6 Contactless เทคโนโลยีจาก KBTG กับการก้าวสู่ธนาคารแห่งอนาคต
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกนั้นได้เร่งให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนเข้าสู่สิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘ความปกติใหม่’หรือ ‘New Normal’ ที่ทุกคนนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาดและการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้นที่ถูกเร่งโดยการแพร่ระบาดทั่วโลกครั้งนี้ แต่ยังรวมถึงการเร่งให้โลกของเรานั้นต้องก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในยุค New Normal นี้ ‘เทคโนโลยี’ จะเข้ามามีบทบางอย่างมากในการช่วยให้ผู้คนนั้นใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น ทาง KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมทางการเงินได้ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือสังคมในการสรรสร้าง 6 Contactless Technology เทคโนโลยีไร้สัมผัส ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุค New Normal มากขึ้น คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ได้เผยว่า COVID-19 นั้นได้เป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งพฤติกรรมของคนอย่างมหาศาล เห็นได้ชัดจากจำนวนผู้ใช้ KPLUS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน โดยยอดธุรกรรมทางเงินนั้นเพิ่มขึ้นถึง 68% YoY หรือจาก 165 ล้านเพิ่มขึ้นเป็น 277 ล้าน รวมถึงยอด K-Payment ในประเภท E-Commerce ที่มีการเติบโตถึง 128% YoY ซึ่งโดยปกติแล้วการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นจะใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ในตอนนี้มันใช้เวลาแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าคนนั้นหันมาปรับเปลี่ยนสู่การใช้ Contactless […]
จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่
วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]
ภารกิจปกป้องแพทย์ สู้โควิด-19
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยเริ่มคลี่คลายดีขึ้นตามลำดับ แต่สถานการณ์โดยรวมของทั้งโลกยังน่าเป็นห่วง ด้วยยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเรือนแสน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ทุกหน่วยงานต้องพร้อมสแตนบายตลอดเวลา โดยเฉพาะความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ พลาสติกแบบ Single use เป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่ได้ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยคุณสมบัติ แข็งแรง ทนทาน สามารถช่วยลดการสัมผัสกับเชื้อ COVID-19 ได้ดี ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้นำพลาสติกมาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษา หรือช่วยชีวิตผู้ป่วย COVID-19 ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพทย์ดังนี้ หมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ (Powered Air-Purifying Respirator : PAPR) ใช้สวมใส่เพื่อการป้องกันในระดับสูง กรณีบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำหัตถการให้กับผู้ป่วย COVID-19 กล่องกรองอากาศของอุปกรณ์ PAPR ต้นแบบนี้ ขึ้นรูปโดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing หน้ากาก Face Shield (Face Shield […]
ช้อปปิ้งวิถีใหม่แบบปลอดภัยไร้การสัมผัสกับบริการ Mobile Scan & Shop จากเทสโก้ โลตัส
ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายด้านในสังคม โดยมีเป้าประสงค์หลักคือการปรับไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยกันมากขึ้น อาทิ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน การพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวอยู่เสมอ หรือการเว้นระยะห่างจากคนรอบข้างก็กลายเป็นภาพที่ผู้คนคุ้นชิน และต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุกภาคส่วนเพื่อสู้ภัยโควิด-19 ไปด้วยกัน ทางด้านภาคเอกชนเองเราก็จะได้เห็นนโยบายใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค New Normal กันมากขึ้น เช่นกรณีที่น่าสนใจจาก “เทสโก้ โลตัส” ผู้ให้บริการห้างค้าปลีกที่ในแต่ละวันมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก ดังนั้นความปลอดภัยของลูกค้าจึงเป็นเรื่องที่ทางห้างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวบริการ “Mobile Scan & Shop” แอปพลิเคชันสุดล้ำที่ทำให้ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าที่เลือกซื้อได้เองด้วยมือถือของตน ทั้งยังเชื่อมต่อการชำระเงินผ่าน QR Code ช่วยลดการสัมผัส ลดระยะเวลาในการช้อปปิ้ง และลดโอกาสของการแพร่เชื้อโควิด-19 พร้อมเปิดให้ใช้งานแล้วที่เทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต ทุกสาขาทั่วประเทศ ดังที่เราทราบกันดีว่าโควิด-19 สามารถแพร่ถึงกันได้ผ่านการสัมผัส Mobile Scan & Shop จึงนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมการช้อปปิ้งที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว อีกทั้งในแง่การใช้งานก็ยังมีความรวดเร็ว ระหว่างที่กำลังเลือกสินค้า ลูกค้าสามารถสแกนบาร์โค้ดได้ทันทีที่หยิบลงตะกร้า โดยแอปพลิเคชันจะแสดงทั้งในส่วนของราคา, โปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง และคำนวณยอดใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อลูกค้าต้องการชำระเงิน แอปพลิเคชันจะสร้างบาร์โค้ดขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นที่แคชเชียร์ โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าให้แคชเชียร์สแกนราคาอีกครั้ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินผ่าน QR Code ได้เพื่อลดการสัมผัสแทนการใช้บัตรเครดิตหรือเงินสด […]
เมื่อแบงก์ชาติออกสกุลดิจิทัล “อินทนนท์”
ถือเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการการเงินประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการเงินในประเทศของเรา ที่เล็งเห็นความน่าสนใจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน หากนำสิ่งนี้มาปรับใช้กับวงการการเงินและระบบธนาคารจะโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและจัดทำระบบอีกมากมาย เรียกได้ว่ามีความตื่นตัวกับกระแสโลกไม่แพ้เมืองนอก สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ นั้น ได้มีการเล็งเห็นถึงความน่าสนใจของระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology : DLT) จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ทำระบบการชำระเงินระหว่างธนาคาร 8 แห่ง ซึ่งโครงการนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทดลองและพัฒนาระบบการชำระเงินรวมไปถึงการออกเหรียญดิจิทัลที่ใช้เฉพาะภายในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ชื่อว่าเหรียญ CBDC (Central Bank Digital Currency) โดยโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้ชื่อ “โครงการอินทนนท์” โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และ บริษัท R3 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม DLT ที่ทำระบบให้ธนาคารชื่อดังหลายแห่ง จุดเริ่มต้นของโครงการอินทนนท์ มาจากระบบการทำงานของธนาคารต่างๆ ในไทยที่หากมีการโอนเงินระหว่างธนาคาร ธนาคารในเครือเหล่านี้จะไม่ได้เป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีต้นทางไปที่ปลายทางโดยตรง แต่ละที่จะมีบัญชีของตัวเองที่เปิดไว้ที่แบงก์ชาติอยู่แล้ว การโอนจ่ายระหว่างธนาคารจึงเป็นเหมือนการ ทำระบบสั่งจ่าย และยื่นให้แบงก์ชาติ เพื่อให้แบงก์ชาติโอนเงินในคลังให้กับปลายทางอีกที (แบงก์ชาติทำหน้าที่เป็นผู้ถือเงินสำหรับสถาบันเหล่านั้นไว้) […]
“ศิริราช” วิจัย “ยาคลอโรควิน” ป้องกัน “โควิด” ลุ้นทดลองอาสาสมัคร 400 คน คาด 1 เดือนรู้ผล !
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือ SICRES (Siriraj Institute of Clinical Research) เดินหน้าวิจัยยาคลอโรควิน (chlorquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรีย และเป็นหนึ่งในตัวยาที่ถูกนำมาปรับใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ภายหลังจากที่พบหลักฐานว่า ยาคลอโรควินสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ และมีการศึกษาเบื้องต้นยืนยันประสิทธิภาพในมนุษย์ โดยล่าสุด ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช ได้จัดตั้งโครงการวางแผนวิจัย เพื่อนำยาคลอโรควินมาทดลองในมนุษย์ และขณะนี้ได้เปิดรับอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยโควิดแล้ว จำนวน 400 คน คาดว่า จะใช้เวลา 1 เดือน ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก หรือ SICRES กล่าวว่า จากการวิจัยเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่พบว่าการติดเชื้อประมาณ 70-80% เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัว เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวป่วยหนึ่งคน โอกาสเสี่ยงของสมาชิกคนอื่นๆ จะมีสูงมากที่จะติดโควิด ทั้งแบบที่แสดงอาการหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันสมาชิกในบ้านไม่ให้ติดเชื้อเพิ่มเติม และไม่ไปแพร่เชื้อต่อ จึงเกิดการค้นคว้าเอายาต้านเชื้อโควิด มาป้องกันผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งมีหลักฐานว่า ยาคลอโรควิน (chloroquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรียมากว่า 70 ปีที่พบว่ามีความปลอดภัยสูง […]
ดร. มหิศร ว่องผาติ กับภารกิจส่งหุ่นยนต์เซฟคุณหมอของ CU-RoboCovid
ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องหุ่นยนต์และ AI จะแย่งงานมนุษย์เป็นที่ถกเถียงกันแพร่หลาย และสร้างความกังวลให้กับทุกวิชาชีพ แต่กลายเป็นว่าเมื่อทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายรอบด้านจากโรคระบาดโควิด-19 เราได้เห็นการระดมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ “ด่านหน้า” ของการปะทะกับโรคอุบัติใหม่นี้ ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Obodroid และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HG Robotics พาเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid ที่กลุ่มนิสิตเก่าและทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท HG Robotics และ Obodriod ได้ตั้งเป้าที่จะผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวน 200 ตัว เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผ่านการเปิดรับบริจาค นับตั้งแต่วันที่ประเทศไทยยังไร้มาตรการล็อกดาวน์ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีจำกัด จุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid คืออะไร โครงการนี้เริ่มต้นประมาณวันที่ 12-13 มีนาคม รุ่นพี่คณะเราเห็นตัวเลขของผู้ติดเชื้อโรคระบาดกำลังพุ่งสูงขึ้น เราทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์และได้พูดคุยกับคุณหมอว่าเราจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วันที่ 15 คุณหมอได้กรุณาให้เราไปที่โรงพยาบาล ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะพาเข้าไปในวอร์ดของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนแรก ๆ ที่อยู่ในห้องแยกโรคความดันลบ (Negative Pressure Room) เราได้เห็นว่าผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่หมอและพยาบาลที่เข้าไปตรวจจะต้องใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ถ้าลืมหรือต้องการอุปกรณ์เพิ่ม […]
น้องปิ่นโต บินลัดฟ้าถึงน่าน พร้อมปฏิบัติการช่วยหมอสู้โควิด
วันนี้ (15 เม.ย.63) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยความคืบหน้าของภารกิจจัดส่งหุ่นยนต์ช่วยเซฟหมอว่า “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานหุ่นยนต์ CU RoboCOVID “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” ไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน และ โรงพยาบาลสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกองทัพอากาศ ได้เร่งดำเนินการนำหุ่นยนต์ชุดดังกล่าวไปติดตั้งที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งตามพระราชประสงค์ “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” คือหนึ่งในหุ่นยนต์ตามโครงการ “CU-RoboCOVID” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามพระราชอัธยาศัยใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล ขณะนี้พร้อมออกปฏิบัติภารกิจนี้แล้ว
จุฬาฯ คิดสเปรย์ฉีดหน้ากากต้านโควิดพ่วงฝุ่นจิ๋ว
ทีมวิจัยจุฬาฯ คิดค้นสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันไวรัส กันน้ำ กรองเชื้อโรค นับเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นทางเลือกการใช้หน้ากากผ้าแก่บุคคลทั่วไป ช่วงที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ขาดแคลนช่วงโควิด-19 ระบาด ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์ (Shield+ Protecting Spray) เป็นผลงานวิจัยของ ทีมวิจัย ผศ. ดร. ภญ. จิตติมา ลัคนากุล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า โดยสเปรย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองของหน้ากากผ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไวรัส น้ำและละอองสารคัดหลั่ง สเปรย์ดังกล่าว ผ่านการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากผ้าก่อนสเปรย์และหลังสเปรย์ พบว่า หน้ากากผ้าที่ผ่านการพ่นสเปรย์ด้วย Shield+ Protecting Spray เกิดการเชื่อมต่อของเส้นใยผ้ามากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนเพิ่มขึ้น 83% และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคในน้ำลายและในอากาศได้มากขึ้น 93% และ 142% ตามลำดับ นอกจากคุณสมบัติกรองอนุภาคและเชื้อโรคแล้ว หน้ากากผ้าที่ผ่านการใช้สเปรย์มีคุณสมบัติการกันน้ำที่ดีกว่า จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน้ากากผ้าทั่วไป ทำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยได้อย่างมั่นใจ เปิดโอกาสให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีเหลือเพียงพอให้บุคลากรทางการแพทย์และช่วยลดปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน และยังเป็นการช่วยลดขยะได้ ทีมงานวิจัยของ ผศ. ดร. ภญ. […]
จุฬาฯ ลุยสู้โควิด ส่งกองทัพหุ่นยนต์เซฟหมอ “CU-RoboCOVID” กว่าร้อยตัว พร้อมช่วยหมอทั่วประเทศแล้ว
7 เม.ย.63 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นำทีมโดยเจ้า “PINTO” มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานกันอย่างหนักตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเตรียมจัดส่งหุ่นยนต์นักรบอัศวิน “PINTO” (ปิ่นโต) จำนวน 103 ตัว มาสนับสนุนภารกิจนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot) หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag) “ปิ่นโต” (PINTO) สำหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตให้กับ สนจ. ในครั้งนี้ เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทำหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นำไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี “หุ่นยนต์นินจา” “หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่านระบบTelemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการได้ทันทีอีกด้วย” “สำหรับโครงการ CU-RoboCOVID เราได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เรามั่นใจว่า ในอนาคตน่าจะช่วยให้จุฬาฯ ก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป และต้องขอขอบคุณ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ บริษัท Obodroid ในฐานะผู้ผลิตที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ เป็นพันธมิตรที่ดีกับเรามาโดยตลอด” ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยว่า “สนจ. ทราบถึงความต้องการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อให้หมอและพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สู้ร่วมกันในภารกิจนี้ ตามมาตรการ Social […]