กฟผ. เปิดซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ดันกลไกใหม่ช่วยไทยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า
(เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายเร็วกว่ากำหนด ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายใบรับรองการผลิตเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่าภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จลดก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าเปิดซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน อภิปรายภายในงานว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก 4 ด้านสำคัญได้แก่ ด้านนโยบายและแผนพลังงาน ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 คาดจะลดได้ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะประเมินตามแนวทางการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1 ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกเฟสแรกได้ก่อนเวลาที่ NAMA/ COP21 กำหนด จากการขับเคลื่อนมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 ที่ทำมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ กฟผ. ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (กฟผ. และ IPP) ประจำปี 2562 ได้รวม 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันเป็นผลมาจากความร่วมมือของ กฟผ. และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ด้านการประสานความร่วมมือ โดยสร้างภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย โดยผลการลดดังกล่าวได้นำส่งกระทรวงพลังงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA REC กลไกสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสร้างความยั่งยืน Renewable Energy Certificate หรือ REC เป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน ที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบ REC โดยหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC) แนวโน้มการเติบโตของตลาด REC พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิก RE100 ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันความต้องการขาย REC ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ลงทะเบียนกับมาตรฐาน I-REC แล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 750 MWp กฟผ. เปิดซื้อขาย REC รายแรก […]