
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 12 มิ.ย. 63
วันนี้ (12 มิ.ย. 63) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อจาก State Quarantine ทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 3,129 ราย โดยแบ่งเป็นกำลังรักษา 84 ราย หายแล้วจำนวน 2,987 ราย ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย
ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ทำเนียบรัฐบาล
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 11 มิ.ย. 63
Related Posts
ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้
จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ พานิชผล […]
‘จุฬาฯ-ใบยา’ เริ่มฉีดทดสอบในคนแล้ว เล็งปรับสูตรวัคซีนดักทางโควิด
วันนี้ (29 ก.ย.64) ความคืบหน้าวัคซีนโควิดสัญชาติไทย “จุฬาฯ-ใบยา” วัคซีนความหวังของคนไทยรุดหน้าไปอย่างก้าวกระโดด ล่าสุด ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยกลางงานเสวนา Thailand COVID-19 Vaccine Forum 2021 จัดโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติว่า “สำหรับวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด protein subunit vaccine ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบในคลินิก ซึ่งเดือน ก.พ. ได้วัคซีนต้นแบบและทดสอบในสัตว์ทดลอง ทั้งความปลอดภัย ความสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการทดสอบหลังปรับเปลี่ยนสูตรวัคซีนให้อยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาได้นานอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นทดสอบความเป็นพิษ และความสามารถกระตุ้นภูมิระยะยาว โดยการทดสอบในลิงผลค่อนข้างดี ส่วนเรื่องการผลิตนั้น ได้มีการออกแบบโรงงานผลิตของใบยา โดยใช้เวลา 10 เดือน ขณะนี้ได้ผลิตรีลิสต์ตัวโปรดักส์ และสัปดาห์นี้วัคซีนได้ทดสอบในมนุษย์กลุ่มแรกแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาใน 4 คนแรก และวันพรุ่งนี้(30 ก.ย.) จะฉีดกลุ่มที่เหลือต่ออีก นอกจากนี้ […]
1 สัปดาห์แห่งการให้ “ครัวมาดาม” ส่งข้าวกล่องแทนใจ 19 รพ.สนามทั่วประเทศ
ครัวมาดาม มูลนิธิมาดามแป้ง ขอบคุณทีมอาสาส่งข้าวกล่อง รพ.สนาม, รพ.รัฐ 19 แห่ง ครบ 1 สัปดาห์ เตรียมขยายเวลาความช่วยเหลือต่ออีกเดือน และขยายพื้นที่ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมชวนคนไทยร่วมบริจาคส่งน้ำใจให้ไกลขึ้น การให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ถูกดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง “ครัวมาดาม” กับแนวคิด ส่งต่อน้ำใจคนไทยไม่ทิ้งกัน ภายใต้มูลนิธิมาดามแป้ง ที่ตั้งครัวชุมชนส่งข้าวกล่องแล้วเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ผ่านกลุ่มอาสากล้าใหม่ไปยัง 19 พื้นที่ทั่วประเทศ อาทิ อยุธยา, นครราชสีมา, ภูเก็ต, เชียงใหม่, นราธิวาส ฯลฯ หลังเชื้อไวรัสโควิด-19 กลับมาระบาดระลอก 3 ซึ่งเดิมวางเป้าหมายตั้งครัวถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ แต่ด้วยสถานการณ์ที่แย่ลงทำให้มีโรงพยาบาลสนามเพิ่มขึ้นมาก และบุคลากรทางแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น มูลนิธิฯ จึงมีแผนขยายเวลาและปรับขยายพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนช่วงวิกฤตให้มากที่สุด ด้าน มาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการ มูลนิธิมาดามแป้ง กล่าวว่า “ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณน้ำใจของกลุ่มคนอาสาทุกคนทั้งจากทุกชุมชนในแต่ละพื้นที่ ที่แม้รู้ว่าสถานการณ์ไม่สู้ดี แต่ก็เสียสละส่งต่อน้ำใจของมูลนิธิฯ นี้ไปยังคุณหมอ พยาบาล และบุคลากรทุกคนอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย […]