วันนี้ ( 8 เม.ย. 64) พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 405 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 30,310 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 2,114 ราย หายแล้วจำนวน 28,101 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 32 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 95 ราย
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 9 เม.ย. 64
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 7 เม.ย. 64
Related Posts
‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64
แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 13 มี.ค. 64
วันนี้ (13 มี.ค. 64) พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 78 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 26,757 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 585 ราย หายแล้วจำนวน 26,086 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 30 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตสะสม 86 ราย นายกฯ-ครม. เลื่อนฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาออกไปก่อน วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2564 นพ.อภิชาติ วชิรพันธ์ แจ้งกับสื่อมวลชนก่อนเริ่มพิธีฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบ.แอสตราเซนเนกา ให้กับคณะรัฐมนตรี ว่าจำเป็นต้องเลื่อนการฉีดออกไปก่อน เนื่องจากมีผลข้างเคียงและเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในผู้รับวัคซีนบางราย เกิดการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดดำ พบที่ประเทศเดนมาร์กและออสเตรีย บางประเทศในยุโรปจึงชะลอการฉีดวัคซีนโควิด-19ของแอสตราเซนเนกาไปก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการฉีดไปเป็นจำนวนนับล้านโดสแล้วก็ตาม เมื่อได้รับรายงานดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมติให้ชะลอการฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกาเช่นกัน เพราะเห็นว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการชะลอออกไป 5-7 วัน หรือ 2 สัปดาห์ไม่ทำให้เกิดผลกระทบมากนัก ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบ.เอสตราเซนเนกาในประเทศแถบยุโรป […]
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 31 ก.ค. 63
วันนี้ ( 31 ก.ค. 63 ) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6 ราย ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อภายใน State Quarantine ทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 3,310 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 127 ราย หายแล้วจำนวน 3,125 ราย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 14 ราย (มากกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่ม 8 ราย) ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข