ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG
หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]
กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน
นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]
แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก…..
“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]
กฟผ. ผนึก ม.เกษตร สู้โลกรวน ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ง่าย ๆ มุ่งสู่ Carbon Neutrality
กฟผ. ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชวนรักษ์โลกผ่านการปลูกต้นไม้ทุกชนิด รวมถึงพืชผักสวนครัว หวังลดโลกรวน PM2.5 ให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 4 ธ.ค.2565 ณ สวนหลวง ร.9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด” ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 แชร์เทคนิครับมือสภาวะโลกรวนและ PM2.5 พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกป่า นำโดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ ศิลปินนักแสดงตัวแทนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการ “พรรณพฤกษาราชานุสรณ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศ์ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอรัชมงคล กฟผ. ยังได้ร่วมจัดแสดงสวนหย่อมในรูปแบบสวนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกไม้ป่า กล้าไม้ […]