Banner 208

นายกฯ นำคณะรัฐมนตรี ร่วมเวที “Better Thailand”

19 พ.ค. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ของคนไทย “Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาประเทศให้ดีกว่าเดิม และนำไปสู่การผลักดันให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสำหรับโลกหลังโควิด-19 นายศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานว่า การจัดเสวนา“เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” ในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือระดับประเทศครั้งแรกในไทย ระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาคำตอบที่ชัดเจนในประเด็นหลัก 5 ส่วน สำหรับคนไทยทุกคน ได้แก่ 1) ภาพรวมของประเทศไทย 2) เศรษฐกิจ 3) สังคม 4) สิ่งแวดล้อม 5) คุณภาพชีวิต รวมกว่า 50 ประเด็น โดยมี 35 ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางของประเทศจากภาคการศึกษา […]

Banner 207

กระทรวงพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียผนึกกำลัง จุฬาฯ หนุนสตาร์ทอัพสร้างเศรษฐกิจใหม่โต 5 หมื่นล้านบาท ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา พาคนไทยหนีกับดักรายได้ปานกลาง

21 เม.ย.65 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน โดยการลงนาม MOU ในวันนี้เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความมุ่งหมายเดียวกันขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย” นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท […]

Banner 206

“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่

24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]

Banner 205

บ๊อช จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช อุปกรณ์สำคัญที่ยืนยันแนวความคิดของโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน กรุงเทพ –บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น บ๊อช […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

นน 01

จุฬาฯ หวั่น ‘หมันปะการังฉับพลัน’ เหตุช็อกน้ำมันรั่วลามเกาะเสม็ด

30 ม.ค.65 – เกาะติดสถานการณ์เหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลระยองเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ส่งคณะนักวิจัยลงสำรวจพื้นที่จุดเกิดเหตุกลางทะเลและชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด พบคราบน้ำมันกระจายตัวเป็นวงกว้าง มุ่งหน้าขึ้นชายฝั่งหาดบ้านเพและหมู่เกาะเสม็ด แหล่งปะการังน้ำตื้นที่สำคัญของอ่าวไทย หวั่นซ้ำรอยเหตุท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลรั่วไหลครั้งใหญ่ในอ่าวไทย เมื่อปี 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่อ่าวไทย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและใต้ท้องทะเลไทยของเราอย่างหนัก เราพบปะการังฟอกขาวทั่วบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะเสม็ดที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานนับสิบปี ทำให้เราต้องเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากน้ำมันดิบที่อาจรั่วไหลกระทบต่อวงจรชีวิตของปะการังในอ่าวไทย จนพบสาเหตุที่ทำให้ปะการังตาย มาจากคราบน้ำมันดิบที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงถึงปะการังใต้ทะเลจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และที่มากไปกว่านั้น น้ำมันดิบยังอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังอีกด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘หมันปะการังฉับพลัน’ ทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด” ต้องจับตาดูความหนาแน่นและการกระจายตัวของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในครั้งนี้ว่าจะกินวงกว้างลุกลามถึงแนวปะการังสำคัญบนพื้นที่ทางทะเลกว่า 800 ไร่ บริเวณอ่าวพร้าว อ่าวลูกโยน อ่าวลุงดำ และอ่าวกิ่ว ของหมู่เกาะเสม็ดว่าจะส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศทางทะลรุนแรงมากน้อยเพียงใด

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

778F97D4 3B39 4C15 BF86 D969C1F095A3

KYTA ฉลอง 60 ปี อุทยาน ‘เขาใหญ่’ พ่วง 17 ปี มรดกโลก ‘ดงพญาเย็น’

สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่เปิดตัวตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ 17 ปี แห่งการเป็นมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น โดยองค์การยูเนสโก เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันครบรอบ 60 ปี กิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี โดยนำแนวคิดมาจากความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแรกในประเทศไทย และมีพื้นที่ป่าไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดนครนายก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อุทยานมรดกของอาเซียน” เนื่องจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญและเป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์รวมถึงสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้างป่า และ เสือโคร่ง ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะครบรอบ 60 ปีและครบรอบ 17 ปีที่กลุ่มป่าดงพญาเย็นได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่จะถึงนี้ […]

Banner 202

ติวเข้มอาสา ‘กล่องรอดตาย’ รับมือ ‘โอไมครอน’ ไทยหวั่นลามใต้ติดเชื้อเฉียดหมื่น

ศิษย์เก่าจุฬาฯ เรียกดรีมทีมสุมหัว ติวเข้มรับมือโควิดกลายพันธุ์ หวั่นภาคใต้ระบาดหนัก หมอวิชาญคาดเดือนหน้าติดเชื้อใหม่อาจแตะหมื่น สงขลา-เมืองคอนยังอ่วม ตรัง-พัทลุง-ปัตตานี-นราธิวาส เริ่มขยับขอรับกล่องรอดตายแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้จัดกิจกรรมถกถ้อยเสวนาในหัวข้อ “เตรียมรับมือโอไมครอน VS กู้วิกฤตโควิดภาคใต้” อัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าระลอกใหม่ทั่วโลก และแนวโน้มการแพร่ระบาดในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มอาสาสมัครกล่องรอดตายกว่า 200 คน พร้อมรับมือและร่วมสนับสนุนภารกิจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. และ นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมเป็นวิทยากรในงาน ช่วงต้นของการเสวนา นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาว่า “ในภาพรวมยังมีแนวโน้มคงที่ แต่ยังมิอาจวางใจได้ โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ยังมีจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร พัทลุง สตูล ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้หลายมาตรการเพื่อเร่งเยียวยาสถานการณ์ […]

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner