จุฬาฯ ลุยสู้โควิด ส่งกองทัพหุ่นยนต์เซฟหมอ “CU-RoboCOVID” กว่าร้อยตัว พร้อมช่วยหมอทั่วประเทศแล้ว
7 เม.ย.63 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นำทีมโดยเจ้า “PINTO” มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานกันอย่างหนักตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเตรียมจัดส่งหุ่นยนต์นักรบอัศวิน “PINTO” (ปิ่นโต) จำนวน 103 ตัว มาสนับสนุนภารกิจนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot) หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag) “ปิ่นโต” (PINTO) สำหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตให้กับ สนจ. ในครั้งนี้ เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทำหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นำไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี “หุ่นยนต์นินจา” “หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่านระบบTelemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการได้ทันทีอีกด้วย” “สำหรับโครงการ CU-RoboCOVID เราได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เรามั่นใจว่า ในอนาคตน่าจะช่วยให้จุฬาฯ ก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป และต้องขอขอบคุณ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ บริษัท Obodroid ในฐานะผู้ผลิตที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ เป็นพันธมิตรที่ดีกับเรามาโดยตลอด” ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยว่า “สนจ. ทราบถึงความต้องการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อให้หมอและพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สู้ร่วมกันในภารกิจนี้ ตามมาตรการ Social […]