เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 2 มี.ค. 64

วันนี้ (2 มี.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 42 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 26,073 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 569 ราย หายแล้วจำนวน 25,420 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 96 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 84 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.)ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 1 มี.ค. 64

วันนี้ (1 มี.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อราย 80 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 26,031 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 624 ราย หายแล้วจำนวน 25,324 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 196 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ส่วนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ขณะนี้มาถึงประเทศไทยแล้ว เริ่มฉีดใน กทม.วันนี้ โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ที่พร้อมจะให้บริการ วัคซีนโควิด-19 ในระยะแรก ประกอบด้วย โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 28 ก.พ. 64

วันนี้ (28 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อราย 70 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,951 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 740 ราย หายแล้วจำนวน 25,128 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 106 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 27 ก.พ. 64

วันนี้ (27 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 72 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,881 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 776 ราย หายแล้วจำนวน 25,022 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 70 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 26 ก.พ. 64

วันนี้ (26 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 45 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,809 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 774 ราย หายแล้วจำนวน 24,952 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 218 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

Banner 149

‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64

แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย  จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้  ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 25 ก.พ. 64

วันนี้ (25 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 72 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,764 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 947 ราย หายแล้วจำนวน 24,734 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 192 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 24 ก.พ. 64

วันนี้ (24 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 93 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,692 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,067 ราย หายแล้วจำนวน 24,542 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 96 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.)ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

Banner 148

จุฬาฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลดื่มได้ต้นแบบ ใช้ถ่านกระดูกแก้ฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน

น้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำรองที่คนไทยใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตจ่ายน้ำประปาของทั้งการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณดังกล่าวนิยมขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่อยู่ 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้ (พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง) พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลําพูน โดยในปี พ.ศ.2551 สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลทางอุทกธรณีวิทยา พบว่าแหล่งน้ำบาดาลสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือของไทยอย่างพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนนั้น มีปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยสูงเกิน 1.5 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ไม่ให้ค่าฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 ppm อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเขตภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนของภาคเหนือ กล่าวคือ เมื่อน้ำผิวดินไหลผ่านชั้นหินที่มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่มาก ไหลชะลงมาจนกลายเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลในแหล่งนี้มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไปด้วย   แม้ว่าฟลูออไรด์จะเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุได้ดีในมนุษย์ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไปในระยะยาวอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำบาดาล อาทิ ฟันตกกระ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สมรรถนะของสมองทำงานลดลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนากระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักบริหารกิจการนิสิต และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ภายใต้การสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ มูลนิธิรากแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพคนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลต้นแบบ โดยพัฒนากระบวนการการดูดซับ (Adsorption) […]

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 23 ก.พ. 64

วันนี้ (23 ก.พ. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 95 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 25,599 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,070 ราย หายแล้วจำนวน 24,446 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 85 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 83 ราย ที่ประชุมศบค. เคาะแล้ว! ต่อพรก. ฉุกเฉินอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 31 มี.ค. 64 พร้อมผ่อนคลายมาตรการเพิ่มในหลายพื้นที่ ร้านอาหารเปิดให้บริการถึง 23:00 น. สามารถดื่มสุราและเล่นดนตรีสดได้ แต่ให้งดเต้นรำ (ยกเว้นพื้นที่สีแดง จ.สมุทรสาคร) ที่มา : ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.)ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner