Banner 155

‘CROWDFUNDING’ โมเดลระดมทุน ดันงานสตาร์ทอัพจากหิ้ง สู่ ห้าง

ท่ามกลางการแข่งขัน และเติบโตของโลกธุรกิจ “Startups” ที่ต่างประชันไอเดีย และนวัตกรรมของตนเอง เพื่อดึงดูดเหล่านักลงทุนทำให้ Startups เหล่านั้นมีเงินทุนดำเนิน กิจการและเติบโตขึ้น การเฟ้นหาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องวางแผนและเลือกเครื่องมือหรือแนวทางเพื่อให้ได้ทุนตามเป้าที่ตั้งไว้ด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการประกวดแข่งขันนำเสนอไอเดีย, การกู้ยืมจากธนาคาร, การแลกหุ้นบริษัทกับเงินลงทุน หรือในหลายปีนี้ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือ “การระดมทุนจากสาธารณะ” หรือ “Crowdfuding” นั่นเอง Crowdfunding เป็นเครื่องมือของสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินลงทุนมาดำเนินธุรกิจ และโปรโมทโครงการหรือธุรกิจให้สาธารณชนได้รู้จักไปในตัว โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี แต่ขาดเงินลงทุนและต้องการความรวดเร็วในการได้รับเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไป โดย Crowdfunding นั้นสามารถทำได้ด้วยกัน​ 4 รูปแบบ ได้แก่ Reward-based Crowdfunding  เป็นการระดมทุนที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ลงทุนและสตาร์ทอัพหรือบริษัทนั้นจะให้ผลตอบแทนเป็นสิทธิประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์กลับไปเมื่อโครงการนั้นสำเร็จถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ Donation-based Crowdfunding  การระดมทุนแบบบริจาคตามความศรัทธาของสาธารณชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยผู้ที่บริจาคจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน Equity-based Crowdfunding  การระดมทุนโดยการเสนอหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ให้แก่สาธารณชนเพื่อนำเงินมาลงทุน โดยผู้ให้ทุนจะได้ถือครองหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนพร้อมกับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากกิจการในอนาคต Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending การระดมทุนโดยการกู้ยืมเงินจากผู้สนับสนุนซึ่งต้องกำหนดระยะเวลาการชำระเงินคืน และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนที่ให้การสนับสนุน Crowdfunding แบบไหนนิยมใช้กันบ้าง?  จากงานวิจัยเพื่อสำรวจประเภทของการระดมทุนจากสาธารณะในประเทศอิตาลีของ […]

S 63291544

แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ

หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]

879F5B61 0ED1 4124 9B15 A0BEEDF954B4

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี ชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64

19 ม.ค.63 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564 ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข […]

Banner 122 3

รองนายกฯ ‘อนุทิน’ หนุน “ทีมไทยแลนด์” เร่งผลิตวัคซีนจุฬาฯ ใช้เอง ดึงคนไทยมีส่วนร่วมบริจาคห้าร้อยบาทให้ถึงล้านคน

วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน เร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมพัฒนาวัคซีนสานฝันคนไทยมีวัคซีนใช้เองจากฝีมือคนไทย 100% คาดพร้อมใช้ปลายปี 2564 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” เปิดรับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน รวม 500 ล้านบาท เพื่อเร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชเพื่อทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 ระหว่างองค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บริษัท ใบยา […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner