Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

91183791 2470057629760931 8896917963597152256 o 01

เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ นวัตกรรมเพื่อสังคมจาก กฟผ. หนุนสู้ COVID-19

 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่อาจทราบได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะยุติเมื่อใด แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายนั้นคือการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าการสัมผัสเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ก็ช่วยให้เราขยับห่างไกลจากโรคมากขึ้นอีกนิดได้ กฟผ. จึงมีการผลิตเจลแอลกอฮอล์ในชื่อว่า “เจลอนามัย น้ำใจ กฟผ.” ซึ่งมีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคได้ โดยมีเป้าหมายผลิตเจลอนามัยฯ บรรจุขวดเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ชุมชนโดยรอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40,000 ขวด หวังกระตุ้นให้ทุก ๆ คน หมั่นดูแลใส่ใจในสุขภาพอนามัยของตนเอง ในการผลิตเจลอนามัยฯ นอกจากจะต้องมีการควบคุมตั้งแต่ส่วนผสมและกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานแล้ว กฟผ. ยังคำนึงถึงความต้องการที่จะนำไปใช้งานในช่วงเวลาของการระบาดของโรค ดังนั้น ขั้นตอนในการบรรจุอย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนการผลิต ซึ่งผู้ปฏิบัติงานฝ่ายโรงงานและอะไหล่ (อรอ.) ได้ระดมสมองร่วมกันคิดค้นออกแบบ และประดิษฐ์เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ โดยใช้เวลาเพียง 3 วันเท่านั้น […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner