ทราบแล้วเปลี่ยน!!! ชวนพิสูจน์รถ EV เซฟจัดประหยัดจริง กับ “EV Go ทริปปิดดีล”
กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. ชวนสายกรีนออกโรดทริปสร้างประสบการณ์ใหม่ ทดลองขับรถ EV 4 เส้นทาง หัวหิน – สัตหีบ – เขื่อนศรีนครินทร์ – เขาใหญ่ ภายใต้กิจกรรม “EV GO ทริปปิดดีล” โชว์ศักยภาพรถ EV และสถานีชาร์จไฟฟ้า EleX by EGAT ที่ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วไทย สานแนวคิด “ทราบแล้วเปลี่ยน” ให้ความมั่นใจคนไทยหันมาใช้รถอีวี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “EV GO ทริปปิดดีล” ภายใต้แคมเปญ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ชวนเหล่า EV Tripper กว่าร้อยชีวิตร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่คาราวานโรดทริปขับขี่รถอีวีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย โดยกลุ่ม EV Instructor ชื่อดัง ได้แก่ สุรมิส เจริญงาม, อรรครินทร์ ห้องดอกไม้, กฤษดา […]
โรงไฟฟ้าจากขยะสุดล้ำ เป็นพื้นที่สาธารณะ เล่นกีฬา ปีนผา สกี ที่สีเขียวอยู่ในเดนมาร์ก
CopenHill เป็นโรงงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนขยะจากในเมืองมาเป็นความร้อนและพลังงาน แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโรงไฟฟ้าคือมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถให้ทุกคนมาใช้ได้ และการที่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้เปิดให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้นั้นไม่ปล่อยสารพิษออกมาจากปล่องควันเลย มีเพียงแค่ไอน้ำเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา โรงงานไฟฟ้า CopenHill ตั้งอยู่ในประเทศเดนมาร์ก เป็นผลงานการออกแบบโดย bjarke ingels group โดยนอกจากมันจะทำหน้าที่เป็นโรงงานไฟฟ้าและมันยังมีพื้นที่ให้เล่นกีฬาและเดินเล่นอีกด้วย แถมมันยังเป็นที่ปีนผาที่สูงที่สุดในโลกอีกต่างหาก สำหรับสายลุยชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งหากเดินทางมาที่นี่ก็จะได้เล่นทั้งเวคบอร์ด โกคาร์ท สกี เดินป่า และปีนผาเลยทีเดียว หรือถ้าหากมาเป็นสายชิล ชอบกินลมชมวิวก็สามารถมาเพลิดเพลินได้ที่นี่เช่นกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ราบสูงซึ่งสูงที่สุดในเมือง และมีเส้นทางที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเลยทีเดียวแหละ หลังคาสีเขียวขนาดยักษืนี้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์หลากหลายมากทั้งช่วยดูดซับความร้อน ช่วยลดฝุ่นละออง และช่วยลดการไหลแรงของน้ำด้วย ในส่วนของการผลิตพลังงานจากขยะของโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ในแต่ละวันพวกเขาจะได้รับขยะประมาณ 250-350 รถบรรทุก ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำมารวบรวมในหลุมเพื่อรอนำเข้าเตาเผา ซึ่งในกระบวนการเผานี้จะได้เป็นพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำเดือด และไอน้ำที่ได้จากน้ำเหล่านี้ก็จะไปทำให้กังหันทำงาน ซึ่งในกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องเกิดสารพิษ แต่โรงงานแห่งนี้นั้นมีระบบภายในที่จะไม่ปล่อยสารพิษออกสู่แวดล้อมภายนอกเลย .นับว่าเป็นไอเดียที่บรรเจิดมากเพราะนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ไม่ก่อมลพิษให้แก่โลก แล้วยังสามารถสร้างพื้นที่สาธาณะให้ผู้คนออกมาใช้งานได้ร่วมกันอีกด้วย ที่มา : https://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.youtube.com/watch?v=pOqocj2h6EMhttps://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.copenhill.dk/enhttps://www.facebook.com/environman.th/posts/3166178603510565
กฟผ. เปิดซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ดันกลไกใหม่ช่วยไทยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า
(เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายเร็วกว่ากำหนด ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายใบรับรองการผลิตเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่าภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จลดก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าเปิดซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน อภิปรายภายในงานว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก 4 ด้านสำคัญได้แก่ ด้านนโยบายและแผนพลังงาน ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 คาดจะลดได้ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะประเมินตามแนวทางการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1 ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกเฟสแรกได้ก่อนเวลาที่ NAMA/ COP21 กำหนด จากการขับเคลื่อนมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 ที่ทำมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ กฟผ. ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (กฟผ. และ IPP) ประจำปี 2562 ได้รวม 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันเป็นผลมาจากความร่วมมือของ กฟผ. และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ด้านการประสานความร่วมมือ โดยสร้างภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย โดยผลการลดดังกล่าวได้นำส่งกระทรวงพลังงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA REC กลไกสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสร้างความยั่งยืน Renewable Energy Certificate หรือ REC เป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน ที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบ REC โดยหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC) แนวโน้มการเติบโตของตลาด REC พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิก RE100 ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันความต้องการขาย REC ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ลงทะเบียนกับมาตรฐาน I-REC แล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 750 MWp กฟผ. เปิดซื้อขาย REC รายแรก […]
MEA ร่วม 7-Eleven เปิด EV Charging Station ชาร์จฟรี เพิ่มอีก 2 มุมเมือง
นายมนัส อรุณวัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมขับเคลื่อนตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินนโยบายในด้านรถไฟฟ้า (EV) มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จำนวน 2 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 7-Eleven สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ สาขา สน.บางขุนนนท์ เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้ขับขี่รถ EV ในพื้นที่ ซึ่งมีสถานที่สำคัญทั้งโรงพยาบาล ชุมชน และหน่วยงานราชการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ MEA ติดตั้งในครั้งนี้ เป็นรูปแบบ Normal Charger ขนาด […]