3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

922436DF E6FE 4EC1 BA48 AD57A97915B9

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ผนึกพลังสู้ PM2.5 พัฒนา Sensor for All ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ แอพพลิเคชันที่คิดค้นโดยคนไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุฝุ่นพิษ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย  วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแถลงข่าวและประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล […]

F92F82B1 E27F 4578 B405 BB2B562A8816

โรงไฟฟ้าจากขยะสุดล้ำ เป็นพื้นที่สาธารณะ เล่นกีฬา ปีนผา สกี ที่สีเขียวอยู่ในเดนมาร์ก

CopenHill เป็นโรงงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนขยะจากในเมืองมาเป็นความร้อนและพลังงาน แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโรงไฟฟ้าคือมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถให้ทุกคนมาใช้ได้ และการที่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้เปิดให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้นั้นไม่ปล่อยสารพิษออกมาจากปล่องควันเลย มีเพียงแค่ไอน้ำเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา โรงงานไฟฟ้า CopenHill ตั้งอยู่ในประเทศเดนมาร์ก เป็นผลงานการออกแบบโดย bjarke ingels group โดยนอกจากมันจะทำหน้าที่เป็นโรงงานไฟฟ้าและมันยังมีพื้นที่ให้เล่นกีฬาและเดินเล่นอีกด้วย แถมมันยังเป็นที่ปีนผาที่สูงที่สุดในโลกอีกต่างหาก สำหรับสายลุยชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งหากเดินทางมาที่นี่ก็จะได้เล่นทั้งเวคบอร์ด โกคาร์ท สกี เดินป่า และปีนผาเลยทีเดียว หรือถ้าหากมาเป็นสายชิล ชอบกินลมชมวิวก็สามารถมาเพลิดเพลินได้ที่นี่เช่นกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ราบสูงซึ่งสูงที่สุดในเมือง และมีเส้นทางที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเลยทีเดียวแหละ หลังคาสีเขียวขนาดยักษืนี้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์หลากหลายมากทั้งช่วยดูดซับความร้อน ช่วยลดฝุ่นละออง และช่วยลดการไหลแรงของน้ำด้วย ในส่วนของการผลิตพลังงานจากขยะของโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ในแต่ละวันพวกเขาจะได้รับขยะประมาณ 250-350 รถบรรทุก ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำมารวบรวมในหลุมเพื่อรอนำเข้าเตาเผา ซึ่งในกระบวนการเผานี้จะได้เป็นพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำเดือด และไอน้ำที่ได้จากน้ำเหล่านี้ก็จะไปทำให้กังหันทำงาน ซึ่งในกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องเกิดสารพิษ แต่โรงงานแห่งนี้นั้นมีระบบภายในที่จะไม่ปล่อยสารพิษออกสู่แวดล้อมภายนอกเลย .นับว่าเป็นไอเดียที่บรรเจิดมากเพราะนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ไม่ก่อมลพิษให้แก่โลก แล้วยังสามารถสร้างพื้นที่สาธาณะให้ผู้คนออกมาใช้งานได้ร่วมกันอีกด้วย ที่มา : https://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.youtube.com/watch?v=pOqocj2h6EMhttps://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.copenhill.dk/enhttps://www.facebook.com/environman.th/posts/3166178603510565

2CCD78B5 AFB5 4F5E 9FF2 5923DE954981

สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช

ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่  จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก  The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]

72E0DC15 AA1A 41D7 912E 2DAA9B70A923

ปตท. ประกาศจับมือ Plug and Play ก้าวสำคัญขององค์กรไทยในวันที่สตาร์ทอัพเบ่งบาน

หากเราย้อนมองไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองอย่างที่สุดของกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายนวัตกรรมจากองค์กรขนาดเล็ก แต่ศักยภาพไม่ธรรมดาเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมไปถึงการเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของผู้คนสะดวกยิ่งขึ้นกว่ายุคไหนๆ กลายเป็นรูปแบบการเติบโตของธุรกิจที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ อย่างในบ้านเรา ก็มีการขยับตัวครั้งสำคัญ ที่นำโดยกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง “ปตท.” ที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ “Plug and Play” บริษัทผู้พัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลกจาก Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ทั้ง PayPal, Dropbox และ Lending Club พร้อมวางเป้าหมายในการพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยตามแนวคิด PTT หรือ “Powering Thailand’s Transformation” ความน่าสนใจของการร่วมมือครั้งนี้อยู่ตรงที่ บริษัทของไทยจะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือและใหญ่โตที่สุดของโลกอย่าง Plug and Play ซึ่งมีประสบการณ์ดูแลสตาร์ทอัพด้วยระบบ Ecosystem ที่แข็งแกร่ง และถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน ด้วยการให้บริการที่รอบด้าน ได้แก่ Accelerator Program กับสตาร์ทอัพกว่าปีละ 50 ครั้ง ผ่านสาขาที่ตั้งอยู่ใน 32 เมืองทั่วโลก Plug and […]

DE520808 031A 401D 99AC 3AFE023FEDDE

ถอดบทเรียนเฉิงตู Green Corridor ดักฝุ่น กรองมลพิษ ให้วิภาวดี

สร้างความฮือฮา กระตุกต่อมอิจฉาให้คนอื่นได้ตลอด สำหรับพี่ใหญ่ของเอเชียอย่างจีน ที่ล่าสุดเปิดตัว Green Corridor โครงการนำไม้เลื้อยมาปลูกตามแนวเสาทางด่วน เพื่อช่วยดักจับฝุ่น กรองมลพิษทางอากาศในเมืองเฉิงตู ที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ยังสร้างบรรยากาศร่มรื่นสบายตาให้กับผู้คนในเมืองได้อีกด้วย ตัดภาพมาที่กรุงเทพมหานคร เมืองน่าเที่ยวอีกแห่งของโลก เมืองหลวงที่เป็นหน้าเป็นตาของคนทั้งประเทศ แหล่งปากท้องของคนไทย ศูนย์รวมความศิวิไลซ์ของชาติ กับภาพโทลเวย์วิภาวดี ที่คุ้นชินด้วยคราบเขม่าสีดำเมื่อมใต้สะพาน ที่ไม่เคยผ่านการล้างทำความสะอาดเลย! ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ภาพเสาทางด่วนสีเขียวด้วยเถาไม้เลื้อยของเมืองเฉินตู ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า หากกรุงเทพฯถอดบทเรียนโครงการ Green Corridor มาประทับลงบนเสาทางด่วนเก่าคร่ำครึบนโทลเวย์วิภาวดี ภาพลักษณ์ของกรุงเทพฯ คงสบายหูสบายตาขึ้นอีกไม่น้อย ที่สำคัญปัญหาฝุ่นละอองที่เป็นหอกข้างแคร่คู่คนกรุงเทพฯ มาโดยตลอดคงได้รับการเยียวยาบ้างไม่มากก็น้อย…..ให้กันได้ไหม โทลเวย์ในฝันของคนเมือง. ที่มาภาพ https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1755753 https://th.wikipedia.org

Banner 173.3

พลิกตำราต่อลมหายใจให้ธุรกิจร้านอาหาร

ขึ้นชื่อเป็นร้านอาหารไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะเป็นร้านข้างทางหรือภัตตาคารขึ้นเหลาหรูหรา ก่อนหน้านี้ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กันถ้วนหน้า ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เปิดเผยบทวิจัยเรื่อง “การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่” ซึ่งคาดการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะหดตัวประมาณ 9.7% – 10.6% จากปีก่อน โดยมีมูลค่าเหลือเพียง 3.85 – 3.89 แสนล้านบาท ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่การประเมินนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ครอบคลุมเฉพาะการระบาดระลอกแรกและต้องไม่เกิด “Wave 2” ในช่วงที่เหลือของครึ่งปี 2563 นี้ ทุกวันนี้ แม้เมืองจะกลับมาเปิดแล้ว แต่บรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารยังต้องเจอกับโจทย์ท้าทายมากมายในยุค New Normal เพื่อกำหนดและสร้างมาตรฐานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดที่ยังต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ซ้ำร้ายยังมีเรื่องภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวเข้ามาปัจจัยภายนอกซ้ำเติมสถานการณ์ดำดิ่งลงไปอีก ปลุกให้ทั้งเจ้าของกิจการและผู้บริโภคต้องคิดหนัก จับจ่ายใช้สอยกันอย่างรัดกุมมากขึ้น หันมาดูธุรกิจร้านอาหารที่พึ่งพาลูกค้าชาวต่างชาติที่ตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวตามหัวเมืองใหญ่ยังคงฟุบยาว เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ แม้จะขายผ้าเอาหน้ารอดด้วยการปลุกกระแสไทยเที่ยวไทยให้คึกคักขึ้นมาอย่างไร ก็เป็นเพียงการขัดตาทัพให้พอมีกระแสเงินสดไหลเข้ามาพอประคองธุรกิจไปได้บ้างแต่ยังมิอาจทดแทนส่วนที่ขาดหายไปได้ การปรับตัวรับ New Normal ย่อมส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ รวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่ผู้ประกอบการต้องใส่ลงมามากน้อยแตกต่างกันไป เพื่อให้เกิด Trust Economy มั่นใจได้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ยิ่งในช่วงฟื้นฟูหลังผ่านพ้นวิกฤติยกแรกธุรกิจร้านอาหารที่อยู่ใกล้ชิดกับปากท้องคนไทย ต้องริเริ่ม เติมเต็มชีวิตวิถีใหม่กันอย่างไร […]

E5A834C3 AA47 4DBF 9F24 60F32F37ADD3

6 Contactless เทคโนโลยีจาก KBTG กับการก้าวสู่ธนาคารแห่งอนาคต

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกนั้นได้เร่งให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนเข้าสู่สิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘ความปกติใหม่’หรือ ‘New Normal’ ที่ทุกคนนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาดและการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้นที่ถูกเร่งโดยการแพร่ระบาดทั่วโลกครั้งนี้ แต่ยังรวมถึงการเร่งให้โลกของเรานั้นต้องก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในยุค New Normal นี้ ‘เทคโนโลยี’ จะเข้ามามีบทบางอย่างมากในการช่วยให้ผู้คนนั้นใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น ทาง KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมทางการเงินได้ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือสังคมในการสรรสร้าง 6 Contactless Technology เทคโนโลยีไร้สัมผัส ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุค New Normal มากขึ้น คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ได้เผยว่า COVID-19 นั้นได้เป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งพฤติกรรมของคนอย่างมหาศาล เห็นได้ชัดจากจำนวนผู้ใช้ KPLUS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน โดยยอดธุรกรรมทางเงินนั้นเพิ่มขึ้นถึง 68% YoY หรือจาก 165 ล้านเพิ่มขึ้นเป็น 277 ล้าน รวมถึงยอด K-Payment ในประเภท E-Commerce ที่มีการเติบโตถึง 128% YoY ซึ่งโดยปกติแล้วการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นจะใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ในตอนนี้มันใช้เวลาแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าคนนั้นหันมาปรับเปลี่ยนสู่การใช้ Contactless […]

87B5402F 65F7 49B3 A56A E729FD7CF0CD

Multi-Brand Stores แหล่งช้อปออฟไลน์ของแบรนด์สินค้าออนไลน์ยอดฮิต กับ ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องปรับตัว

คนไทยถูกยกให้เป็นนักช้อปตัวยงอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยทักษะการช้อปเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ยิ่งหลายปีมานี้ที่ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างมาก ยิ่งเอื้อให้พฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านโลกโซเซียลทั้งเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จนเกิดเป็น Social Commerce ขึ้น โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งก็คือสินค้าแฟชั่นนั่นเอง ขณะเดียวกันการช้อปปิ้งของคนไทยไม่หยุดแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น หลายคนยังพิสมัยที่จะซื้อแบรนด์ออนไลน์ดัง ๆ ใน Offline Stores จนเกิดเทรนด์ Multi-Brand Stores ร้านค้าที่รวบรวมสินค้าแบรนด์ชื่อดังในโลกโซเชียลหลากหลายแบรนด์มาไว้ด้วยกันในร้านเดียว หากเปรียบแล้ว Multi-Brand Stores ก็คล้ายกับห้างสรรพสินค้าขนาดย่อมที่มีสินค้าหลากไอเท็มครบครัน ตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ นับเป็นศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นที่เปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ขายในโลกออนไลน์สามารถนำสินค้ามาวางขายบนชั้นแบบออฟไลน์นั่นเอง ที่มาของร้านค้าในรูปแบบ Multi-Brand Stores แห่งแรกเกิดขึ้นในประเทศแห่งแฟชั่นชั้นนำระดับโลกอย่างฝรั่งเศส เมื่อปี 1997 คือร้าน Collette ส่วนฝั่งเอเชียนั้นคือร้าน ALAND ในเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทย Multi-Brand Stores ร้านแรกเกิดในปี 2013 คือร้าน Wonder Room ต่อมาเมื่อธุรกิจ Multi-Brand Stores บ้านเราเติบโตอย่างก้าวกระโดด […]

06CD034B 4C78 4FA3 8719 10FE3D7DEB5C

E-Marketplace ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องเรียนรู้ไม่มีวันจบ

วันนี้ที่โลกปกคลุมด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจรูปแบบใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ต่างผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ E-Marketplace ที่มาในรูปแบบเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชัน โดย E-Marketplace ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในโลกดิจิทัล เป็นตลาดกลางที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้หากันจนเจอในชั่วพริบตา ผู้ซื้อสามารถมาจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวก ส่วนผู้ขายก็ขายของกันได้สบาย และง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส จัดสินค้าตามคุณสมบัติเข้าหมวดหมู่ให้ระบุอยู่ใน E-Marketplace ที่กำหนดไว้ ก็ขยับเข้าใกล้ความรวยได้ไม่ยาก ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด หลายค่ายเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วโลก เช่น Amazon Marketplace, Lazada, Shopee หรือจะเป็นอีมาร์เก็ตเพลสลูกครึ่งไทย-จีนอย่าง JD Central และมาร์เก็ตเพลสสัญชาติไทยแท้อย่าง Fastwork ข้อมูลจาก Positioningmag.com ระบุว่าในปี 2019 พฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 มีสัดส่วนถึง 90% คือ เสิร์ชหาสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด E-Commerce เติบโต จึงไม่ต้องแปลกใจที่ถนนทุกสายจะมุ่งสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ แต่เมื่อโลกถูกโควิด-19 เข้า disrupt […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner