Banner 212

“กล่องรอดตาย” คว้า “คนดี ศรีจุฬาฯ” แห่งปี

30 พ.ค.66 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนจ.) เป็นผู้แทนรับรางวัล “คนดี ศรีจุฬาฯ” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565-2566 จากผลงาน “โครงการกล่องรอดตาย” เพื่อยกย่อง เป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรสายปฏิบัติการซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรางวัลประเภทกลุ่มบุคลากรยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ที่มอบให้กับการผนึกกำลังกันดูแลผู้ป่วยโควิด19 ของกลุ่มคณะทำงาน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)  สำนักบริหารกิจการนิสิต สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม เลขาธิการ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ​ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช […]

Banner 217 1

กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี

24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]

Banner 206

“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่

24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

Banner 202

ติวเข้มอาสา ‘กล่องรอดตาย’ รับมือ ‘โอไมครอน’ ไทยหวั่นลามใต้ติดเชื้อเฉียดหมื่น

ศิษย์เก่าจุฬาฯ เรียกดรีมทีมสุมหัว ติวเข้มรับมือโควิดกลายพันธุ์ หวั่นภาคใต้ระบาดหนัก หมอวิชาญคาดเดือนหน้าติดเชื้อใหม่อาจแตะหมื่น สงขลา-เมืองคอนยังอ่วม ตรัง-พัทลุง-ปัตตานี-นราธิวาส เริ่มขยับขอรับกล่องรอดตายแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้จัดกิจกรรมถกถ้อยเสวนาในหัวข้อ “เตรียมรับมือโอไมครอน VS กู้วิกฤตโควิดภาคใต้” อัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าระลอกใหม่ทั่วโลก และแนวโน้มการแพร่ระบาดในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มอาสาสมัครกล่องรอดตายกว่า 200 คน พร้อมรับมือและร่วมสนับสนุนภารกิจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. และ นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมเป็นวิทยากรในงาน ช่วงต้นของการเสวนา นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาว่า “ในภาพรวมยังมีแนวโน้มคงที่ แต่ยังมิอาจวางใจได้ โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ยังมีจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร พัทลุง สตูล ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้หลายมาตรการเพื่อเร่งเยียวยาสถานการณ์ […]

Banner 200

กพร. หนุนจุฬาฯ ส่ง “กล่องรอดตาย” ชิงรางวัลระดับโลก “United Nations Public Service Awards 2022”

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สนับสนุนโครงการ “กล่องรอดตาย” นวัตกรรมบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ดูแลผู้ป่วย Home Isolation โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เป็นตัวแทนประเทศไทย ชิงรางวัล “United Nations Public Service Awards 2022” โดยจะเข้ารับการประเมินในสาขา “องค์กรที่ยืดหยุ่น ปรับตัว และตอบสนองเชิงนวัตกรรมต่อการระบาดของ COVID-19” (Institutional resilience and innovative responses to the COVID-19 pandemic) โดยจะพิจารณาจากผลงานการเพิ่มมาตรการคุ้มครองทางสังคมด้วยบริการที่สร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อสังคม และครอบคลุมทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับวิกฤตปัจจุบัน และจะประกาศผลให้ทราบอย่างเป็นทางการวันที่ 23 มิ.ย. ศกหน้า ในวัน UN Public Service Day รางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) เป็นรางวัลขององค์การสหประชาชาติที่มอบให้แก่หน่วยงานด้านการให้บริการสาธารณะของประเทศสมาชิกท่ีมีผลงานโดดเด่น […]

Banner 193

คนเมืองโอ่งเฮ หมอกำธรมาแล้ว! สนจ.ลุยกู้โควิดราชบุรี มั่นใจใช้โมเดล ‘กล่องรอดตาย’ ติดตามคนไข้ท้องถิ่นผ่าน LINE OA ได้ผลดีเกินคาด

8 ก.ย.64 หลังเข้ารับตำแหน่งใหม่อย่างเป็นทางการได้เพียง 1 วัน ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ มอบกล่องรอดตายและถุงยังชีพให้ผู้ป่วย Home Isolation และร่วมรับฟังผลสรุปการนำ “กล่องรอดตาย” และระบบติดตามอาการผู้ป่วย Home Isoloation ทางไกลผ่าน LINE Official Account “หอผู้ป่วยกล่องรอดตาย” มาใช้นำร่องในพื้นที่โดยมีแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และทีมอาสาสมัครกล่องรอดตายราชบุรี ร่วมประชุมด้วย นำโดย นายวศิณ หุ่นกลอย สารวัตรกำนันตำบลบ้านไร่ พญ.มุกรินทร์ เอี่ยมเมตตา แพทย์หัวหน้าทีมดูแลผู้ป่วยโควิด19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก และนางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ นางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผอ.รพ.สต.บ้านไร่ กล่าวว่า “กล่องรอดตายถือว่าได้เข้ามาเติมเต็มให้การทำงานในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น […]

Banner 190 1

“เตือนแล้วนะ! อย่าซื้อ Ivermectin มากินเอง”

ร่วม 2 ปีแล้วที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นวิกฤติการณ์ใหญ่ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มวลมนุษยชาติยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะเชื้อร้ายนี้ ทั้งคิดค้นวัคซีนเพื่อมาป้องกันและสรรหายาหลากชนิดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียชีวิตผู้ป่วย เราจึงได้เห็นความพยายามของหลายประเทศมุ่งใช้ทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ค้นคว้าวิจัยให้ได้วัคซีนและยา หรือนำยาที่เคยมีอยู่แล้วนำกลับมาศึกษาค้นคว้าใหม่ รวมถึงการเลือกใช้ยาที่ใช้ได้ผลดีในสัตว์มาใช้กับมนุษย์อย่าง “Ivermectin”  “Ivermectin” เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ โดยประโยชน์หลักของยาตัวนี้สามารถใช้กำจัดปรสิตได้ทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ สัตวแพทย์จะมีวิธีใช้ยานี้ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป อย่างการรักษาโรคติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ สัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุด ส่วนโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ไรในหู โรคติดเชื้อพยาธิตัวกลมและการกำจัดเห็บปรสิตของสัตว์บางชนิดอย่างสุนัขและแมวมักใช้ยาขนาดกลาง แต่ถ้าสัตว์เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกนั้นก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรทราบคือ Ivermectin เป็นยาที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้กับปศุสัตว์ในพวกสุกร โค กระบือ จึงมีความข้นสูงมาก การนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงจึงจัดเป็นการใช้แบบ extra-label use คือนำมาใช้นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตได้ขอขึ้นทะเบียนไว้นั่นเอง ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ลักษณะของยาที่ใช้กำจัดเห็บนั้นในบางยี่ห้อมีลักษณะหนืดข้นคล้ายน้ำมัน อาจทำให้สัตว์ที่ได้รับการฉีดยาที่ผิวหนังนั้นจะค่อนข้างแสบผิวมากโดยเฉพาะสุนัขนั้นอาจจะไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของยานี้คือเหมาะกับสุนัขที่ป้อนยายาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับยาหยดหลังนั้น อีกทั้งยังช่วยครอบคลุมการถ่ายพยาธิตัวกลม และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ ด้วยข้อแนะนำที่สำคัญคือกรณีใช้ยาเพื่อกำจัดเห็บนี้ควรจะใช้ในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจไม่ควรนำมาใช้ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีความไวต่อยานี้ เช่น พันธุ์คอลลี่ พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก และพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในสุนัขขนาดเล็ก […]

Banner 188

‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่

ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง”  ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้  เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner