อย่าปล่อยผู้ป่วยทิ้งไว้กับ “ยาฟาวิพิราเวียร์” โดยลำพัง
“ยาฟาวิพิราเวียร์” (Favipiravir) ถือเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยลดความสูญเสียถึงแก่ชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง โดยล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขไทยเลือกใช้ยาตัวนี้เป็นยาหลักของประเทศที่ใช้สู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ด้วยผลการศึกษาที่เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพช่วยลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในร่างกายผู้ติดเชื้อได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดการก่อให้เกิดการอักเสบของปอดซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมายที่ไวรัสชนิดนี้มุ่งโจมตี ส่งผลให้อัตราผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมถึงอัตราการเสียชีวิตเริ่มลดลงบ้างแล้ว แต่หากพิจารณาภาพรวมของสถานการณ์ระบบสาธารณสุขไทยในวันนี้ที่มีข้อจำกัดในเรื่องเตียงและอุปกรณ์ช่วยชีวิตโดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจที่เต็มล้นจนติดลบ ไม่สามารถรองรับความต้องการเข้ารักษาตัวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นหลักหมื่นต่อวันติดต่อกันอย่างต่อเนื่องได้ จึงทำให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวไม่มีทางเลือกต่างต้องรักษาตัวเองโดยจำต้องทำ Home Isolation แยกกักตัวอยู่ที่บ้าน และต้องบริหารการใช้ยาเพื่อรักษาอาการป่วยด้วยตนเองซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อมือใหม่ที่มีโอกาสพลาดพลั้งอยู่ไม่น้อย “ยาฟาวิพิราเวียร์” เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม มีวิธีรับประทานเบื้องต้นในผู้ใหญ่ได้ 2 วิธี ตามคำแนะนำของคณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข โดยจะแบ่งตามเกณฑ์น้ำหนักของผู้ติดเชื้อ ส่วนในคนไข้เด็กนั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินขนาดยาก่อนสั่งจ่ายทุกครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ผู้ติดเชื้อที่มีน้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัมนั้น ให้เริ่มทานยาวันแรก ครั้งละ 9 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ห่างกัน 12 ชั่วโมง และในวันที่ 2 – 5 ของการรับประทานยา ให้ทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ห่างกัน 12 […]
จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ
เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]
“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด
ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo) ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]
ถอดรหัส Skincare 101: ความลับจากข้างกล่องที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้
หากพูดถึงเครื่องสำอาง แน่นอนว่าทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว หรือที่เรียกันทั่วไปว่า สกินแคร์ (Skincare) ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา Euromonitor International เปิดเผยว่า มีมูลค่าการตลาดของสกินแคร์สูงถึง 7.1 หมื่นล้านบาท และยังมีอัตราการเติบโตของตลาดประมาณ 9% ต่อปี จากมูลค่าการตลาดนี้ เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรของประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสกินแคร์โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ดังนั้นในมูลค่าที่สูงขนาดนี้ การเลือกซื้อสกินแคร์สักชิ้นคงจะไม่ใช่เรื่องเล็กของใครหลายคนเป็นแน่ ไม่ใช่แค่เพียงราคาที่ต้องจ่าย แต่ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวังก็คงจะไม่น้อยไปกว่าราคาเช่นกัน ซึ่งการเลือกสกินแคร์สักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจเลือกที่จะไปหาข้อมูลจาก Beauty Blogger หรืออ่านรีวิวต่าง ๆ จากช่องทางออนไลน์ บางคนก็เดินดูตามห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์ร้านค้าเลย ซึ่งบางครั้งอาจจะได้สกินแคร์กลับมาใช้แล้วถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลของผลิตภัณฑ์สกินแคร์นั้นแทบไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเลย มันถูกเขียนไว้หมดแล้วที่ข้างกล่อง หรือที่เรียกกันว่า บรรจุภัณฑ์ นี่เอง แค่อาจจะต้องมาถอดรหัส ไขข้อมูลกันหน่อยว่า มีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ มักมีลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์หลัก ๆ […]