Banner 137 01 1

จุฬาฯ สตาร์ทอัพรับมือโควิด ปั้นนวัตกรรมดูแลคนไทย

ปลายปี 2019 เมื่อโลกถูกเขย่าอย่างรุนแรงด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” ที่จวบจนทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา ปลุกให้หลายประเทศจำเป็นต้องลุกขึ้นมาออกมาตรการตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) รับมือกับโรคร้ายนี้เพื่อดูแลประชาชนคนในชาติของตนรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทั้งมาตรการปิดเมือง ล็อกดาวน์ประเทศ ปิดสนามบิน กำหนดสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ (State Quarantine & Local Quarantine) กำหนดเวลาเคอร์ฟิวเปิดปิดธุรกิจห้างร้าน รวมถึงมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลากหลายรูปแบบควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้มงวดและยืดหยุ่นระคนกันไปได้ผลดีมากน้อยแตกต่างกัน โดยหากเจาะลึกลงมาเฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทยที่ทั่วโลกต่างประสานเสียงชื่นชมคนไทยจนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Global COVID-19 Index (GCI) ยกให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ของการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งสำรวจจาก 184 ประเทศทั่วโลก และปัจจัยที่ทำให้ไทยก้าวมายืนหนึ่งเหนือคนทั้งโลกได้ในยามนี้ นอกจากความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนแล้ว คงเป็นนวัตกรรมจากกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ปวารณาตัวอาสาขอนำองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้บูรณาการให้สอดรับกับสถานการณ์เพื่อดูแลคนไทยอย่างสุดความสามารถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ในฐานะผู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่พร้อมยกระดับสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในช่วง 3-4 ปีไว้กว่า 180 ทีม จนมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท และสร้างกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ไว้อีกกว่า 2,000 ราย […]

Banner 138 02

จุฬาฯ สืบศาสตร์สานศิลป์ ชุบชีวินศิลปินไทย

อีกบทบาทหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ คือ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาองค์ความรู้และสิ่งทรงคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคมไทย  ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุน เอื้ออำนวย และให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการสำคัญเป็นที่ประจักษ์ชัด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี โครงการจัดทำวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน และโครงการจัดทำวีดิทัศน์องค์ความรู้การอนุรักษ์สงวนรักษาผลงานศิลปกรรม  มุ่งสืบสานมรดกดนตรีชาติ “จุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี”  หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านดนตรีไทยเพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่มีจุดเด่นเป็นหอสมุดดนตรีที่ให้บริการในระบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มุ่งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดทำโครงการบันทึกข้อมูลเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบันกว่า 30 ปี นับเฉพาะบทเพลงไทยมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเพลงนี้มีมากกว่า 10,000 เพลง  ปัจจุบันหอสมุดดนตรีไทยมีภารกิจหลักให้บริการสืบค้นข้อมูลเพลงไทยด้วยระบบสารสนเทศแก่นิสิต นักศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป ทั้งด้านไฟล์เสียง วีดิทัศน์ และหนังสือหายากทางดนตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยชิ้นสำคัญอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2561 […]

Banner 138 01

หลงเสน่ห์นวัตกรรม Siam Innovation District เบื้องหลังความสำเร็จหมื่นล้านของสตาร์ทอัพไทย

กว่า 3 ขวบปีแล้วที่เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม “Siam Innovation District” (SID) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย CU Innovation Hub เปิดพื้นที่อุดมปัญญากว่า 1,000 ตารางเมตร ใจกลางเมืองหลวงย่านสยามสแควร์ให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาคนไทยให้เป็นที่รู้จักบนเวทีโลกผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะต่อยอดมากมายทั้งกิจกรรมเวิร์คชอป กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ นิทรรศการ และจัดแสดงตัวอย่างนวัตกรรมฝีมือคนไทย มากกว่าร้อยกิจกรรม และยังเปิดให้ใช้เป็น Co-working Space โดยมีผู้หลงเสน่ห์นวัตกรรมเข้ามาใช้พื้นที่ได้ฟรีแล้วมากกว่า 50,000 คน  จนพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นชุมชน Smart Intelligence Community บ่มเพาะนักนวัตกร Startups สัญชาติไทยได้กว่า 180 ทีม อาทิ Baiya Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID, Tann D, VIA BUS เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความหวังใหม่ให้ประเทศไทยได้ใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค Digital Disruption โดยมีมูลค่าตลาดขณะนี้รวมมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ยังประโยชน์ไปสู่คนไทยมากกว่า […]

Banner 137 03

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร อีกทั้งยังบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้อีกหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น  จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน อาทิ นิทรรศการ “กายวิจิตร” นำเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับการนำเสนอด้านศิลปกรรมศาสตร์, นิทรรศการ “อนันตกาล” (FOREVER) กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและคติความเชื่อทางศาสนา, นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข : Rest In Progress ผู้สร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ ผู้เป็นกำลังใจของผู้สูงวัย […]

Banner 137 02 1

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA ‘CU-Cov19’

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบขวบปี ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ บุคคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศ  หากแต่การระงับยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายนี้เพื่อเยียวยา และกู้สถานการณ์ให้คนบนโลกกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแข็งแรงยังจำเป็นต้องรอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้จริงได้ในเร็ววัน  ด้วยเหตุนี้ ภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกจึงได้ผนึกกำลังพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างหลากหลายไม่ใช่เพื่อช่วงชิงความเป็นที่หนึ่ง หากแต่เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ  ครั้งนี้เราได้เห็นการทำงานอย่างหนักของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในภารกิจระดับโลกเฉกเช่นที่เคย ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า “ ศูนย์ของเราทำงานภายใต้พันธกิจ ‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ ซึ่งก่อนหน้านี้เราทำงานมุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิด (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) […]

Banner 133 04

จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย

ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่  ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

Banner 133 03

“MDCU Let’s Talk” น้องหมอจุฬาฯ เลิกเครียด ส่งรุ่นพี่ คุยเสริมสุข นอกห้องเรียน

แพทย์ จุฬาฯ จัด “MDCU Let’s Talk” ส่งแพทย์รุ่นพี่และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับนิสิตแพทย์ทุกชั้นปี คลายภาวะกดดันจากการเรียน หวังส่งบัณฑิตถึงฝั่งยกรุ่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ใส่ใจสุขภาพจิตนิสิตแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากภาวะเครียดจากการเรียน จึงได้จัดโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อการเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างมีความสุข” (MDCU Let’s Talk)” บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่นิสิตแพทย์ทุกชั้นปีผ่านการเข้ารับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Behavioral Therapists) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ และนักจิตวิทยาการศึกษา ผศ. นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร วิทยากรประจำโครงการเผยว่า “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 6 ปี เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชามีปริมาณมากและค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับกรอบระยะเวลา และมักสร้างความท้อแท้ หมดกำลังใจระหว่างเรียน จนนิสิตแพทย์เกิดภาวะเครียดสะสม บางรายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพอจะเห็นได้อยู่เนือง ๆ จากการดำเนินงานของโครงการ MDCU Let’s Talk ในปีที่ผ่านมา มีนิสิตแพทย์ให้ความสนใจขอเข้ารับบริการ จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน ซึ่งหลังจากติดตามผลการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ […]

Banner 135 01

ศึกษาธิการปั้น “ชลกร” ช่วยบริหารจัดการน้ำ

“น้ำแล้ง” อีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทยที่ทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขปัญหา เพราะเมื่อพื้นที่ไหนขาดแคลนน้ำล้วนก่อให้เกิดความลำบากต่อทุกส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร การทำการเกษตรทุกรูปแบบต้องอาศัยน้ำเป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 63 กระทรวงศึกษาธิการ “วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี” และ”คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ)” เปิด“โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธินโยบายสาธารณะไทยเบื้องต้น 100 ล้านบาท ในการสร้าง “ชลกร” คนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำในชุมชนต่างๆ พร้อมทั้งสร้างโมเดลต้นเเบบการกักเก็บน้ำรองรับน้ำฝน บนพื้นที่อาชีวะเกษตรก่อนขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ “ชุมชนต้องมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ” โดยจะมีการสนับสนุนให้องค์ความรู้ และกระทรวงศึกษาจะใช้กลไกของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 47 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 176 แห่งทั่วประเทศเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้หลักสูตรสร้างชลกร จะเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพื่อช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชนด้วยตนเอง และสร้างประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อชีวิตที่พอเพียง โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนให้สามารถดำเนินการต่อเองได้ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษากำลังออกแบบหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้แต่ละวิทยาลัยได้นำไปจัดการเรียนการสอน สร้างชลกรในสถานศึกษา หน้าที่ของชลกรชุมชน ชลกรชุมชน หรืออาสาสมัครคนปลูกน้ำ เป็นบุคคลต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ที่ได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชาแล้วและนำองค์ความรู้ที่ได้รับกลับไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านและคนในชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม เน้นให้ชาวบ้านลงมือปฏิบัติเองได้ เพื่อยกระดับชุมชน ให้มีน้ำใช้ แก้แล้ง แก้จน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน หลักสูตรชลกร จะเป็นการจัดการเรียนการสอน การสร้างนักบริหารจัดการน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำให้เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน และได้ลงไปช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนของตนเอง […]

Banner 133 01

จุฬาฯ ชูเพศเท่าเทียม ติวเข้มแม่วัยใส คลอดคู่มือสุขภาพคนข้ามเพศ

เพราะความรู้เรื่องทางเพศในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปไกลกว่าที่เคย ทั้งการศึกษาธรรมชาติของความเป็นเพศมนุษย์ด้านกายวิภาค สรีระ และพฤติกรรม จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้มีประกาศออกมาว่า “มนุษย์มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือทนทุกข์ทรมานได้จากความเป็นเพศมนุษย์เอง” และจัดให้เรื่องทางเพศเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพอนามัย (Health) ของมนุษย์ พร้อมเรียกร้องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health Service) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (Promotive Care)  การป้องกันโรค (Preventive Care) การรักษาโรค (Curative Care) และการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitative Care) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศที่อาจเกิดขึ้น นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตมีความสุขจากความปลอดภัยทางเพศ หรือที่เรียกว่า สุขภาวะทางเพศที่ดี (Sexual well-being) เมื่อมองย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทางเพศในประเทศไทย พบว่าปัญหาการเพิ่มประชากรจากการมีบุตรมากและมีบุตรถี่ขึ้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติและกำลังสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของคนในครอบครัวแบบองค์รวม จากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า “ปัญหาแม่วัยใส” วัยรุ่นหญิงไทยตั้งครรภ์และคลอดบุตรในวัยรุ่นโดยเฉพาะช่วงอายุ 10-19 ปี นั้น มีทั้งสิ้น 84,578 ราย ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าในแต่ละวันจะมีทารกที่เกิดขึ้นจากวัยรุ่นหญิงกลุ่มนี้เฉลี่ยสูงถึงวันละ 232 ราย […]

4FDD9BF9 A150 42DE 951F 65CD682DEF19

4 กลยุทธ์สร้างการเติบโต RS Mall ในปี 2021

RS Mall แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการ ธุรกิจคอมเมิร์ซที่สร้างรายได้หลักให้กับ RS GROUP ตั้งเป้าการเติบโตในปี 2021 ไว้ที่ 30% จาก Inbound ที่มาจากช่อง 8, ช่องทีวีดิจิทัลพันธมิตร และช่องทีวีดาวเทียม และ ช่องทาง Outbound จาก telesales รวมทั้งเติบโตเพิ่มขึ้น 2 เท่าสำหรับช่องทางออนไลน์ โดยวาง 4 กลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตได้ตามเป้า ได้แก่ • การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าหลักของอาร์เอส มอลล์ และจัดหาสินค้าเฉพาะ ผ่าน RS Mall เท่านั้น ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน • เป็น Virtual Store ที่โดดเด่นและได้เปรียบการเป็น Virtual Store ที่ที่มีรูปแบบการให้บริการผ่านเจ้าหน้าที่ที่พร้อมจะให้คำอธิบายบนทุกปัญหาสุขภาพ กลับสามารถทำให้ลูกค้ามั่นใจและปิดการขายได้มากกว่าร้านค้าออนไลน์ทั่วไป • มีระบบ CRM ที่แข็งแรงการสร้างระบบ CRM ที่แข็งแรง จะสามารถสร้างการซื้อซ้ำได้กว่า 2.4 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner