Banner 232 01

“ลูกพระเกี้ยว” เฮลั่น “สมาคมผู้ปกครองสาธิตจุฬาฯ” จัดให้ 3 ล้านบาท หนุนสุดตัวหวังขึ้นชั้นไทยลีก 2

“ลูกพระเกี้ยว” จามจุรียูไนเต็ด ทีมดังไทยลีก 3 ได้รับการสนับสนุนครั้งสำคัญ หลังสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ทุ่มงบ 3 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งเพื่อลุ้นโควตาเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า ความเคลื่อนไหวของทีม “ลูกพระเกี้ยว” จามจุรียูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังลุยศึก ไทยลีก 3 ล่าสุดได้รับข่าวดี เมื่อ “บิ๊กกำพล” คุณกำพล โชติปทุมวรรณ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ประกาศสนับสนุนสโมสร พร้อมจัดฟุตบอลการกุศลแมตช์พิเศษ ณ สนามโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารจุฬาฯ มาร่วมให้กำลังใจคับคั่ง อาทิ รศ.ดร.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี รศ.ดร.วิชิต คะนึงสุขเกษม ประธานสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก เมื่อ “บิ๊กกำพล” นำทีมนักเตะกิตติมศักดิ์กว่า 15 ชีวิต […]

Banner 231 01 0

เปิดศักราชเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาฯ จับมือ The Sharpener ปั้นหลักสูตรใหม่สร้าง Global Talent หัวใจไทย

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ร่วมกับ The Sharpener School จัดงานปฐมนิเทศหลักสูตร “Media and Communication for Transnational Citizens” แบบไฮบริดให้กับผู้เรียน รุ่นที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 478 คน ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Hall of Intania) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์ และภาคีเครือข่ายร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ​ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร คุณอังคณา สุขวิบูลย์ อดีต ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ อดีตเลขาธิการ […]

Banner 229 02

ไทย-สหรัฐ ลงนาม MOU ประวัติศาสตร์ เชื่อมระบบนิเวศสตาร์ทอัพ Montgomery County ผนึกกำลัง FTI และ NIA หนุนผู้ประกอบการไทยบุกตลาดอเมริกา

ในโอกาสครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ งาน Startup Innovation Thailand Event (SITE2024) ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในวงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ เมื่อ Montgomery County รัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงระบบนิเวศสตาร์ทอัพระหว่างไทยและสหรัฐ การลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้นำโดยผู้นำองค์กรสำคัญจากทั้งสองประเทศ ได้แก่ นายมาร์ค เอลริช (Mr. Marc Elrich) ผู้บริหารเขต Montgomery County นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ต่างเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมร่วมกัน โดยมี นางจูดี้ คอนเทลโล่ (Ms.Judy Costello) ผู้แทนจาก Montgomery County และรองศาสตราจารย์ […]

Banner 228 01

พลิกโฉมต่อต้านคอร์รัปชันKRAC จุฬาฯ ชวนสร้างสังคมโปร่งใสในงาน อว.แฟร์’67

เปิดประสบการณ์สุดพิเศษที่จะเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันของคุณไปตลอดกาล ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดบูธสุดล้ำที่คุณไม่ควรพลาดในงาน “อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในบูธ KRAC คุณจะได้สัมผัสโลกแห่งการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติใหม่ที่น่าตื่นเต้น เริ่มจากการทำความรู้จักกับบทบาทของศูนย์ KRAC ในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค พร้อมชมผลงานล่าสุดอย่างเว็บไซต์ KRAC Corruption แหล่งรวมข้อมูลคอร์รัปชันที่ครบครันที่สุดในประเทศไทยที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ คุณยังจะได้เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ “Contemporary Good Governance and Anti-Corruption” ที่พัฒนาร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงองค์กรชั้นนำด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้คุณเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชันหลากมิติ พิเศษสุดสำหรับผู้ที่สนใจเจาะลึกเรื่องความโปร่งใสเป็นพิเศษ KRAC ได้นำ “ตำรา (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101” มาวางจำหน่ายในราคาพิเศษเพียง 170 บาท คู่มือเล่มเดียวที่จะทำให้คุณเข้าใจการคอร์รัปชันได้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น […]

Banner 227

จุฬาฯ เปิดตัว “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” ในงาน อว.แฟร์

ในยุคเทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ พร้อมเปิดประตูสู่โลกแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดผ่านโครงการ “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” (Digital Lifelong Learning Solutions) ในงาน “อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (GenEd จุฬาฯ) ได้ริเริ่มโครงการนี้ด้วยการจัดทำรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่ม Chula MOOC Flexi จำนวน 28 คอร์สเรียน ครอบคลุม 8 ชุดรายวิชา บนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron โดยมุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ Digital Literacy และ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งยุคดิจิทัล ความพิเศษของโครงการนี้คือความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและเวลาที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นนิสิตจุฬาฯ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันอื่น ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐและเอกชน หรือประชาชนทั่วไป ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงความรู้คุณภาพสูงจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศ ไฮไลท์สำคัญของโครงการ คือการเปิดตัว “Digital […]

Banner 216 01

อลังการงานวิ่งแห่งปี ‘Intania Run’จุฬาฯ ครึ่งหมื่นวิ่งฉลองวิศวฯ 111 ปีขน 50 เมนูดังเสิร์ฟอิ่มจุใจ สุดเซอร์ไพรส์แจกไอโฟน 15

วิศวจุฬาฯ จัดใหญ่ “Chula Intania Run 2024” นักวิ่งกว่า 5 พันคน หลั่งไหลประลองฝีเท้า วิ่งทั่วจุฬาฯ ผ่าสยาม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวจุฬาฯ (กวศ.) จัดงานวิ่งการกุศล “Chula Intania Run 2024” ฉลองนับถอยหลังเข้าสู่ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนพัฒนาคณะและกิจกรรมนิสิตสร้างสรรค์สังคม โดยได้รับความสนใจจากนิสิต นิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ พร้อมประชาคมจุฬาฯ และประชาชนที่รักสุขภาพ ออกมาร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนแบ่งเป็น 2 ระยะการแข่งขัน ได้แก่ ระยะ 10.111 กม. และระยะ 3.711 กม. เริ่มออกสตาร์ตปล่อยตัวจากหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 5.30 น. วิ่งผ่านแลนด์มาร์คสวยงามอย่างสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล […]

Banner 220

ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]

Banner 219

นิติจุฬาฯ จับมือหน่วยงานกฎหมายชั้นนำพานิสิตยุคใหม่พุ่งออกนอกกรอบการศึกษากฎหมายแบบเดิม

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสร้างเสริมวิชาการทางนิติศาสตร์และพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย ระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ หน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด, Chandler MHM, DLA PIPER, HERBERT SMITH FREEHILLS, KUDUN & PARTNERS, RAJAH & TANN ASIA, Thanathip & Partners, Tilleke & Gibbins, NISHIMURA & ASAHI และ WEERAWONG C&P ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานคับคั่ง การลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เพราะคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายชั้นนำทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกว่า 6 ปีที่ผ่านมา พิธีในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานวิชาชีพที่มีอยู่อย่างเข้มข้น […]

Banner 218 01

ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้

จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา  ชวนิชย์  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ  พานิชผล […]

Banner 217

นักวิจัยไทยสุดเจ๋งคว้า 2 เหรียญทองเวทีโลก

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คนไทยได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยไทยได้พาธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเวทีโลกได้สำเร็จกลางงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF) ณ COEX กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกาศศักดาตอกย้ำให้โลกได้รู้ว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ปีนี้ประเทศไทยนำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้คัดเลือกนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีศักยภาพถึง 200 คน เป็นตัวแทนประเทศนำผลงานเข้าประกวดแข่งขันในรายการระดับโลกนี้ ผลปรากฏว่าหนึ่งในนักวิจัยหัวหมู่ทะลวงฟันของไทย คือ ดร.เดวิด มกรพงศ์ จาก Inno VitalTech บริษัทสปินออฟดาวรุ่งสายวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถพิชิตรางวัลวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกลับมาฝากพี่น้องชาวไทยได้ถึง 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลพิเศษ โดยรางวัลระดับเหรียญทองแรก มาจากผลงานการพัฒนาสารสำคัญจากดอกดาวเรืองที่มีสารลูทีนและซีเซนทีนคุณภาพสูงและการทดสอบประสิทธิภาพทางดวงตาที่สามารถลดอาการตาแห้งและลดอาการไม่สบายตาได้ภายใน 30 วัน เพื่อบรรเทาอาการจาก Computer Vision Syndrome ผลงานต่อมาเป็นรางวัลระดับเหรียญทองอีกเช่นกันกับผลงานการพัฒนาตำรับวิตามินสำคัญ 46 ชนิด เพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคโดยให้สารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระแบบมีนัยยะสำคัญ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner