Banner 140 03

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ จากองค์ความรู้ “วิทยาศาสตร์ทางทะเล” สู่การพัฒนา “แสมสารโมเดล” “แสมสารโมเดล” หรือ แสมสารไร้ขยะ เป็นหนึ่งในโครงการท้องทะเลไทยไร้ขยะ ภายใต้ “โครงการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของชุมชนในการลดและแยกขยะเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลพื้นที่แสมสาร” ดำเนินงานโดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาและวิจัยผลกระทบของขยะทะเลและไมโครพลาสติกที่มีผลต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ในพื้นที่นำร่องชุมชนแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากความร่วมมือในระดับท้องถิ่นนำโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร  กองทัพเรือสัตหีบ และประชาชนในพื้นที่ ได้กำหนดแนวทางการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกอนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกับชุมชน พร้อมถ่ายทอดความรู้เรื่องการลดและแยกขยะให้กับชุมชนจนกลายเป็นนวัตกรรมทางสังคมผ่านการศึกษาวิจัยการมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึก และการสร้างชุมชนเข็มแข็ง โดยได้บูรณาการองค์ความรู้ “Chula Zero Waste” ที่ทดลองนำมาใช้จัดการปัญหาขยะภายพื้นที่จุฬาฯ จนสำเร็จแล้ว ขยายผลมายังชุมชนแสมสาร โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (The Japan International Cooperation Agency หรือ JICA) […]

Banner 137 01 1

จุฬาฯ สตาร์ทอัพรับมือโควิด ปั้นนวัตกรรมดูแลคนไทย

ปลายปี 2019 เมื่อโลกถูกเขย่าอย่างรุนแรงด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” ที่จวบจนทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา ปลุกให้หลายประเทศจำเป็นต้องลุกขึ้นมาออกมาตรการตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) รับมือกับโรคร้ายนี้เพื่อดูแลประชาชนคนในชาติของตนรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทั้งมาตรการปิดเมือง ล็อกดาวน์ประเทศ ปิดสนามบิน กำหนดสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ (State Quarantine & Local Quarantine) กำหนดเวลาเคอร์ฟิวเปิดปิดธุรกิจห้างร้าน รวมถึงมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลากหลายรูปแบบควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้มงวดและยืดหยุ่นระคนกันไปได้ผลดีมากน้อยแตกต่างกัน โดยหากเจาะลึกลงมาเฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทยที่ทั่วโลกต่างประสานเสียงชื่นชมคนไทยจนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Global COVID-19 Index (GCI) ยกให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ของการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งสำรวจจาก 184 ประเทศทั่วโลก และปัจจัยที่ทำให้ไทยก้าวมายืนหนึ่งเหนือคนทั้งโลกได้ในยามนี้ นอกจากความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนแล้ว คงเป็นนวัตกรรมจากกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ปวารณาตัวอาสาขอนำองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้บูรณาการให้สอดรับกับสถานการณ์เพื่อดูแลคนไทยอย่างสุดความสามารถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ในฐานะผู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่พร้อมยกระดับสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในช่วง 3-4 ปีไว้กว่า 180 ทีม จนมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท และสร้างกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ไว้อีกกว่า 2,000 ราย […]

Banner 138 01

หลงเสน่ห์นวัตกรรม Siam Innovation District เบื้องหลังความสำเร็จหมื่นล้านของสตาร์ทอัพไทย

กว่า 3 ขวบปีแล้วที่เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม “Siam Innovation District” (SID) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย CU Innovation Hub เปิดพื้นที่อุดมปัญญากว่า 1,000 ตารางเมตร ใจกลางเมืองหลวงย่านสยามสแควร์ให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาคนไทยให้เป็นที่รู้จักบนเวทีโลกผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะต่อยอดมากมายทั้งกิจกรรมเวิร์คชอป กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ นิทรรศการ และจัดแสดงตัวอย่างนวัตกรรมฝีมือคนไทย มากกว่าร้อยกิจกรรม และยังเปิดให้ใช้เป็น Co-working Space โดยมีผู้หลงเสน่ห์นวัตกรรมเข้ามาใช้พื้นที่ได้ฟรีแล้วมากกว่า 50,000 คน  จนพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นชุมชน Smart Intelligence Community บ่มเพาะนักนวัตกร Startups สัญชาติไทยได้กว่า 180 ทีม อาทิ Baiya Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID, Tann D, VIA BUS เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความหวังใหม่ให้ประเทศไทยได้ใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค Digital Disruption โดยมีมูลค่าตลาดขณะนี้รวมมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ยังประโยชน์ไปสู่คนไทยมากกว่า […]

Banner 137 02 1

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA ‘CU-Cov19’

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบขวบปี ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ บุคคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศ  หากแต่การระงับยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายนี้เพื่อเยียวยา และกู้สถานการณ์ให้คนบนโลกกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแข็งแรงยังจำเป็นต้องรอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้จริงได้ในเร็ววัน  ด้วยเหตุนี้ ภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกจึงได้ผนึกกำลังพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างหลากหลายไม่ใช่เพื่อช่วงชิงความเป็นที่หนึ่ง หากแต่เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ  ครั้งนี้เราได้เห็นการทำงานอย่างหนักของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในภารกิจระดับโลกเฉกเช่นที่เคย ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า “ ศูนย์ของเราทำงานภายใต้พันธกิจ ‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ ซึ่งก่อนหน้านี้เราทำงานมุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิด (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner