Banner 147

เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต (life supporting system) ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ (ecosystem services) ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน อาทิ แหล่งกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บธาตุอาหาร ดักจับสารพิษ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ เป็นเส้นทางคมนาคม ตลอดจนเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ

EY96UMw y2MHJIBWAUMyxpLEMFmsxi1pHTYbROPRWItsGMiBvuRN7RgDjqoEsvLHtiM5mML9oHfCAZ 8Mk8IVv2nKtc587zoK1WaPqNq5 ygsK680A

สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ราว 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมพัฒนาและบุกรุกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกษตร การประมง การขยายตัวของเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขง ที่แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำเหลือแต่กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมและไม่ได้รับความใส่ใจอนุรักษ์และจัดการอย่างเป็นระบบ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบองค์รวมโดยร่วมลงนามในข้อตกลงก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The University Network for Wetland Research and Training in the Mekong Region) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยมีภาคีร่วมก่อตั้ง 8 มหาวิทยาลัย จาก 4 ประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, Can Tho University, Nong Lam University, National University – Ho Chi Minh, National University of Laos, Royal University of Agriculture และ Royal University of Phnom Penh เพื่อสร้างองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถให้นักวิจัยด้านพื้นที่ชุ่มน้ำรุ่นใหม่ก้าวเข้ามาเป็นกำลังสำคัญต่อการพิทักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เสริมสร้างความเข้าใจ เล็งเห็นคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำ และตระหนักถึงภัยคุกคามที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของลุ่มน้ำโขงทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเครือข่ายรวมกว่า 20 แห่ง และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ASEAN Regional Center for Biodiversity Conservation, International Crane Foundation, John D and Catherine T MacArthur Foundation, IUCN/UNDP/GEF Mekong Wetland Biodiversity Conservation Program, Rockefeller Foundation, USGS National Wetland Research Center และ Sustainable Mekong Research Network (Sumernet)

เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีภารกิจดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติร่วมกับภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมไปในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดวิธีการใช้เครื่องมือสำหรับบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะพื้นที่ในสนธิสัญญาแรมซาร์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มนํ้าอย่างยั่งยืน และได้แปลเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาไทย อาทิ แผ่นงานบันทึกข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Site Information Sheet) การประเมินบริการของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว (Rapid assessment of wetland ecosystem services) และเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ (Ramsar Site Management Effectiveness Tracking Tool : R-METT) ซึ่งช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้สร้างแนวทางการอนุรักษ์ ติดตามผล และประเมินประสิทธิภาพโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Ramsarsite edit
แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย
ที่มา https://sites.google.com/site/wetlandcarto/photo-galleries

โดยกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ล่าสุดของเครือข่ายฯ คือ โครงการ Train-the-trainers Training Course จัดขึ้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม – 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ประเทศเวียดนาม โดยตัวแทนมหาวิทยาลัยจาก 4 ประเทศ ทั้งไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้ร่วมกันเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยระดับนานาชาติ เรื่อง “The role of wetlands in water security for the Mekong region” ศึกษาและติดตามข้อมูลด้านอุทกวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากบริการของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงสร้างเครื่องมือรูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง (gaming and simulation) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ ในท้องถิ่น นำไปสู่การดำเนินกิจกรรมสำคัญด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำอีกโครงการหนึ่ง คือ “โครงการฝึกอบรมผู้บริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ชุ่มนํ้าในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง (Mekong WET)” ภายใต้การดูแลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ที่มีเป้าหมายช่วยสนับสนุนหน่วยงานในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ให้ดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาแรมซาร์ (the Ramsar Convention) 

หลักฐาน

http://mcf.vn/home

https://web.facebook.com/AnurakCU/photos/a.136558289752931/4482557048486345/

https://www.iucn.org/news/asia/202001/iucn-collaborates-regional-university-network-enhance-capacity-thai-wetland-managers

https://www.sumernet.org/project/the-role-of-wetlands-in-water-security-for-the-mekong-region 

Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner