Banner 140 02

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60

ปูม้า เป็นสัตวน้ำเค็มที่คนไทยนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายและเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้การทำประมงชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 28,800 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3,243 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ.2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยมีผลผลิตปูม้าอยู่ราว 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคของตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งออก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ชาวประมงไทยเคยใช้แร้วปูม้าแบบขอบเดียวต่างหันมาใช้ลอบปูม้าแบบพับได้และอวนลอยปูม้า อีกทั้งยังได้พัฒนาอวนลอยปูม้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นอวนแบบจมซึ่งสามารถหย่อนลงได้ถึงก้นทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการจับปูม้าและเพิ่มโอกาสจับสัตว์น้ำพลอยจับได้ ซึ่งการดัดแปลงอุปกรณ์ในข้างต้นส่งผลให้ทรัพยากรปูม้าไทยถูกจับมาบริโภคเกินกำลังการขยายพันธุ์ของปูม้าตามธรรมชาติ จนอาจเป็นเหตุให้ปูม้าไทยใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต

รูปภาพประกอบด้วย ปู, อาหาร, จาน, โต๊ะ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย ปู, กลางแจ้ง, อาหาร, จัดโต๊ะ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ด้วยเหตุนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงปูม้า โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปูม้าให้สามารถผลิตตัวอ่อนที่แข็งแรงเหมาะสมต่อการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติช่วยเพิ่มสมดุลให้ประชากรปูม้าในระบบนิเวศได้อีกทางหนึ่ง 

รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, ในอาคาร, ด้านหน้า, ทำท่าทาง

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย โต๊ะ, บุคคล, ในอาคาร, นั่ง

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

มากไปกว่านั้น ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกแห่งนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายหลักระดับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอเกาะสีชัง โดยมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นแล้วจำนวน 22 แห่ง และยังมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงภายในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายรองอีกจำนวน 3 แห่ง ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องประมงปูม้าของผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้คนในชุมชนเกาะสีชังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกรวมถึงร่วมกันติดตามสถานการณ์การทำประมงปูม้าในพื้นที่เกาะสีชังอีกด้วย

รูปภาพประกอบด้วย จาน, สีน้ำเงิน, โต๊ะ, อาหาร

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, กลางแจ้ง, ผู้ชาย, น้ำ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, อาหาร, กลางแจ้ง, โต๊ะ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย อาคาร, บุคคล, ผู้ชาย, ยืน

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเกาะสีชัง ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มชาวประมงใน 4 หมู่บ้านในอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นอย่างดี โดยในเดือนมิถุนายน 2563 มีชาวประมงนำแม่ปูม้าไข่นอกกระดองที่จับได้มาฝากให้ศูนย์ฯ ดูแล จำนวน 457 ตัว จนสามารถฟักตัวออกเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนก่อนปล่อยลงสู่ทะเลไทยได้ทั้งสิ้น 565,219,724 ตัว ซึ่งหากนับรวมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในเดือนมกราคม 2563 มีลูกปูม้าที่ฟักตัวจากศูนย์ฯ และได้รับการปล่อยลงสู่ทะเลแล้วนับพันล้านตัว เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกปูม้าที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจากการดำเนินโครงการนี้ได้ราวร้อยละ 40-60 ซึ่งนอกจากจะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องชาวประมงในเขตจังหวัดชลบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง 

รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, ในอาคาร, ทำท่าทาง, ยืน

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, ในอาคาร, กลุ่ม, โต๊ะ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
รูปภาพประกอบด้วย ในอาคาร, บุคคล, โต๊ะ, กลุ่ม

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ปัจจุบัน การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้ายังประโยชน์ให้คนบนเกาะสีชังที่ประกอบอาชีพทำประมงราว 3,500 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่ทั้งหมด และศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ยังได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบกลไกการบูรณาการใช้ประโยชน์จากการวิจัยนวัตกรรมแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศและการบริหารจัดการทรัพยากรของชาติจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่ายได้ขยายผลไปยังชุมชนในพื้นที่ท้องทะเลไทยในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทั้งสิ้นจำนวนอีก 4 แห่ง ได้แก่

1) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าวิสาหกิจชุมชุนบ้านบางเสร่ จังหวัดชลบุรี
2) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านเกาะมุกด์ (อ่าวหัวนอน) อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
3) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านเกาะมุกด์ (อ่าวมะขาม) อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
4) ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านปากคลองท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner