ครูกรีน The Modern Melody ด้วยความหวังและการเปิดใจจึงทำให้รอด
Episode 3 ผ่านไปแล้วอย่างสวยงาม กับคุยผ่าวิถีใหม่ ธุรกิจไทยต้องรอด ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” คุยฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดสถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งมีโอกาสพูดคุยกับครูกรีน AF หรือ นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ ศิลปินมากความสามารถ โค้ชพัฒนาบุคลิกภาพของไอดอลชื่อดังมากมายทั่วฟ้าเมืองไทย ที่มาในมาดนักบริหารธุรกิจด้วยแนวคิด “เซอร์วิสที่ดีต้อง Open Mind” พร้อมสร้างสรรค์หลักสูตรตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทุกรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และการถ่ายทอดทักษะต่าง ๆ ด้วยความสุข ทำให้วันนี้ The Modern Melody สามารถสร้าง Brand Loyalty ในหมู่ผู้เรียนหลากหลายรุ่น ทุกเพศทุกวัยไว้ได้อย่างเหนียวแน่น วิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ครูกรีนและทีมงานของเขาสามารถรังสรรค์คลาสดนตรี คลาสพูด และคลาสพัฒนาบุคลิกภาพผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยคุณภาพ และคลาสเรียนออนไลน์จะยังคง Move on ต่อไปตามคำเรียกร้องของลูกศิษย์แม้เมืองจะ Unlock แล้วก็ตาม ดูย้อนหลังได้ที่
จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่
วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]
จุฬาฯ ลุยสู้โควิด ส่งกองทัพหุ่นยนต์เซฟหมอ “CU-RoboCOVID” กว่าร้อยตัว พร้อมช่วยหมอทั่วประเทศแล้ว
7 เม.ย.63 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นำทีมโดยเจ้า “PINTO” มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานกันอย่างหนักตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเตรียมจัดส่งหุ่นยนต์นักรบอัศวิน “PINTO” (ปิ่นโต) จำนวน 103 ตัว มาสนับสนุนภารกิจนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot) หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag) “ปิ่นโต” (PINTO) สำหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตให้กับ สนจ. ในครั้งนี้ เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทำหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นำไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี “หุ่นยนต์นินจา” “หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่านระบบTelemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการได้ทันทีอีกด้วย” “สำหรับโครงการ CU-RoboCOVID เราได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เรามั่นใจว่า ในอนาคตน่าจะช่วยให้จุฬาฯ ก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป และต้องขอขอบคุณ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ บริษัท Obodroid ในฐานะผู้ผลิตที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ เป็นพันธมิตรที่ดีกับเรามาโดยตลอด” ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยว่า “สนจ. ทราบถึงความต้องการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อให้หมอและพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สู้ร่วมกันในภารกิจนี้ ตามมาตรการ Social […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.4 : Stadium One
“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 4 ชวนคุณมาคุยผ่าวิกฤติ หลังรัฐบาลคลายล็อกทั่วประเทศกับทางรอดและการปรับตัวของธุรกิจ Community Mall เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ และมาตรการความร่วมมือจากผู้ประกอบการในมอลล์ พบกับ กลุ่มนักธุรกิจไฟแรงผู้ปลุกปั้นโครงการ “Stadium One” Sports Community Lifestyle สุดฮิปของคนรักสุขภาพ “พี่ชัย-สิทธิชัย ศรีสงวนสกุล, พี่เขียง-ถนอมเกียรติ สัมมาวุฒิชัย และ พี่เต้ย-ณัฐภัค รีกิจติศิริกุล” พร้อมกูรูมากประสบการณ์ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ “คุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์” ผอ.ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาฯ ฝากคอมเมนต์ EP. 4 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/vfUAjjxWpLNpVBwq9 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.5 วันพุธที่ 25 มิ.ย. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
“CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE” จุฬาฯ สนอง Social Distancing ตรวจคัดกรองออนไลน์ หากลุ่มเสี่ยงสูง ลดงานหมอ แก้คนไข้ล้น ร.พ.
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจุฬาฯ กล่าวถึงระบบบริการตรวจสอบ COVID-19 อย่างรวดเร็วที่พัฒนาร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ คนไทยกำลังวิตกกังวลกันว่าท่านติดเชื้อไวรัสนี้แล้วหรือยัง เราจึงได้ออกแบบระบบการให้บริการใหม่ CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE ที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยในเบื้องต้นจากบ้านของท่านผ่านการทำแบบสอบถามสุขภาพออนไลน์บน Web Application ‘เป็ดไทยสู้ภัย’ และแพลตฟอร์ม Telemedicine 3 ตัว คือ ChiiWii, Dr.A-Z และ Raksa จนกรองผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง หรือ PUI ออกมาและตรวจเฉพาะกลุ่มนี้ด้วย COVID-19 Strip Test ที่กลุ่มสตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ของเราพัฒนาขึ้นทั้งแบบ Drive Thru และ Walk Thru ภายในไม่เกิน 10 นาที ท่านจะทราบผลการตรวจ หากผลเป็นบวก ท่านจะต้องไปตรวจ PCR ย้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันการติดเชื้อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หากผลออกมาเป็นลบ ท่านก็ยังต้องกักตัวเองต่อไปอย่างน้อยอีก […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP. 1 Nature Thai Massage ตุลย์ ภากร
หากคุณเป็นคนไทยที่อยากรอดตายในยุคโควิด-19 จะเป็นเจ้าของกิจการ ลูกจ้าง หรือลูกค้า เชิญจูงมือกันเข้ามาร่วมฝ่าวิกฤติ ปรับวิถีชีวิตสู่ New Normal กับเหล่ากูรูมากกระบวนท่า ที่ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ผ่าน Live Talk สุดชิค ทางแฟนเพจ “The Sharpener” และ “Chula Alumni” ประเดิม Ep. แรกกับธุรกิจนวดไทย-สปา จะเดินไปทิศทางไหน ให้เซอร์วิสมรดกโลกกลับมาผงาดอีกครั้ง พบกับ “ตุลย์ – ภากร ธนศรีวนิชชัย” เจ้าของธุรกิจนวดไทย-สปาชื่อดัง “Nature Thai Massage” พร้อม “ดร.ศรายุธ แสงจันทร์” อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และ CFO มิตรผล กูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” คืนนี้ 2 ทุ่ม ทาง The Sharpener และ Chula Alumni