IMG 5768

จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน

จุฬาฯ ถกวิกฤตเบาหวานคุกคามไทย ชูแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ “หวานน้อย” แก้ปัญหาเบาหวานครบวงจร

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 537 ล้านคน และมีแนวโน้มที่น่าวิตกว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคนในปี 2573 และ 783 ล้านคนในปี 2588 สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานแล้วประมาณ 6.5 ล้านคน โดยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือร้อยละ 40 ของผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วย

AR6 1189

ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดประชุมวิชาการประจำปี 2024 “เปิดยุทธการดับเบาหวาน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งสร้างความตระหนักและแนวทางจัดการปัญหาโรคเบาหวานอย่างยั่งยืน โดยอัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำสูงที่พัฒนาโดยทีมวิจัยคนไทย เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครบวงจร ท่ามกลางความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตจุฬาฯ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข สื่อมวลชน และผู้สนใจ

AR6 1375

ไฮไลต์สำคัญของงานอยู่ที่อัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการเพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วยนวัตกรรมสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันและคัดกรองด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจากลมหายใจแบบไม่รุกล้ำและระบบ AI วิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านการวินิจฉัยผ่านระบบ Telemedicine พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและไมโครไบโอม และด้านการรักษาด้วยนวัตกรรมเฉพาะทางอย่างระบบนำส่งอินซูลิน แผ่นปิดแผล และแผ่นรองเท้าป้องกันแผลกดทับที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มหวานน้อย (Wannoi) ที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวมเพื่อการรักษาแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มุ่งหวังยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของไทยให้ทัดเทียมระดับสากล คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ในปี 2570

AR6 1343

นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “การควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ผลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยแบบองค์รวม โดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร เราจึงแนะนำให้ผู้ป่วยเรียนรู้การนับคาร์โบไฮเดรตในอาหารประจำวัน โดยควรจำกัดไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด แม้ในช่วงแรกอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่เราได้พัฒนาเครื่องมือและแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประเมินปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารไทยได้ง่ายขึ้น และจัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่ระบุปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อหน่วยบริโภค และมีภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะดูแลนำมาใช้ผู้ป่วยเบาหวานอยู่เช่นกัน ซึ่งเรายินดีสนับสนุนนวัตกรรมจากนักวิจัยไทยอย่างเต็มที่”

BR6 2769

ทางด้าน รองศาสตาจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “สำหรับศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชแห่งนี้เป็นการรวมพลังของคณาจารย์และนักวิจัยจากหลากหลายสาขามาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแพทย์และสาธารณสุข เรากำลังพัฒนาผลงานสำคัญทั้งอวัยวะเทียม ระบบวินิจฉัยโรคด้วย AI และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ควบคู่ไปกับการบ่มเพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้งานจริงและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ผ่านความร่วมมือกับบริษัท Spin-off ของจุฬาฯ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ยั่งยืน”

AR6 1153

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เราได้ผสานความเป็นเลิศทั้งด้านการแพทย์ วิศวกรรม และ AI บูรณาการรวมไว้บนแพลตฟอร์มหวานน้อย เพื่อสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัย ไปจนถึงการรักษา โรคเบาหวาน โดยขณะนี้ได้ผ่านเฟสการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลพันธุกรรมและจุลชีพของผู้ป่วยเบาหวานและการรักษาไปแล้ว โดยเฟสต่อไปในปี 2568-2569 เราจะเก็บข้อมูลและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานด้วยนวัตกรรมตรวจวัดจากลมหายใจ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมการรักษาเบาหวาน ได้แก่ แผ่นปิดแผลเบาหวาน ระบบนำส่งอินซูลิน และพื้นรองรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลจำเพาะของผู้ป่วยเบาหวานไทย โดยคาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยในวงกว้างได้ในปี 2570”

Screenshot 2567 11 29 at 17.14.12

นอกจากนี้ ภายในงานยังมี “เสวนาบูรณาการทุกภาคส่วน สู้ศึกเบาหวานคุกคามไทย” โดย น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ น.พ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ และคุณยุพา ศุภฤกษ์กมล ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรักน้อย จ.นนทบุรี ” อีกด้วย

AR6 0955
BR6 2115
BR6 1891
BR6 2317
BR6 2238
AR6 0990
AR6 0843
AR6 1255
BR6 3055
BR6 3154
AR6 1410
BR6 3217
AR6 1460
BR6 3293
BR6 3294
AR6 1462
AR6 1470
Tags:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner