Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

messageImage 1636861752376

สมการ ทสม. 1 + 1 = ?

โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง  “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง  อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน”  เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]

SDGs ทสม 02 scaled

จาก ทส. ยกกำลัง 2 + 4 สู่ยุค New Normal ทส. ยกกำลังเอ็กซ์

เมื่อช่วงต้นปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยให้แนวทางการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปีนี้ไว้ว่า ให้ทำงานแบบ “ทส. ยกกำลัง 2 + 4” “ยกกำลัง 2” คือ คนทำงานต้องยกระดับการทำงาน ความกระตือรือร้น จิตใจในการทำงาน จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์เป็นทวีคูณ ต้องห้ามหย่อนยานกับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ แล้วเสริมพลังด้วย “บวก 4” คือ หนึ่ง ทำงานโดยเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานงานอนุรักษ์ที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การทำงานต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังที่เน้นย้ำมาเสมอว่า การทำงานแบบต่างคนต่างทำ ภาครัฐและประชาชนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ สาม ต้องทำงานแบบมีความรู้เชิงวิชาการ เพราะความรู้คือรากฐานของพลังในการสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง การทำงานแบบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่เท่าทันโลก อาจยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสี่ ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง “การทำงานแบบ ยกกำลัง 2 + […]

SDGs ทสม 03 scaled

เหตุผลที่คุณต้องห้ามพลาด “ข่าวสาร ทสม.”

เพราะ “การสื่อสาร” กลายเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะทำงานทำงานในสาขาอาชีพใดก็ตาม แม้แต่ในสายงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ยิ่งต้องอาศัยการสื่อสารเป็นอาวุธลับในการทำให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง ทั้งการรายงานสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อประสบพบเจอ และการแก้ไขให้ทันท่วงที เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ดูแลรักษา เฝ้าระวัง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วยจิตอาสา โดยมีบาทบาททั้งการประสานงาน และการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน และชุมชน และที่สำคัญคือ เป็นนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์ทรัพยากร การจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแจ้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ หรือเรียกว่า “ข่าวสาร ทสม.” นั่นเอง และยิ่งทุกวันนี้ โลกได้มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ซึ่งเราต่างก็มีโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำการง่ายต่อการติดตาม และการใช้ประโยชน์จาก ข่าวสาร ทสม. หรือส่งต่อได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เพียงคุณหยิบโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์สื่อสารใดอีกก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมา และ เสิร์ชหาแอปพลิเคชัน “Arsa4thai” ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปนี้เอาไว้   ซึ่งแอปนี้จะช่วยคุณสื่อสารกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้จบครบในแอปเดียว ทั้งส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ แลกเปลี่ยน รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้ทันที เผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมไปยังสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้ในแอปเดียว […]

SDGs ทสม 05 scaled

ทสม. คือใคร?

Who are we? เราคือคนธรรมดา ที่อาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หากได้ยินคำว่า “อาสาฯ” บ่อยครั้งเรามักจะนึกถึง อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครกู้ชีพ หรืออาสาสมัครกาชาด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเหล่าผู้เสียสละ ที่ทำงานเพื่อกู้คืนรักษาชีวิตคน แต่ยังมีอีกหนึ่ง “อาสาฯ” ที่ความเสียสละของพวกเขาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และสิ่งที่พวกเขาพิทักษ์รักษา คือส่วนหนึ่งของโลกทั้งใบ เรากำลังพูดถึง “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม.” คนธรรมดา คนทั่วไป ที่มีความสนใจทำงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง เมื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนที่สำคัญต่อโลก จึงเกี่ยวข้องกับทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นภาระของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึง เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งก็คือ ทสม. นั่นเอง โดย ทสม. นั้นทำงานกันเป็นเครือข่ายและมีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกได้ว่า เป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ตัวจริง ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ทสม. อยู่ทั้งสิ้น 260,278 คน โดยกระจายอยู่ใน 77 จังหวัด 878 อำเภอ 50 เขต 6,690 […]

Banner 197 1

จุฬาฯ เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตในรายการ CHULA Future Leader Talks รายการพิเศษเนื่องในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2564 จุฬาฯ รับใช้ประชาชน ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย 17 SDGs นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นคือรายการ CHULA Future Leader Talks ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อเปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตชาวจุฬาฯ ที่พร้อมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับประชาคมโลก ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 เป้าหมาย […]

Banner 196

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เดินหน้าจัด “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” สานพลังชาวจุฬาฯ ทั่วโลก ร่วมทำดีในคอนเซ็ปต์ “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เดินหน้าจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมพลพี่น้องชาวจุฬา ฯ ทั่วโลก เชื่อมเกียรติภูมิจุฬา ฯ สานพลังทำความดีแบบ “4D” ตลอดเดือนตุลาคม รับวิถี Next Normal นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2564 และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ร่วมงานแถลงข่าวแบบออนไลน์จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” โดยมีชาวจุฬาฯ จากทั่วโลกหลอมรวมใจกันเป็นหนึ่งเข้าร่วมกว่า 300 คน นายก สนจ. กล่าวว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นตลอดเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการให้ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” รวมพลังชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก […]

Banner 192

ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์  โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน      โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]

Banner 184

กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ  สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน  4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner