จาก ทส. ยกกำลัง 2 + 4 สู่ยุค New Normal ทส. ยกกำลังเอ็กซ์
เมื่อช่วงต้นปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยให้แนวทางการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปีนี้ไว้ว่า ให้ทำงานแบบ “ทส. ยกกำลัง 2 + 4” “ยกกำลัง 2” คือ คนทำงานต้องยกระดับการทำงาน ความกระตือรือร้น จิตใจในการทำงาน จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์เป็นทวีคูณ ต้องห้ามหย่อนยานกับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ แล้วเสริมพลังด้วย “บวก 4” คือ หนึ่ง ทำงานโดยเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานงานอนุรักษ์ที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การทำงานต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังที่เน้นย้ำมาเสมอว่า การทำงานแบบต่างคนต่างทำ ภาครัฐและประชาชนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ สาม ต้องทำงานแบบมีความรู้เชิงวิชาการ เพราะความรู้คือรากฐานของพลังในการสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง การทำงานแบบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่เท่าทันโลก อาจยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสี่ ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง “การทำงานแบบ ยกกำลัง 2 + […]
เหตุผลที่คุณต้องห้ามพลาด “ข่าวสาร ทสม.”
เพราะ “การสื่อสาร” กลายเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะทำงานทำงานในสาขาอาชีพใดก็ตาม แม้แต่ในสายงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ยิ่งต้องอาศัยการสื่อสารเป็นอาวุธลับในการทำให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง ทั้งการรายงานสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อประสบพบเจอ และการแก้ไขให้ทันท่วงที เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ดูแลรักษา เฝ้าระวัง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วยจิตอาสา โดยมีบาทบาททั้งการประสานงาน และการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน และชุมชน และที่สำคัญคือ เป็นนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์ทรัพยากร การจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแจ้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ หรือเรียกว่า “ข่าวสาร ทสม.” นั่นเอง และยิ่งทุกวันนี้ โลกได้มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ซึ่งเราต่างก็มีโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำการง่ายต่อการติดตาม และการใช้ประโยชน์จาก ข่าวสาร ทสม. หรือส่งต่อได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เพียงคุณหยิบโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์สื่อสารใดอีกก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมา และ เสิร์ชหาแอปพลิเคชัน “Arsa4thai” ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปนี้เอาไว้ ซึ่งแอปนี้จะช่วยคุณสื่อสารกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้จบครบในแอปเดียว ทั้งส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ แลกเปลี่ยน รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้ทันที เผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมไปยังสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้ในแอปเดียว […]
ทสม. คือใคร?
Who are we? เราคือคนธรรมดา ที่อาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หากได้ยินคำว่า “อาสาฯ” บ่อยครั้งเรามักจะนึกถึง อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครกู้ชีพ หรืออาสาสมัครกาชาด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเหล่าผู้เสียสละ ที่ทำงานเพื่อกู้คืนรักษาชีวิตคน แต่ยังมีอีกหนึ่ง “อาสาฯ” ที่ความเสียสละของพวกเขาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และสิ่งที่พวกเขาพิทักษ์รักษา คือส่วนหนึ่งของโลกทั้งใบ เรากำลังพูดถึง “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม.” คนธรรมดา คนทั่วไป ที่มีความสนใจทำงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง เมื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนที่สำคัญต่อโลก จึงเกี่ยวข้องกับทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นภาระของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึง เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งก็คือ ทสม. นั่นเอง โดย ทสม. นั้นทำงานกันเป็นเครือข่ายและมีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกได้ว่า เป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ตัวจริง ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ทสม. อยู่ทั้งสิ้น 260,278 คน โดยกระจายอยู่ใน 77 จังหวัด 878 อำเภอ 50 เขต 6,690 […]
จุฬาฯ เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564”
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตในรายการ CHULA Future Leader Talks รายการพิเศษเนื่องในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2564 จุฬาฯ รับใช้ประชาชน ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย 17 SDGs นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นคือรายการ CHULA Future Leader Talks ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อเปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตชาวจุฬาฯ ที่พร้อมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับประชาคมโลก ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 เป้าหมาย […]
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เดินหน้าจัด “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” สานพลังชาวจุฬาฯ ทั่วโลก ร่วมทำดีในคอนเซ็ปต์ “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน”
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เดินหน้าจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมพลพี่น้องชาวจุฬา ฯ ทั่วโลก เชื่อมเกียรติภูมิจุฬา ฯ สานพลังทำความดีแบบ “4D” ตลอดเดือนตุลาคม รับวิถี Next Normal นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2564 และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ร่วมงานแถลงข่าวแบบออนไลน์จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” โดยมีชาวจุฬาฯ จากทั่วโลกหลอมรวมใจกันเป็นหนึ่งเข้าร่วมกว่า 300 คน นายก สนจ. กล่าวว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นตลอดเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการให้ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” รวมพลังชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก […]
ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]
กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน 4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]
รมช.ศธ. หนุน “ข้าวแสนกล่อง” ช่วยเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้
7 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ CU2503 นำคณะนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมชมพร้อมฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา โดยให้กำลังใจเครือข่าย Food for Fighters และร่วมทำถุงยังชีพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งยังได้บริจาคอาหารกล่องร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ขณะนี้บริจาคอาหารกล่องนับตั้งแต่เริ่มภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” รวมทั้งสิ้น 11,900 กล่องแล้ว ภารกิจข้าวแสนกล่องวันนี้ได้รับบริจาคอาหารกล่องทั้งสิ้น 4,070 กล่อง ซึ่งนอกจากจะกระจายให้กับชุมชนที่ต้องกักตัวเป็นประจำตามปกติ ในจำนวนนี้ยังได้แบ่งนำส่งไปที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้อพยพกรณีเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน สำหรับผู้ที่สนใจยังคงบริจาคอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องกักตัว โดยนำส่งได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ตั้งวันนี้จนถึงวันที่ 31 ก.ค.2564 ตั้งแต่ 09:00-17:00 น. หรือร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 109-2-49780-3 ชื่อบัญชี มูลนิธิคุวานันท์ […]
ส่งข้าวฟ้าผ่า กลางแคมป์พระราม 3 ยื้อ 136 ชีวิต ถูกพักงาน ไร้ผู้เหลียวแล
4 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทันทีที่ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับแจ้งเหตุ “ด่วน 136 ชีวิตร้องขอสิ่งประทังชีวิตหลังปิดแคมป์คนงาน ไม่มีใครดูแล” ที่เสนอข่าวโดย NationTV (https://www.nationtv.tv/news/378828263) และ Khaosod TV (https://www.youtube.com/watch?v=U6FNthlb4sI&ab_channel=KhaosodTV-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%94) จาก รศ.ไพลิน ผ่องใส อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เครือข่าย Food for Fighters ได้เร่งประสานไปยัง “หัวหน้าอู๋” ผู้ดูแลแคมป์คนงานย่านพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วนแห่งนี้ ซึ่งเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง และได้เร่งนำอาหารกล่อง จำนวน 140 กล่อง เข้าไปบรรเทาความหิวโหยของคนงานภายในแคมป์ทั้งหมด 136 คนในทันที โดยทั้งหมดถูกกักตัวแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ตามมาตรการปิดแคมป์คนงาน หวังสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้รับการร้องขอความช่วยเหลือสิ่งของที่จำเป็นจากแคมป์ดังกล่าว อาทิ หน้ากากอนามัย ข้าวสาร อาหารแห้ง […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]