“ชุบชูใจ Push your heart up” จุฬาฯ ชวนปรับสมดุลชีวิตใหม่ในช่วงโควิด
ในภาวะวิกฤตย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ วันนี้เราจะพาไปดูตัวอย่างการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคโควิด-19 ที่นอกจากนิสิตนักศึกษาจะต้องเรียน ต้องสอบ กันจากบ้านแล้ว การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำโครงงาน โปรเจค รายงาน หรือเปเปอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบการเรียนในแต่ละรายวิชานาทีนี้นั้น ดูเหมือนจะเป็นสิ่งยอดฮิตที่ผู้เรียนทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นคงจะดีกว่าแน่หากการเรียนรู้ด้วยตนเองเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเราในยามนี้ได้ ล่าสุด ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ หรือ อาจารย์หมี จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อว่า Sakorn Suksriwong ว่าได้ปรับรูปแบบการทำมอบหมายให้นิสิตทำโครงงานใหม่ โดยให้ทำอะไรก็ได้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในยุคนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ “ชุบชูใจ” เป็นการสร้างสรรค์จากนิสิตคณะจิตวิทยาร่วมกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเวิร์กชอปออนไลน์ให้กับผู้ที่สนใจได้ผ่อนคลาย และสามารถจัดการความสัมพันธ์แบบ work-life balance โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Wellness form home (WFH) “Wellness from home (WFH) เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้านเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพราะการที่ต้องทำงานอยู่แต่บ้านทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจากการสำรวจความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมเป็นเวลานาน ไม่สามารถแบ่งเวลาพักผ่อนออกจากเวลาทำงานได้อย่างชัดเจน ไม่ได้พบเจอเพื่อนฝูง […]
รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19 3 พฤษภาคม 2563
ในขณะที่ทั่วโลกยังคงมียอดผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะสมทะลุไปกว่า 3.3 ล้านรายแล้ว โดย 1 ใน 3 ของตัวเลขจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา ราว 1 ล้านราย และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราได้เห็นความพยายามจากทั่วทุกมุมโลกระดมสรรพกำลังกันเพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านสุขภาพของมวลมนุษยชาติ ผ่านการออกนโยบาย มาตรการ และแนวทางป้องกัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาวัคซีน และนวัตกรรมสู้ภัยโควิด-19 ที่หลากหลาย และเพื่อให้คนไทยได้รู้เท่าทัน “รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19” จึงมีอัพเดทสถานการณ์ล่าสุดจากหลายประเทศทั่วโลกในรอบสัปดาห์มาฝากกัน สหรัฐอเมริกา ผลสำรวจจากรอยเตอร์/อิปซอส พบชาวอเมริกัน ‘เกินครึ่ง’ หมดความเชื่อถือในคำพูดของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับวิธีรับมือโรคโควิด-19 และเกือบจะทั้งหมดรับไม่ได้ที่ผู้นำสหรัฐฯ ออกมาแนะนำให้ฉีด ‘สารฟอกขาว’ หรือ ‘น้ำยาฆ่าเชื้อ’ เข้าสู่ร่างกายเพื่อกำจัดไวรัส แบบสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวจัดทำขึ้นวันที่ 27-28 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่าชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 47 ตอบว่า “มีความเป็นไปได้สูง” หรือ “พอเป็นไปได้” ที่พวกเขาจะปฏิบัติตามคำแนะนำของ ทรัมป์ เกี่ยวกับวิธีจัดการไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงถึงร้อยละ 15 […]
COVID-19 เนรมิตผู้บริโภคเป็น 4 เซ็กเมนต์ใหม่ “กลุ่มใช้จ่ายแบบระวัง” ใหญ่สุด
การศึกษาล่าสุดฟันธงแล้วว่าการระบาดของโควิด-19 มีส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจนส่งผลให้เกิดเป็นผู้บริโภค 4 กลุ่มใหม่ขึ้นมาปรากฏว่ากลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ใช้จ่ายแบบระวังเพื่อครอบครัวเป็นหลักขณะที่กลุ่มเล็กที่สุดคือกลุ่มเสือซุ่มที่ไม่เดือดร้อนแถมใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงอยู่บ้านสกัดโควิด เซ็กเมนต์ใหญ่อันดับ 2 คือกลุ่มรัดเข็มขัดที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกทางเพราะกำลังโดนพิษรายได้ลดหรือถูกเลิกจ้าง เซ็กเมนต์นี้ใหญ่พอกับอันดับ 3 คือกลุ่มที่ยังมั่นคงสงบนิ่ง ไม่ใช้จ่ายมากขึ้นหรือลดลงเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ที่น่าสนใจคือ 42% ของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าตั้งแต่ระดับพื้นฐาน หลายคนบอกว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในท้องถิ่นใกล้บ้าน และจะใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และแบรนด์ที่มี “จริยธรรม” เซ็กเมนต์ใหม่แห่งอนาคต ผลการสำรวจนี้ถูกบรรจุในดัชนีชี้วัดผู้บริโภคแห่งอนาคต “Future Consumer Index” การสำรวจครอบคลุมผู้บริโภค 4,859 คนใน 5 ตลาดหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดนี้เผยแพร่โดยบริษัท EY หรือ Ernst & Young หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชี 4 รายใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ และ เคพีเอ็มจี เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่ากำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปในทางไหน EY พบว่า 34% หรือ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคยุคหน้าจะขึ้นสินค้าผลิตภัณฑ์ในประเทศหรือในท้องถิ่นมากขึ้นกว่าเดิม แปลว่านักการตลาดแบรนด์ระดับโลกรายใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์และทำการบ้านในประเด็นโลคอลให้มากขึ้น นอกจากแหล่งที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่าง 25% ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยบอกว่าจะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เชื่อถือได้ให้มากขึ้น ขณะที่อีก 23% มองที่จริยธรรมของแบรนด์ ทำให้อาจใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์คุณธรรมชัดเจน หากเจาะให้ลึกลงไปตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ก่อตัวชัดเจนในช่วงโควิด-19 EY แบ่งกลุ่มได้เป็น 4 โปรไฟล์ผู้บริโภคที่ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่นักการตลาดทั่วโลกต้องจับตาให้ดี เซ็กเมนต์แรก คือ “Cut Deep” กลุ่มที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกด้านเพราะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ถูกปลดออกจากงานหรือรายได้หดหายไป กลุ่มนี้ครองสัดส่วน 27% ของกลุ่มตัวอย่าง เซ็กเมนต์ที่ 2 คือ “Stay calm, carry on,” กลุ่มนี้ครอง 26% ของกลุ่มตัวอย่าง จุดเด่นคือความสงบนิ่งและยังมั่นคง การใช้จ่ายของกลุ่มนี้ไม่เปลี่ยนจากเดิมมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ขณะที่เซ็กเมนต์ที่ 3 คือ “Save and stockpile” ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหญ่ที่สุด 35% ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกกังวลกับสภาพเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อครอบครัวมากขึ้น เซ็กเมนต์ที่ 4 คือ “Hibernate and spend” กลุ่มตัวอย่างเพียง 11% เท่านั้นที่ถูกจัดเป็นเซ็กเมนต์นี้ ที่แม้จะจำศีลอยู่ในบ้าน แต่ก็ใช้จ่ายมากขึ้นทุกด้านในช่วงวิกฤตของโลก นอกจากเซ็กเมนต์การจับจ่ายที่เห็นชัด การสำรวจของ EY พบว่าทัศนคติต่อความเป็นส่วนตัวและวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้ชัดจาก 54% ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่าได้เปิดใจแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นเพื่อช่วยให้ระบบตรวจสอบและติดตามกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ทำงานได้แม่นยำ ประเด็นนี้ EY เชื่อว่าความคิดดั้งเดิมเรื่องการหวงข้อมูลอาจลดลงไปตามกาลเวลา ขณะเดียวกันวิกฤติก็ทำให้โฟกัสของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเน้นที่วัตถุประสงค์ที่ใหญ่กว่าเพื่อให้ภาพรวมของสังคมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ตามให้ทันแล้วปรับกลยุทธ์ Andrew Cosgrove นักวิเคราะห์จาก EY กล่าวในแถลงการณ์ว่า วันนี้หลายบริษัทยังต้องดิ้นรนเพื่อตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหานี้สำคัญมากเพราะบริษัทที่คาดการณ์ได้ทัน จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เต็มที่ กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคยุคหน้าจึงต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม Cut Deep ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป เกือบ 1 ใน 4 ของกลุ่มนี้ถูกระงับการจ้างงานชั่วคราวหรือถาวร ทำให้ 78% ช้อปปิ้งน้อยลง ในขณะที่ 64% คงไว้เฉพาะการซื้อของจำเป็น และ 33% รู้สึกว่าไม่ต้องเลือกแบรนด์ เพราะแบรนด์มีความสำคัญน้อยมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่หากมองที่กลุ่ม Hibernate and spend การสำรวจพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคในเซ็กเมนต์นี้มองว่าแบรนด์สินค้ามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวิกฤติ ดังนั้นแคมเปญกลุ่ม Purpose-driven campaign ที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์จึงควรให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ต้องการเติมเต็มช่องว่างในการส่งสาร และนำเสนอโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริงในช่วงวิกฤตที่แบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้ สำหรับประเด็นความยั่งยืนและจริยธรรม การสำรวจสะท้อนว่าผู้บริโภคเห็นความสำคัญมากขึ้นกับการเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อโลก นอกจากนี้ นักการตลาดก็ไม่ควรมองข้ามแคมเปญกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดเพราะ EY พบว่าผู้บริโภคเพียง 31% เท่านั้นที่มองว่าจะกลับมาใช้จ่ายในระดับปกติ และเพียง 9.1% เท่านั้นที่คิดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น สัดส่วนการประเมินลักษณะนี้มีความสำคัญมากต่อแนวโน้มตลาดหลังโควิด-19 โดยเฉพาะตลาดงานโฆษณาที่จะต้องให้ความมั่นใจกับลูกค้าเกี่ยวกับอนาคต บนความเชื่อว่าควรจะลงทุนต่อไปเพราะมีสายรุ้งสดใสรออยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของแบรนด์. ที่มา : https://positioningmag.com/1275427 https://www.prnewswire.com/news-releases/four-consumer-behavior-trends-emerge-during-the-covid-19-pandemic-the-first-ey-future-consumer-index-finds-301045840.html https://www.marketingdive.com/news/coronavirus-reshapes-consumer-habits-creating-4-new-segments-report-finds/576633/
3 Business Strategy โลกหลัง COVID กับพีระมิด Maslow’s hierarchy ที่กลับหัว
“ผู้นำที่ฉลาดจะไม่ปล่อยให้วิกฤตนั้นสูญเปล่า” คำพูดนี้เป็นของ Lucy Jameson ผู้ร่วมก่อตั้ง Uncommon Agency พูดถึงท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกแบรนด์บนโลกใบนี้ เขาเสนอให้นักการตลาดและนักธุรกิจต่างๆ พยายามมองหาโอกาสในวิกฤตนี้ที่ตัวเองจะพลิกเป็น Strategy ใหม่ให้ได้มากที่สุดครับ เพราะแบรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายสินค้าหรือให้บริการสักอย่างแล้วก็จบไป แต่แบรนด์ที่แท้จริงสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้มากกว่านั้นผ่านสินค้าหรือบริการที่พวกเขาใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า แล้วเมื่อโลกเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทุกคนไปตลอดกาล และนั่นคือสิ่งที่เราทุกคนจากทุกธุรกิจต้องเจออย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ไปทุกธุรกิจและทุกแบรนด์ต้องปรับรื้อแผนกันใหม่ตั้งแต่ต้น ทุก Business Strategy, Marketing Strategy หรือแม้แต่ Communcation Strategy ก็ต้องเริ่มใหม่หมดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เหมือนเดิมที่เราเคยรู้จักมาตลอดชีวิตอีกต่อไป จากเดิมพวกเขาเคยต้องการสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการในใจลึกๆ อยากได้อะไรสักอย่างที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาแต่ละคนแตกต่างจากคนอื่นขนาดไหน แต่วันนี้กลับดูเหมือนว่าทุกสิ่งที่ทุกคนต้องการกลับเป็นอะไรที่เป็นแค่เรื่องพื้นฐานของพีระมิด Maslow มากๆ อย่างการมีสุขภาพที่ดี กินอิ่ม แข็งแรง แล้วนอนหลับ ความฟุ้งเฟ้อหรือไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยกลายเป็นอะไรที่ไม่มีค่าภายในไม่กี่วัน และนี่ก็จะเป็น 3 คำถามสำคัญที่ทุกธุรกิจ ทุกแบรนด์ และนักการตลาดทุกคนต้องถามตัวเองให้ดีต่อจากนี้ ถ้าคุณอยากเห็นธุรกิจของคุณยังอยู่รอดในยุค COVID-19 ได้ ตอนนี้เลยคุณทำอะไรเพื่อช่วยผู้คนได้บ้าง? คุณจะปรับตัวได้ดีแค่ไหนเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไปให้ได้? คุณคิดว่าหลังจากนี้โลกจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? (จะไม่ถามว่ามากขนาดไหน เพราะมันจะมากมายมหาศาลแน่) 1. Helping […]
จุฬาฯ คิดสเปรย์ฉีดหน้ากากต้านโควิดพ่วงฝุ่นจิ๋ว
ทีมวิจัยจุฬาฯ คิดค้นสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันไวรัส กันน้ำ กรองเชื้อโรค นับเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นทางเลือกการใช้หน้ากากผ้าแก่บุคคลทั่วไป ช่วงที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ขาดแคลนช่วงโควิด-19 ระบาด ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์ (Shield+ Protecting Spray) เป็นผลงานวิจัยของ ทีมวิจัย ผศ. ดร. ภญ. จิตติมา ลัคนากุล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า โดยสเปรย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองของหน้ากากผ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไวรัส น้ำและละอองสารคัดหลั่ง สเปรย์ดังกล่าว ผ่านการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากผ้าก่อนสเปรย์และหลังสเปรย์ พบว่า หน้ากากผ้าที่ผ่านการพ่นสเปรย์ด้วย Shield+ Protecting Spray เกิดการเชื่อมต่อของเส้นใยผ้ามากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนเพิ่มขึ้น 83% และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคในน้ำลายและในอากาศได้มากขึ้น 93% และ 142% ตามลำดับ นอกจากคุณสมบัติกรองอนุภาคและเชื้อโรคแล้ว หน้ากากผ้าที่ผ่านการใช้สเปรย์มีคุณสมบัติการกันน้ำที่ดีกว่า จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน้ากากผ้าทั่วไป ทำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยได้อย่างมั่นใจ เปิดโอกาสให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีเหลือเพียงพอให้บุคลากรทางการแพทย์และช่วยลดปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน และยังเป็นการช่วยลดขยะได้ ทีมงานวิจัยของ ผศ. ดร. ภญ. […]
เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ นวัตกรรมเพื่อสังคมจาก กฟผ. หนุนสู้ COVID-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่อาจทราบได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะยุติเมื่อใด แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายนั้นคือการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าการสัมผัสเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ก็ช่วยให้เราขยับห่างไกลจากโรคมากขึ้นอีกนิดได้ กฟผ. จึงมีการผลิตเจลแอลกอฮอล์ในชื่อว่า “เจลอนามัย น้ำใจ กฟผ.” ซึ่งมีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคได้ โดยมีเป้าหมายผลิตเจลอนามัยฯ บรรจุขวดเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ชุมชนโดยรอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40,000 ขวด หวังกระตุ้นให้ทุก ๆ คน หมั่นดูแลใส่ใจในสุขภาพอนามัยของตนเอง ในการผลิตเจลอนามัยฯ นอกจากจะต้องมีการควบคุมตั้งแต่ส่วนผสมและกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานแล้ว กฟผ. ยังคำนึงถึงความต้องการที่จะนำไปใช้งานในช่วงเวลาของการระบาดของโรค ดังนั้น ขั้นตอนในการบรรจุอย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนการผลิต ซึ่งผู้ปฏิบัติงานฝ่ายโรงงานและอะไหล่ (อรอ.) ได้ระดมสมองร่วมกันคิดค้นออกแบบ และประดิษฐ์เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ โดยใช้เวลาเพียง 3 วันเท่านั้น […]
กสทช.ช่วยไทย สู้ภัย COVID-19 ให้เน็ตฟรี 10 GB
COVID-19 ชื่อนี้เป็นชื่อที่อยู่กับเรามานานกว่าแรมเดือน และก็เป็นชื่อนี้อีกเช่นกันที่ทำให้พวกเราตระหนก ตกใจ และหวาดผวา ที่สำคัญชื่อนี้ยังทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน ในขณะที่เรากำลังเดือดร้อนจากภัย COVID-19 เราก็ได้เห็นธารน้ำใจคนไทย หน่วยงาน และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างหลั่งไหลกันเข้ามาร่วมฝ่าวิกฤตินี้ ส่งต่อความช่วยเหลือถึงกันหลากหลายรูปแบบเพื่อแสดงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมไทย รวมถึง “กสทช.” ก็เช่นกัน กสทช. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ล่าสุด กสทช. ได้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ระบาด โดยส่งเสริมการทำงานที่บ้าน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) เพิ่มขึ้นอีก 10 กิกะไบต์ต่อคน ในช่วง 30 วัน สำหรับมาตรการนี้จะใช้ได้กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จดทะเบียนใช้งานเฉพาะในนามของ “บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย” เท่านั้น เพราะเป็นมาตรการอุดหนุนเพื่อช่วยบรรเทาภาระของประชาชนที่ในช่วงนี้จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งในด้านการทำงาน และเรียนหนังสือ โดยรับสิทธิ์ได้ 1 คน ต่อ 1 สิทธิ์ ทุกค่ายมือถือทั้งเอไอเอส ทรูมูฟ และดีแทค […]
พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องใช้ให้เป็น ปากคำจาก “ทานตะวันอุตสาหกรรม” ผู้ผลิตถุงพลาสติกเพื่อโลก
การใช้ถุงพลาสติกมีมานากว่าร้อยปีแล้ว คนไทยใช้ถุงพลาสติก 1 ล้านตันต่อไป และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มาจากมนุษย์ไม่ได้เรียนรู้หลังจากการใช้ “ทานตะวันอุตสาหกรรม” ยักษ์ใหญ่ในวงการถุงพลาสติก เชื่อว่าสุดท้ายถุงพลาสติกก็ยังต้องมี เลิกใช้ไม่ได้ พจนารถ ปริญภัทร์ภากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) เล่าว่า การใช้ถุงพลาสติกของคนไทยมีนานแล้ว เมื่อถามว่าทำไมต้องใช้ถุงพลาสติก ใช้อย่างอื่นแทนได้ไหม เพราะคุณสมบัติดีมีอยู่มากมาย เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา บาง แถมราคาถูกเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ทั้งแก้วหรือไม้ก็ตาม แต่จากการใช้งานของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น ถุงพลาสติกจึงกลายเป็นปัญหาขยะเพิ่มขึ้นทวีคูณ และสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งจากมลภาวะการเผาไหม้ การย่อยสลายที่ทำได้ยากใช้ระยะเวลานาน กลายเป็นผู้ร้ายในสังคมและทั่วโลกทุกวันนี้ ทุกวันนี้การใช้เม็ดพลาสติกลดลงมาก โรงงานต่างๆ ทยอยปิด เพราะกระแสการใช้ถุงพลาสติกลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถุงพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย มนุษย์ต่างหากไม่ได้เรียนรู้หลังจากการใช้ ทิศทางทานตะวันอุตสาหกรรมที่จะไป ในเมื่อเราไม่สามารถต้านทานกระแสการลดใช้ถุงพลาสติกได้ โจทย์ที่เราต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวได้ตามธรรมชาติ 100% เรียกว่า Compostable plastics พจนารถ เล่าว่า ทานตะวันอุตสาหกรรมทำการวิจัยและพัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวตามธรรมชาติ 100% Compostable plastics […]
เลือกแบรนด์ไหนดี “โค้ก vs เป๊ปซี่” ขายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกับแบรนด์รักษ์โลก
เส้นทางเดินของ “โค้ก” ถือกำเนิดขึ้นในปี 1886 ถูกคิดสูตรขึ้นโดยเภสัชกรชื่อ John Pemberton สำหรับในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดเมื่อ 2492 โดยกลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดจำหน่ายใน 14 จังหวัดภาคใต้ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โคลา ในประเทศไทย จุดเปลี่ยนของโคคา – โคล่า ประเทศไทย หรือโค้ก เกิดขึ้นหลังเสริมสุขแตกหักกับเป๊ปซี่ และสัญญาของทั้งสองฝ่ายจบลงเมื่อเดือน พ.ย. 2555 ส่งผลให้การทำตลาดของเป๊ปซี่และเอสถือว่าเริ่มนับหนึ่งใหม่สิ้นปี 2555 และโค้กมีส่วนแบ่ง 50% ในตลาดน้ำดำมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ที่โค้กเป็นผู้นำตลาดน้ำดำแทนที่เป๊ปซี่ เกมนี้โค้กสร้างแบรนด์รักษ์โลก โคคา – โคล่า ยุทธศาสตร์ในตอนนี้ คือ การมุ่งสร้างแบรนด์รักษ์โลก แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ เมื่อจะซื้อสินค้าแบรนด์ใดจะคำนึงว่าเป็นแบรนด์รักษ์โลกหรือไม่ มาดูกันว่าโคคา – […]
“แมคโดนัลด์” เตรียมเปิดร้านกรีนดีไซน์ ทดลองถังรีไซเคิล งดใช้หลอดพลาสติก
แมคโดนัลด์ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย ประเดิม 4 สาขาแรก ทดลองวางถังขยะรีไซเคิลแยกขยะ และรณรงค์งดใช้หลอดพลาสติก เริ่มเห็นทิศทางของร้านอาหารในไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการงดการใช้แพ็กเกจจิ้งพลาสติก หรือการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ร้านแมคโดนัลด์เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เริ่มใช้นโยบายกรีนดีไซน์ภายในร้าน แม้จะยังไม่กรีนทั้งหมด แต่ก็เริ่มขยับทีละสเต็ป ได้ทดลองใช้ถังขยะรีไซเคิลมาใช้แยกขยะพลาสติกออกจากขยะทั่วไปใน 4 สาขา นำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมถึงเปิดตัวแคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ รณรงค์งดใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่มต่างๆ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในปี 2560 สำรวจพบขยะมูลฝอยในชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ซึ่งมีปริมาณมากถึง 11.47 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติกประมาณ 340,000 ตัน คิดเป็น 10-15% ที่มีโอกาสปนเปื้อนลงสู่ทะเลได้ และหลอดพลาสติกได้กลายเป็นปริมาณขยะทะเลที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เพราะหลอดพลาสติกเป็นขยะที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใช้เวลามากถึง 200 ปี ในการย่อยสลาย หลอดพลาสติกเมื่อถูกทิ้งลงสู่ทะเลได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตของสัตว์ทะเลจากการกินขยะเข้าไปจนเกิดอันตรายถึงตายในที่สุด ในร้านนี้ต้องการรณรงค์ให้ลูกค้าแยกขยะพลาสติกอย่างถูกต้อง โดยจัดทำถังขยะรีไซเคิลที่ออกแบบให้ลูกค้าได้เทน้ำ และน้ำแข็งทิ้งก่อนที่จะทิ้งแก้วน้ำพลาสติกลงในช่องขยะพลาสติก ถังขยะรีไซเคิลนี้ได้ถูกติดตั้งเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาอัมรินทร์ พลาซ่า, เอสโซ่ […]