Banner 138 03

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเชิงรุกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2562 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,229 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ 3,033 คน และบุคลากรสายปฏิบัติการรวมไปถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ อีกกว่า 5,196 คน ดังนั้น นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยจัดหอพักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ ไว้ 3 แห่ง ได้แก่  หอพักวิทยนิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักวิทยนิเวศน์เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักชนิดมีเครื่องปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ห้องพักในหอพักวิทยนิเวศน์ ยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา  หอพักจุฬานิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักจุฬานิเวศน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว  หอพักจุฬานิวาส เป็นหอพักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งคนงาน […]

Banner 138 02

จุฬาฯ สืบศาสตร์สานศิลป์ ชุบชีวินศิลปินไทย

อีกบทบาทหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ คือ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาองค์ความรู้และสิ่งทรงคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคมไทย  ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุน เอื้ออำนวย และให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการสำคัญเป็นที่ประจักษ์ชัด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี โครงการจัดทำวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน และโครงการจัดทำวีดิทัศน์องค์ความรู้การอนุรักษ์สงวนรักษาผลงานศิลปกรรม  มุ่งสืบสานมรดกดนตรีชาติ “จุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี”  หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านดนตรีไทยเพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่มีจุดเด่นเป็นหอสมุดดนตรีที่ให้บริการในระบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มุ่งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดทำโครงการบันทึกข้อมูลเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบันกว่า 30 ปี นับเฉพาะบทเพลงไทยมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเพลงนี้มีมากกว่า 10,000 เพลง  ปัจจุบันหอสมุดดนตรีไทยมีภารกิจหลักให้บริการสืบค้นข้อมูลเพลงไทยด้วยระบบสารสนเทศแก่นิสิต นักศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป ทั้งด้านไฟล์เสียง วีดิทัศน์ และหนังสือหายากทางดนตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยชิ้นสำคัญอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2561 […]

Banner 138 01

หลงเสน่ห์นวัตกรรม Siam Innovation District เบื้องหลังความสำเร็จหมื่นล้านของสตาร์ทอัพไทย

กว่า 3 ขวบปีแล้วที่เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม “Siam Innovation District” (SID) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย CU Innovation Hub เปิดพื้นที่อุดมปัญญากว่า 1,000 ตารางเมตร ใจกลางเมืองหลวงย่านสยามสแควร์ให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาคนไทยให้เป็นที่รู้จักบนเวทีโลกผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะต่อยอดมากมายทั้งกิจกรรมเวิร์คชอป กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ นิทรรศการ และจัดแสดงตัวอย่างนวัตกรรมฝีมือคนไทย มากกว่าร้อยกิจกรรม และยังเปิดให้ใช้เป็น Co-working Space โดยมีผู้หลงเสน่ห์นวัตกรรมเข้ามาใช้พื้นที่ได้ฟรีแล้วมากกว่า 50,000 คน  จนพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นชุมชน Smart Intelligence Community บ่มเพาะนักนวัตกร Startups สัญชาติไทยได้กว่า 180 ทีม อาทิ Baiya Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID, Tann D, VIA BUS เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความหวังใหม่ให้ประเทศไทยได้ใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค Digital Disruption โดยมีมูลค่าตลาดขณะนี้รวมมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ยังประโยชน์ไปสู่คนไทยมากกว่า […]

Banner 137 03

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร อีกทั้งยังบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้อีกหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น  จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน อาทิ นิทรรศการ “กายวิจิตร” นำเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับการนำเสนอด้านศิลปกรรมศาสตร์, นิทรรศการ “อนันตกาล” (FOREVER) กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและคติความเชื่อทางศาสนา, นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข : Rest In Progress ผู้สร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ ผู้เป็นกำลังใจของผู้สูงวัย […]

Banner 130 04

เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาราวาน Smart Mobility

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY  ผลงานนวัตกรรมยานยนต์ในกลุ่ม Smart  Mobility มียานยนต์รองรับการสัญจรที่น่าจับตามองชวนให้ลองใช้อยู่ถึง 5 ผลงาน ได้แก่  1) รถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Pop Bus) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า สานต่อแนวคิดลดมลภาวะตามโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ รวมไปถึงชุมชนรอบข้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย […]

3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

4E1AB53F F6BE 427A A983 9434DB949C43

กรมศิลป์ไม่รับสกาล่าเป็นโบราณสถาน

หลังจากที่สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ได้ส่งหนังสือต่อกระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากร เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้การคุ้มครองอาคารโรงภาพยนตร์สกาลาในฐานะ ‘โบราณสถาน’ โดยมีความกังวลว่าอาจถูกสั่งรื้อถอนอาคารได้ หลังจากที่โรงภาพยนตร์สกาลาได้ปิดม่านลงอย่างถาวรไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ล่าสุด กรมศิลปากรที่ได้รับมอบหมายจากจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ตรวจสอบและพิจารณา สรุปว่า กรมศิลปากรไม่รับขึ้นทะเบียนโรงภาพยนตร์สกาลาเป็นโบราณสถาน เนื่องจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโรงภาพยนตร์สกาลาถือเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะภายนอกและโครงสร้างหลักของอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมแบบ Art Deco ที่เน้นการใช้รูปทรงเรขาคณิตมาผสมผสาน โดยอ้างอิงจากนิยามคำว่าโบราณสถานตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) ระบุไว้ว่า โบราณสถานหมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยอายุหรือลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ดังนั้นในประเด็นความสำคัญด้านอายุ หลักฐานเกี่ยวกับประวัติ และลักษณะแห่งการก่อสร้าง พบว่า โรงภาพยนตร์สกาลาไม่มีความสำคัญทางด้านอายุและประวัติการก่อสร้าง แม้ลักษณะแห่งการก่อสร้างอาจมีประโยชน์ทางศิลปะ โรงภาพยนตร์สกาลาจึงยังไม่ถือว่าเป็นโบราณสถาน ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจที่กรมศิลปากรจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) โรงภาพยนตร์สกาลาถือเป็นโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนที่อยู่คู่สยามสแควร์มากว่า […]

35AE07FB BA33 4A86 AEEA 6AD1147B129C

‘PMCU’ เดินหน้าแผนย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองไปยังอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ สืบสานศรัทธา อยู่คู่ชุมชน

วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม 202 สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้เชิญทายาทโดยธรรมของคุณประจวบ พลอยสีสวย และครอบครัว ผู้ดูแลองค์เจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง และเป็นผู้เช่าที่ดินตั้งอาคารศาลเจ้า ชี้แจงมติกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และหารือแผนย้ายศาลไปพื้นที่แห่งใหม่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ย้อนไปเมื่อปี 2523 คุณประจวบ พลอยสีสวย ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตั้งอาคารศาลเจ้าแม่ทับทิม กับ PMCU ในนามบุคคลต่อเนื่องมา 20 ฉบับ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 35 ปี ล่าสุดสัญญาได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และยังอยู่ในระหว่างการเจรจาย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมอยู่นั้น นายวรพงศ์ สุขธีรอนันตชัย ผู้อำนวยการ PMCU ได้เชิญทายาทโดยธรรมของ คุณประจวบ พลอยสีสวย และครอบครัว มาชี้แจงมติการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ […]

222498C1 B6A0 4BDD 8822 29ACFE9F1098

ดับฝัน !​ “สงขลา​มรดกโลก”​ กองทัพเรือ​ตั้งสถานีเรดาร์​เขตโบราณสถาน​เขาแดง​

วานนี้ (3​ พฤษภาคม​ 2563)​ “ครูสืบ”​ นายสืบสกุล​ ศรีสุข​ ผู้อำนวยการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม​ โพตส์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า​ ครูสืบขออนุญาตโพสต์เรื่องสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานที่เป็นหัวใจเมืองสงขลา ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนที่สูงที่สุด และเป็นจุดชมเมืองสงขลาเมืองสองทะเลที่สวยที่สุดของเมืองสงขลา และอาจทำให้พี่น้องทหารเรือได้ทราบเรื่องราวของความสำคัญที่จุดหัวใจเมืองสงขลาตรงนี้​ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจ ที่จะไปสร้างฐานและจอเรดาร์ (ตามหนังสือที่ทางเจ้ากรมทหารเรือได้ของพื้นที่) ที่อยู่ห่างจากเจดีย์ประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติไทย คือ​ เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว และเป็นจุดหลอมรวมของสามวัฒนธรรม ที่สวยงามที่สุดของเมืองสงขลาเมืองพหุวัฒนธรรม เพราะฐานเจดีย์คือป้อมปืนหมายเลข 10 ของเมืองสงขลาเป็นเรื่องราวของพี่น้องมุสลิมที่สร้างโดยสุลต่านสุลัยมันผู้เป็นเจ้าเมืองเมื่อกว่า 400 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว เป็นเรื่องราวของพี่น้องพุทธ ที่สร้างโดยเจ้าพระยาคลัง และเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และตรงกลางเจดีย์ มีอาคารเก๋งจีน เป็นเรื่องราวของพี่น้องจีน ที่สร้างโดยเจ้าเมืองสงขลาในช่วงเวลาที่พี่น้องจีนเป็นเจ้าเมือง จึงถือเป็นจุดที่สำคัญ เป็นหนึ่งพื้นที่หลักในการนำสงขลาไปขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เพราะถ้าสงขลาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ก็จะเป็นการเชื่อมให้ผู้คนที่มาเที่ยวเมืองมรดกโลกที่ปีนังประเทศมาเลเซีย ที่มีมากถึงปีละไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน​ ได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย มาสู่สงขลา​ แล้วสงขลาก็จะเป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวของจังหวัดชายแดนใต้ ภาคใต้ชายแดนของเราก็จะได้รับการพัฒนาได้รวดเร็วและมากขึ้นในทุกมิติ​ นั่นคือฝันไกลของสงขลา แต่การที่ทางทหารเรือได้มีโครงการที่จะไปสร้างสิ่งแปลกปลอมบนพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน คือ​ “ฐานและจอเรด้าร์”​ ที่เป็นหน่วยงานของความมั่นคง​ คือการดับฝันโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ที่ถึงเวลานี้ทางยูเนสโก้ได้มีเอกสารส่งมายังจังหวัดสงขลาว่าทางยูเนสโกจะส่งบุคลากรมาช่วยดูแหล่งประวัติศาสตร์ […]

30

VOLVO ประกาศ ปี2040 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0

วอลโว่ คาร์ ประกาศแผนการดำเนินงานครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2025 ถือเป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของวอลโว่ เพื่อเป็นบริษัทที่ี่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Climate-Neutral Company) ภายในปี ค.ศ. 2040 แผนครั้งนี้ระบุถึงการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงร่วมกับปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Level) เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ของวอลโว่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่วอลโว่มีความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าของโลก หากแผนการดำเนินงานครั้งนี้ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในเครือข่ายการผลิต การดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน และผ่านการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 วอลโว่ คาร์ ได้เปลี่ยนมาใช้มาตรการที่ท้าทายอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในระหว่างปี ค.ศ. 2018 – 2025 ซึ่งในกรอบเวลานี้ บริษัทยังตั้งเป้าหมายให้เครือข่ายการผลิตทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน “เรากำลังเปลี่ยนแปลงบริษัทของเราด้วยแผนการดำเนินที่เป็นรูปธรรม มิใช่แค่คำมั่นสัญญา” มร. ฮาคาน ซามูเอลส์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร วอลโว่ คาร์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner