D071A9CE 2C7A 43D2 806D BAC3BAC0BB40

สำรวจความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จาก ‘ทีมไทยแลนด์’ ผลิตเอง ใช้เอง ความหวังของคนไทยทั้งประเทศ

ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว หลังเริ่มพบการแพร่ระบาดของ ‘โควิด-19’ หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพัฒนาวัคซีนสำหรับรับมือกับโควิด-19 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ทั้งโลกจับตามอง เพราะจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตและการเดินทางมากยิ่งขึ้น ทว่าการพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลจาก พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากจดหมายข่าว ‘แวดวงวัคซีน’ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ 1 ชนิดอาจกินเวลาถึง 10-15 ปี อันเนื่องมาจากการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูง หลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลองแล้วก็ต้องนำไปทดสอบในคนอีก 3 ระยะ ก่อนจะนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนนำมาใช้ แต่การระบาดของอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนที่เร่งรัดจนสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกิดความหวังของการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็วเมื่อมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าเราจะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้พร้อมสำหรับการแจกจ่ายเมื่อใด แต่ก็คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงต้นถึงกลางปี 2021 นี้ และขณะนี้เราก็ได้เห็นความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือรัสเซีย  ส่วนประเทศไทยนั้นมีทั้งแนวทางการจัดหาวัคซีนจากต่างประเทศ การเตรียมการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการวิจัย-พัฒนาวัคซีนเองภายในประเทศ โดยกรณีของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนภายในประเทศนั้น ประเทศไทยมีทีมนักวิจัยและพัฒนาวัคซีนจากหลายหน่วยงานที่กำลังทำงานเพื่อค้นหาวัคซีนสำหรับโควิด-19 เราจะลองมาสำรวจตัวอย่างของทีมพัฒนาวัคซีนเหล่านี้ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากฝีมือคนไทยกัน วัคซีนจุฬาฯ คืบหน้า  เริ่มจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด […]

3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

2CCD78B5 AFB5 4F5E 9FF2 5923DE954981

สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช

ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่  จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก  The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]

4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

Banner 109 2

Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ

“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]

Banner 108

นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95

ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์  โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ  และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com

Banner 107 01

“นภา-1” ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของ ทอ. ยิงขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ

ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศ “นภา-1” ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จแล้ว มีภารกิจลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ วันที่ 3 ก.ย. 2563 พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย รองเสนาธิการทหารอากาศ และโฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทย จรวด Vega เที่ยวบิน VV16 ของบริษัท Arianespace ได้ทำการยิงนำส่งดาวเทียมจำนวน 53 ดวง จาก 13 ประเทศ แบ่งเป็น Microsatellite 7 ดวง และ Nanosatellite 46 ดวง หนึ่งในนั้นมีดาวเทียม “นภา-1” (NAPA-1) ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศ รวมอยู่ด้วย โดยทำการยิงนำส่งจากฐานยิงจรวด Guiana Space Center, French Guiana ดินแดนของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ สำหรับดาวเทียม นภา-1 เป็นดาวเทียมดวงแรกของกองทัพอากาศที่ยิงขึ้นสู่ชั้นอวกาศ เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ Nanosatellite […]

72E0DC15 AA1A 41D7 912E 2DAA9B70A923

ปตท. ประกาศจับมือ Plug and Play ก้าวสำคัญขององค์กรไทยในวันที่สตาร์ทอัพเบ่งบาน

หากเราย้อนมองไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองอย่างที่สุดของกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายนวัตกรรมจากองค์กรขนาดเล็ก แต่ศักยภาพไม่ธรรมดาเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมไปถึงการเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของผู้คนสะดวกยิ่งขึ้นกว่ายุคไหนๆ กลายเป็นรูปแบบการเติบโตของธุรกิจที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ อย่างในบ้านเรา ก็มีการขยับตัวครั้งสำคัญ ที่นำโดยกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง “ปตท.” ที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ “Plug and Play” บริษัทผู้พัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลกจาก Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ทั้ง PayPal, Dropbox และ Lending Club พร้อมวางเป้าหมายในการพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยตามแนวคิด PTT หรือ “Powering Thailand’s Transformation” ความน่าสนใจของการร่วมมือครั้งนี้อยู่ตรงที่ บริษัทของไทยจะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือและใหญ่โตที่สุดของโลกอย่าง Plug and Play ซึ่งมีประสบการณ์ดูแลสตาร์ทอัพด้วยระบบ Ecosystem ที่แข็งแกร่ง และถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน ด้วยการให้บริการที่รอบด้าน ได้แก่ Accelerator Program กับสตาร์ทอัพกว่าปีละ 50 ครั้ง ผ่านสาขาที่ตั้งอยู่ใน 32 เมืองทั่วโลก Plug and […]

เรือคนไทยสร้าง

เจ๋ง!!! EA เปิดตัว MINE Smart Ferry เรือไฟฟ้าลำแรก ฝีมือคนไทย

EA โชว์นวัตกรรม เรือพลังงานไฟฟ้าลำแรกของไทย ตั้งเป้าผลิต 25 ลำ ใช้งบกว่า 750 ล้านบาท เล็งให้บริการเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นนนทบุรี-สะพานตากสิน ต้นปี’64 นายสมโภชน์   อาหุนัย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์  จำกัด(มหาชน)   เปิดเผยว่า  ขณะนี้  MINE Smart Ferry หรือเรือพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทย 100%  ได้เสร็จสมบูรณ์ และจดทะเบียนเป็นเรือพลังงานไฟฟ้าเป็นลำแรกของไทย ด้วยความจุผู้โดยสารกว่า 200 คน ทั้งนี้เรือดังกล่าวขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 800 KWh ที่ผลิตได้จากบริษัทในกลุ่ม EA  โดยนำเทคโนโลยีการชาร์จ DC Fast Charger ของ EA Anywhere ที่ทันสมัยที่สุดของกลุ่ม EA  ที่สามารถชาร์จเร็วทั้งเรือและรถบัสไฟฟ้าได้ภายใน 15-20 นาที สามารถวิ่งได้เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ทาง EA มีแผนจะนำเรือไฟฟ้ามาเปิดให้บริการเป็นเรือโดยสารสาธารณะ วิ่งในแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่ปากเกร็ด […]

F15592EB D068 4222 9752 44A7019A05CD

จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่

เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์  จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100%  อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner