Banner 212

“กล่องรอดตาย” คว้า “คนดี ศรีจุฬาฯ” แห่งปี

30 พ.ค.66 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนจ.) เป็นผู้แทนรับรางวัล “คนดี ศรีจุฬาฯ” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565-2566 จากผลงาน “โครงการกล่องรอดตาย” เพื่อยกย่อง เป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรสายปฏิบัติการซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรางวัลประเภทกลุ่มบุคลากรยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ที่มอบให้กับการผนึกกำลังกันดูแลผู้ป่วยโควิด19 ของกลุ่มคณะทำงาน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)  สำนักบริหารกิจการนิสิต สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม เลขาธิการ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ​ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

Banner 195 0

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เริ่มฉีดทดสอบในคนแล้ว เล็งปรับสูตรวัคซีนดักทางโควิด

วันนี้ (29 ก.ย.64) ความคืบหน้าวัคซีนโควิดสัญชาติไทย “จุฬาฯ-ใบยา” วัคซีนความหวังของคนไทยรุดหน้าไปอย่างก้าวกระโดด ล่าสุด ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยกลางงานเสวนา Thailand COVID-19 Vaccine Forum 2021 จัดโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติว่า “สำหรับวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด protein subunit vaccine ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบในคลินิก ซึ่งเดือน ก.พ. ได้วัคซีนต้นแบบและทดสอบในสัตว์ทดลอง ทั้งความปลอดภัย ความสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการทดสอบหลังปรับเปลี่ยนสูตรวัคซีนให้อยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาได้นานอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นทดสอบความเป็นพิษ และความสามารถกระตุ้นภูมิระยะยาว โดยการทดสอบในลิงผลค่อนข้างดี ส่วนเรื่องการผลิตนั้น ได้มีการออกแบบโรงงานผลิตของใบยา โดยใช้เวลา 10 เดือน ขณะนี้ได้ผลิตรีลิสต์ตัวโปรดักส์ และสัปดาห์นี้วัคซีนได้ทดสอบในมนุษย์กลุ่มแรกแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาใน 4 คนแรก และวันพรุ่งนี้(30 ก.ย.) จะฉีดกลุ่มที่เหลือต่ออีก นอกจากนี้ […]

Banner 193

คนเมืองโอ่งเฮ หมอกำธรมาแล้ว! สนจ.ลุยกู้โควิดราชบุรี มั่นใจใช้โมเดล ‘กล่องรอดตาย’ ติดตามคนไข้ท้องถิ่นผ่าน LINE OA ได้ผลดีเกินคาด

8 ก.ย.64 หลังเข้ารับตำแหน่งใหม่อย่างเป็นทางการได้เพียง 1 วัน ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ มอบกล่องรอดตายและถุงยังชีพให้ผู้ป่วย Home Isolation และร่วมรับฟังผลสรุปการนำ “กล่องรอดตาย” และระบบติดตามอาการผู้ป่วย Home Isoloation ทางไกลผ่าน LINE Official Account “หอผู้ป่วยกล่องรอดตาย” มาใช้นำร่องในพื้นที่โดยมีแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และทีมอาสาสมัครกล่องรอดตายราชบุรี ร่วมประชุมด้วย นำโดย นายวศิณ หุ่นกลอย สารวัตรกำนันตำบลบ้านไร่ พญ.มุกรินทร์ เอี่ยมเมตตา แพทย์หัวหน้าทีมดูแลผู้ป่วยโควิด19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก และนางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ นางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผอ.รพ.สต.บ้านไร่ กล่าวว่า “กล่องรอดตายถือว่าได้เข้ามาเติมเต็มให้การทำงานในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น […]

Banner 192

ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์  โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน      โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]

Banner 190 1

“เตือนแล้วนะ! อย่าซื้อ Ivermectin มากินเอง”

ร่วม 2 ปีแล้วที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นวิกฤติการณ์ใหญ่ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มวลมนุษยชาติยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะเชื้อร้ายนี้ ทั้งคิดค้นวัคซีนเพื่อมาป้องกันและสรรหายาหลากชนิดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียชีวิตผู้ป่วย เราจึงได้เห็นความพยายามของหลายประเทศมุ่งใช้ทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ค้นคว้าวิจัยให้ได้วัคซีนและยา หรือนำยาที่เคยมีอยู่แล้วนำกลับมาศึกษาค้นคว้าใหม่ รวมถึงการเลือกใช้ยาที่ใช้ได้ผลดีในสัตว์มาใช้กับมนุษย์อย่าง “Ivermectin”  “Ivermectin” เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ โดยประโยชน์หลักของยาตัวนี้สามารถใช้กำจัดปรสิตได้ทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ สัตวแพทย์จะมีวิธีใช้ยานี้ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป อย่างการรักษาโรคติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ สัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุด ส่วนโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ไรในหู โรคติดเชื้อพยาธิตัวกลมและการกำจัดเห็บปรสิตของสัตว์บางชนิดอย่างสุนัขและแมวมักใช้ยาขนาดกลาง แต่ถ้าสัตว์เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกนั้นก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรทราบคือ Ivermectin เป็นยาที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้กับปศุสัตว์ในพวกสุกร โค กระบือ จึงมีความข้นสูงมาก การนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงจึงจัดเป็นการใช้แบบ extra-label use คือนำมาใช้นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตได้ขอขึ้นทะเบียนไว้นั่นเอง ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ลักษณะของยาที่ใช้กำจัดเห็บนั้นในบางยี่ห้อมีลักษณะหนืดข้นคล้ายน้ำมัน อาจทำให้สัตว์ที่ได้รับการฉีดยาที่ผิวหนังนั้นจะค่อนข้างแสบผิวมากโดยเฉพาะสุนัขนั้นอาจจะไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของยานี้คือเหมาะกับสุนัขที่ป้อนยายาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับยาหยดหลังนั้น อีกทั้งยังช่วยครอบคลุมการถ่ายพยาธิตัวกลม และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ ด้วยข้อแนะนำที่สำคัญคือกรณีใช้ยาเพื่อกำจัดเห็บนี้ควรจะใช้ในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจไม่ควรนำมาใช้ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีความไวต่อยานี้ เช่น พันธุ์คอลลี่ พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก และพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในสุนัขขนาดเล็ก […]

Banner 188

‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่

ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง”  ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้  เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]

THE SHARPENER Update Covid 02 2

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 1 ก.ย. 64

วันที่ 1 ก.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 14,802 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 1,190,668 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 166,922 ราย หายแล้วจำนวน 1,013,342 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 18,996 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 252 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 11,835 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Banner 177

“กล่องรอดตาย” เราจะอยู่กับคุณจนกว่าจะ “หาย” หรือ “ได้เตียง”

https://www.youtube.com/watch?v=0-TxvgTtkk4 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค มูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะไทย และภาคีเครือข่าย ขอชวนพี่น้องนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคยาและเวชภัณฑ์เพื่อจัดทำ “กล่องรอดตาย” (Survival Box) พร้อมระบบติดตามอาการสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทราบผลจากการตรวจเชิงรุกของรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน (Express Analysis Mobile Unit) เพื่อใช้ดูแลรักษาตนเองที่บ้านขณะรอเตียง โดยยาและเวชภัณฑ์ในกล่องรอดตาย​ 1 ชุด ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล ปรอทวัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อน📍สมทบทุนจัดทำกล่องรอดตาย กล่องละ 500 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner