. 64

วันนี้ (29 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 802 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 17,023 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 5,551 ราย หายแล้วจำนวน 11,396 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 109 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 76 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner 130 03

เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด-19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วคือความรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดนที่เอื้อให้การทำกิจกรรมและการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ประเทศไทย ในฐานะหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับการรับเชื้อโรคข้ามพรมแดน จากการเปิดข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้อาจเป็นพาหะนำโรคอุบัติใหม่ติดเชื้อจากคนสู่คนข้ามพรมแดนเข้ามาด้วยเช่นกัน การเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในแวดวงสาธารณสุขไทยเทศตระหนักและขานรับเป็นวาระที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ระงับยับยั้งก่อนแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2559 ทำงานควบคู่กันกับศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เพื่อดำเนินการเชิงรุกเข้าถึงแหล่งกำเนิดโรค (upstream operation) และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับโลก (global collaboration) ซึ่งศูนย์นี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 จากสนับสนุนสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ให้สามารถตรวจยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 และยืนยันผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ทันท่วงที ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา […]

06BD53B1 2309 4ABE A0DB 7981E0FF0312

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 28 ม.ค. 64

วันนี้ (28 ม.ค 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 756 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 16,221 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 4,858 ราย หายแล้วจำนวน 11,287 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 233 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 76 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

D4ADB13B AA2A 4198 91FB 5B54C5FDC203

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 27 ม.ค. 64

วันนี้ (27 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 819 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 15,465 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 4,335 ราย หายแล้วจำนวน 11,054 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 162 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 คน โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 76 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

THE SHARPENER Update Covid 1

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 26 ม.ค. 64

วันนี้ (26 ม.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 959 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 14,646 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 3,679 ราย หายแล้วจำนวน 10,892 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 230 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 75 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner