เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 22 ก.พ. 64
วันนี้ (22 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 89 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,504 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,060 ราย หายแล้วจำนวน 24,361 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 76 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ อวดนวัตกรรม ชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง” จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 18 ก.พ. 64
วันนี้ (18 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 150 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,111 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,083 ราย หายแล้วจำนวน 23,946 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 249 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 82 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 17 ก.พ. 64
วันที่ 17 ก.พ. 64 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 175 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 24,961 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,182 ราย หายแล้วจำนวน 23,697 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 134 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 82 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 16 ก.พ. 64
วันนี้ (16 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 72 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 24,786 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,141 ราย หายแล้วจำนวน 23,563 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 680 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 82 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 15 ก.พ. 64
วันนี้ (15 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 143 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 24,714 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,749 ราย หายแล้วจำนวน 22,883 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 772 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 2 คน โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 82 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 13 ก.พ. 64
วันนี้ (13 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 126 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 24,405 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 3,145 ราย หายแล้วจำนวน 21,180 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 970 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 80 คน ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ฟื้นลุ่มน้ำน่านด้วยสหศาสตร์จุฬาฯ
จังหวัดน่านกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนสารเคมีในธรรมชาติ โดยมีการขยายตัวของทั้งเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวไปยังผืนป่าและการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาลในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำได้นำไปสู่การใช้สารเคมีในปริมาณมาก จากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2551 พบการใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 1,172.7 ตันต่อปี โดยสารฆ่าวัชพืชนั้นอยู่ในอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 92.04 แม้ว่าสารฆ่าวัชพืชจะสามารถสลายตัวไปได้เองตามธรรมชาติ หากบางส่วนยังคงหลงเหลือตกค้างเพราะมีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 10 ปี ส่งผลให้ศักยภาพของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดลงจนเกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวทั้งปัญหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หน้าดินถูกกัดเซาะพังทลาย อุทกภัยที่อาจชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่ลำน้ำ สารพิษตกค้างในสัตว์น้ำที่ชุมชนนิยมนำไปบริโภค เช่น ปูนา กบหนอง หอยกาบน้ำจืด และปลากระมัง กระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมาเป็นลำดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จึงได้จัดทำโครงการวิทยาเพื่อพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการตามแผนพัฒนาวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อวิจัยและพัฒนาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในลุ่มน้ำน่านแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดน่านมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 สร้างความเสียหายรุนแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน เกิดการชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำอย่างกว้างขวางจนอาจสร้างผลกระทบกับทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ คณะวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตะกอนดิน พื้นดิน รวมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ “ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ในโครงการพระราชดำริของพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน โดยอาศัยแผนที่ลุ่มน้ำน่านในระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาจากแหล่งต้นน้ำจนถึงเขื่อนสิริกิติ์ในพื้นที่ 15 […]
อนุรักษ์ปลากระเบนเจ้าพระยา อนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
ปลากระเบนเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) เป็นสัตว์น้ำจืดที่มีถิ่นอาศัยในแถบลุ่มน้ำแม่กลองที่ไหลผ่าน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี โดยเฉพาะในแหล่งน้ำสะอาดจะสามารถพบเห็นปลากระเบนเจ้าพระยาได้บ่อยครั้ง ซึ่งกลุ่มนักวิชาการต่างยกให้ปลากระเบนน้ำจืดสายพันธุ์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ (Indicator Species) ความไม่สมดุลของระบบนิเวศน้ำจืดด้วยคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ที่มีความไวต่อสารพิษและสภาพการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งสารพิษตัวร้ายที่เป็นศัตรูกับกระเบนเจ้าพระยาไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนีย (Ammonia, NH3) และไนไตรท์ (Nitrite, NO2–) ที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำล้วนเป็นเหตุให้ปลากระเบนเจ้าพระยาอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) ตามประกาศของ The IUCN Red list of threatened Species (International Union for The Conservation of Nature, IUCN) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งมีพันธกิจหนึ่งที่มุ่งพัฒนา บุกเบิก ค้นคว้า […]