เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง
ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต (life supporting system) ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ (ecosystem services) ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน อาทิ แหล่งกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บธาตุอาหาร ดักจับสารพิษ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ เป็นเส้นทางคมนาคม ตลอดจนเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ราว 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมพัฒนาและบุกรุกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกษตร การประมง การขยายตัวของเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขง ที่แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำเหลือแต่กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมและไม่ได้รับความใส่ใจอนุรักษ์และจัดการอย่างเป็นระบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบองค์รวมโดยร่วมลงนามในข้อตกลงก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The University Network for […]