Banner 210

The Great Barrier Reef ออสซี่ฟื้นปะการังซอมบี้สู้ทะเลเดือดหนีหลุดมรดกโลก

“The Great Barrier Reef” ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก้ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ด้วยดีกรีแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลกว่า 348,000 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเวียดนามที่มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นดินราว 100 ล้านคน แต่เมื่อลองดำดิ่งลงมายังโลกใต้ทะเล The Great Barrier Reef เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายกว่า 9,000 ชนิดอยู่ในแนวปะการังมากกว่า 3,000 แนว ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ขนาดนี้ย่อมกว้างใหญ่กว่าแนวปะการังในท้องทะเลไทยถึง 2,300 เท่าเลยทีเดียว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังซอมบี้ฟอกขาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงไม่ง่ายเลยที่ออสเตรเลียจะยื้อสถานภาพมรดกโลกแห่งนี้ไว้ได้นาน แต่ยังไงเสียก็ยังไม่สายเกินเพลที่จะทุ่มทำอะไรกันบ้าง The Sharpener จึงได้เก็บเรื่องราวความพยายามสู้โลกรวนของพวกเขามาฝากกันเช่นเคย น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายในปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั่นคือสาหร่ายจิ๋ว “ซูแซนเทลลี่” (Zooxanthellae) ผู้ทำหน้าที่สร้างอาหารให้กับปะการังผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ด้วยน้ำทะเลที่ทั้งอุ่นและเค็มขึ้นจึงเป็นเหตุให้สาหร่ายจิ๋วเหล่านี้มิอาจทานทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เรรวนซวนเซ บ้างต้องหนีตาย บ้างก็ต้องตายโดยที่ยังไม่ทันได้หนี เหลือทิ้งไว้เพียงซากโครงสร้างหินปูนให้ดูต่างหน้า สภาวการณ์เช่นนี้เองที่เขาเรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching) โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์นี้ครั้งใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ […]

นน 01

จุฬาฯ หวั่น ‘หมันปะการังฉับพลัน’ เหตุช็อกน้ำมันรั่วลามเกาะเสม็ด

30 ม.ค.65 – เกาะติดสถานการณ์เหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลระยองเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ส่งคณะนักวิจัยลงสำรวจพื้นที่จุดเกิดเหตุกลางทะเลและชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด พบคราบน้ำมันกระจายตัวเป็นวงกว้าง มุ่งหน้าขึ้นชายฝั่งหาดบ้านเพและหมู่เกาะเสม็ด แหล่งปะการังน้ำตื้นที่สำคัญของอ่าวไทย หวั่นซ้ำรอยเหตุท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลรั่วไหลครั้งใหญ่ในอ่าวไทย เมื่อปี 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่อ่าวไทย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและใต้ท้องทะเลไทยของเราอย่างหนัก เราพบปะการังฟอกขาวทั่วบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะเสม็ดที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานนับสิบปี ทำให้เราต้องเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากน้ำมันดิบที่อาจรั่วไหลกระทบต่อวงจรชีวิตของปะการังในอ่าวไทย จนพบสาเหตุที่ทำให้ปะการังตาย มาจากคราบน้ำมันดิบที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงถึงปะการังใต้ทะเลจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และที่มากไปกว่านั้น น้ำมันดิบยังอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังอีกด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘หมันปะการังฉับพลัน’ ทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด” ต้องจับตาดูความหนาแน่นและการกระจายตัวของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในครั้งนี้ว่าจะกินวงกว้างลุกลามถึงแนวปะการังสำคัญบนพื้นที่ทางทะเลกว่า 800 ไร่ บริเวณอ่าวพร้าว อ่าวลูกโยน อ่าวลุงดำ และอ่าวกิ่ว ของหมู่เกาะเสม็ดว่าจะส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศทางทะลรุนแรงมากน้อยเพียงใด

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner