Banner 207

กระทรวงพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียผนึกกำลัง จุฬาฯ หนุนสตาร์ทอัพสร้างเศรษฐกิจใหม่โต 5 หมื่นล้านบาท ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา พาคนไทยหนีกับดักรายได้ปานกลาง

21 เม.ย.65 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน โดยการลงนาม MOU ในวันนี้เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความมุ่งหมายเดียวกันขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย” นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท […]

Banner 206

“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่

24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]

Banner 205

บ๊อช จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช อุปกรณ์สำคัญที่ยืนยันแนวความคิดของโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน กรุงเทพ –บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น บ๊อช […]

นน 01

จุฬาฯ หวั่น ‘หมันปะการังฉับพลัน’ เหตุช็อกน้ำมันรั่วลามเกาะเสม็ด

30 ม.ค.65 – เกาะติดสถานการณ์เหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลระยองเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ส่งคณะนักวิจัยลงสำรวจพื้นที่จุดเกิดเหตุกลางทะเลและชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด พบคราบน้ำมันกระจายตัวเป็นวงกว้าง มุ่งหน้าขึ้นชายฝั่งหาดบ้านเพและหมู่เกาะเสม็ด แหล่งปะการังน้ำตื้นที่สำคัญของอ่าวไทย หวั่นซ้ำรอยเหตุท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลรั่วไหลครั้งใหญ่ในอ่าวไทย เมื่อปี 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่อ่าวไทย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและใต้ท้องทะเลไทยของเราอย่างหนัก เราพบปะการังฟอกขาวทั่วบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะเสม็ดที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานนับสิบปี ทำให้เราต้องเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากน้ำมันดิบที่อาจรั่วไหลกระทบต่อวงจรชีวิตของปะการังในอ่าวไทย จนพบสาเหตุที่ทำให้ปะการังตาย มาจากคราบน้ำมันดิบที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงถึงปะการังใต้ทะเลจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และที่มากไปกว่านั้น น้ำมันดิบยังอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังอีกด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘หมันปะการังฉับพลัน’ ทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด” ต้องจับตาดูความหนาแน่นและการกระจายตัวของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในครั้งนี้ว่าจะกินวงกว้างลุกลามถึงแนวปะการังสำคัญบนพื้นที่ทางทะเลกว่า 800 ไร่ บริเวณอ่าวพร้าว อ่าวลูกโยน อ่าวลุงดำ และอ่าวกิ่ว ของหมู่เกาะเสม็ดว่าจะส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศทางทะลรุนแรงมากน้อยเพียงใด

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

778F97D4 3B39 4C15 BF86 D969C1F095A3

KYTA ฉลอง 60 ปี อุทยาน ‘เขาใหญ่’ พ่วง 17 ปี มรดกโลก ‘ดงพญาเย็น’

สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่เปิดตัวตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ 17 ปี แห่งการเป็นมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น โดยองค์การยูเนสโก เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันครบรอบ 60 ปี กิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี โดยนำแนวคิดมาจากความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแรกในประเทศไทย และมีพื้นที่ป่าไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดนครนายก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อุทยานมรดกของอาเซียน” เนื่องจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญและเป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์รวมถึงสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้างป่า และ เสือโคร่ง ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะครบรอบ 60 ปีและครบรอบ 17 ปีที่กลุ่มป่าดงพญาเย็นได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่จะถึงนี้ […]

Banner 202

ติวเข้มอาสา ‘กล่องรอดตาย’ รับมือ ‘โอไมครอน’ ไทยหวั่นลามใต้ติดเชื้อเฉียดหมื่น

ศิษย์เก่าจุฬาฯ เรียกดรีมทีมสุมหัว ติวเข้มรับมือโควิดกลายพันธุ์ หวั่นภาคใต้ระบาดหนัก หมอวิชาญคาดเดือนหน้าติดเชื้อใหม่อาจแตะหมื่น สงขลา-เมืองคอนยังอ่วม ตรัง-พัทลุง-ปัตตานี-นราธิวาส เริ่มขยับขอรับกล่องรอดตายแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้จัดกิจกรรมถกถ้อยเสวนาในหัวข้อ “เตรียมรับมือโอไมครอน VS กู้วิกฤตโควิดภาคใต้” อัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าระลอกใหม่ทั่วโลก และแนวโน้มการแพร่ระบาดในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มอาสาสมัครกล่องรอดตายกว่า 200 คน พร้อมรับมือและร่วมสนับสนุนภารกิจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. และ นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมเป็นวิทยากรในงาน ช่วงต้นของการเสวนา นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาว่า “ในภาพรวมยังมีแนวโน้มคงที่ แต่ยังมิอาจวางใจได้ โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ยังมีจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร พัทลุง สตูล ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้หลายมาตรการเพื่อเร่งเยียวยาสถานการณ์ […]

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Banner 200

กพร. หนุนจุฬาฯ ส่ง “กล่องรอดตาย” ชิงรางวัลระดับโลก “United Nations Public Service Awards 2022”

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สนับสนุนโครงการ “กล่องรอดตาย” นวัตกรรมบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ดูแลผู้ป่วย Home Isolation โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เป็นตัวแทนประเทศไทย ชิงรางวัล “United Nations Public Service Awards 2022” โดยจะเข้ารับการประเมินในสาขา “องค์กรที่ยืดหยุ่น ปรับตัว และตอบสนองเชิงนวัตกรรมต่อการระบาดของ COVID-19” (Institutional resilience and innovative responses to the COVID-19 pandemic) โดยจะพิจารณาจากผลงานการเพิ่มมาตรการคุ้มครองทางสังคมด้วยบริการที่สร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อสังคม และครอบคลุมทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับวิกฤตปัจจุบัน และจะประกาศผลให้ทราบอย่างเป็นทางการวันที่ 23 มิ.ย. ศกหน้า ในวัน UN Public Service Day รางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) เป็นรางวัลขององค์การสหประชาชาติที่มอบให้แก่หน่วยงานด้านการให้บริการสาธารณะของประเทศสมาชิกท่ีมีผลงานโดดเด่น […]

Banner 199ai 1

บิ๊กวิศวะ จุฬาฯ ตบเท้าเข็น ศก.ไทย แนะเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุก New S-Curve

บิ๊กภาครัฐและเอกชนไทย ศิษย์เก่าวิศวะ จุฬาฯ ชี้แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตโควิด-19 แนะต่อยอดจุดแข็งภาคบริการ พร้อมกระโดดเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กระทุ้งเอกชนรายใหญ่ช่วยอุ้ม SMEs เดินหน้าต่อไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน INTANIA DINNER TALK “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” ณ โรงแรมดิแอทธินี เปิดเวทีให้ผู้บริหารองค์กรชั้นนำของเมืองไทยแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก พร้อมมองอนาคตภาคพลังงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และศักยภาพตลาดหุ้นไทย ภายในงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานในพิธีและองค์ปาฐก กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ รวมถึงโครงข่ายดิจิทัล สร้างระบบ Ecosystem  ที่ส่งเสริมการทำธุรกิจของคนไทย พร้อมดึงดูดคนต่างชาติให้ย้ายถิ่นฐานมาประเทศไทยและเข้ามาลงทุน ซึ่งเชื่อว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมาก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มองว่าทุกวิกฤตมีโอกาสอยู่เสมอ และตอนนี้หลายคนได้คว้าโอกาสได้แล้ว มีการวางรากฐานธุรกิจเพื่อเดินหน้าต่อ แต่ก็ยังเหลือกลุ่มคนที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ที่มีศักยภาพดีดูแลช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ด้วย เพราะไม่ต้องการให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ขณะเดียวกัน ในการเสวนาหัวข้อ “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner