Banner 194

ทานน์ดี นวัตกรรมอาหาร เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี

The Shapener พาคุยกับ ผศ.ดร. สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้ง ทานน์ดี (Tann:D) อาจารย์แอมกล่าวว่าทานน์ดี ต้องการให้คนไทยทั่วไปมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน เลยทำให้นวัตกรรมของทานน์ดี เป็นนวัตกรรมที่มีความแตกต่างส่งเสริมสุขภาพโดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำออกมาคือเส้นโปรตีนจากไข่ขาวไม่ผสมแป้งเพื่อที่จะทำให้คนไทยดูแลตัวเองได้แบบง่าย ๆ และได้โปรตีนอย่างเพียงพอ Tann:D ทำไมถึงดีต่อผู้ป่วย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะโรคจากการมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ผลิตภัณฑ์ของทานน์ดี 1 ห่อจะให้พลังงานเพียงแค่ 35 กิโลแคลอรีหรือเท่ากับแอปเปิ้ลครึ่งลูกเพียงเท่านั้น หากเทียบกับเส้นทั่ว ๆ ไปในปริมาณที่เท่ากัน ทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าอย่างน้อยถึง 2 เท่า แต่ถ้าเทียบกับเส้นอุด้งแล้วเส้นไข่ขาวของทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าถึง 5 เท่า เหตุนี้จึงทำให้คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก สามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี หรือคนเป็นโรคเบาหวานสามารถที่จะทานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลเกิน คนที่ต้องการโปรตีน ผู้ป่วยที่ล้างไต หรือคนไข้โรคมะเร็ง ก็สามารถทานเส้นไข่ขาวได้ อีกทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักสุขภาพ ที่ต้องการดูแลร่างกายของตนเอง Tann:D ทำเมนูอะไรดี  ทานน์ดีสามารถทำได้ทั้งของคาวและของหวาน  เมนูโปรดของผู้ใหญ่ที่ซื้อทานน์ดีไปรับประทานคือนำเส้นอุด้งไข่ขาวไปใส่กับน้ำเต้าหู้ จัดเป็นเมนูของหวานที่ได้รับความนิยม หากเป็นเมนูอาหารคาวที่รสจัดหน่อย ก็สามารถนำไปแทนเส้นขนมจีน ทำเป็นเส้นทานน์ดีกับน้ำยากะทิ หรือนำไปทานคู่กับส้มตำ ก็ได้ […]

Banner 195 0

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เริ่มฉีดทดสอบในคนแล้ว เล็งปรับสูตรวัคซีนดักทางโควิด

วันนี้ (29 ก.ย.64) ความคืบหน้าวัคซีนโควิดสัญชาติไทย “จุฬาฯ-ใบยา” วัคซีนความหวังของคนไทยรุดหน้าไปอย่างก้าวกระโดด ล่าสุด ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยกลางงานเสวนา Thailand COVID-19 Vaccine Forum 2021 จัดโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติว่า “สำหรับวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด protein subunit vaccine ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบในคลินิก ซึ่งเดือน ก.พ. ได้วัคซีนต้นแบบและทดสอบในสัตว์ทดลอง ทั้งความปลอดภัย ความสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการทดสอบหลังปรับเปลี่ยนสูตรวัคซีนให้อยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาได้นานอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นทดสอบความเป็นพิษ และความสามารถกระตุ้นภูมิระยะยาว โดยการทดสอบในลิงผลค่อนข้างดี ส่วนเรื่องการผลิตนั้น ได้มีการออกแบบโรงงานผลิตของใบยา โดยใช้เวลา 10 เดือน ขณะนี้ได้ผลิตรีลิสต์ตัวโปรดักส์ และสัปดาห์นี้วัคซีนได้ทดสอบในมนุษย์กลุ่มแรกแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาใน 4 คนแรก และวันพรุ่งนี้(30 ก.ย.) จะฉีดกลุ่มที่เหลือต่ออีก นอกจากนี้ […]

Banner 193

คนเมืองโอ่งเฮ หมอกำธรมาแล้ว! สนจ.ลุยกู้โควิดราชบุรี มั่นใจใช้โมเดล ‘กล่องรอดตาย’ ติดตามคนไข้ท้องถิ่นผ่าน LINE OA ได้ผลดีเกินคาด

8 ก.ย.64 หลังเข้ารับตำแหน่งใหม่อย่างเป็นทางการได้เพียง 1 วัน ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ มอบกล่องรอดตายและถุงยังชีพให้ผู้ป่วย Home Isolation และร่วมรับฟังผลสรุปการนำ “กล่องรอดตาย” และระบบติดตามอาการผู้ป่วย Home Isoloation ทางไกลผ่าน LINE Official Account “หอผู้ป่วยกล่องรอดตาย” มาใช้นำร่องในพื้นที่โดยมีแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และทีมอาสาสมัครกล่องรอดตายราชบุรี ร่วมประชุมด้วย นำโดย นายวศิณ หุ่นกลอย สารวัตรกำนันตำบลบ้านไร่ พญ.มุกรินทร์ เอี่ยมเมตตา แพทย์หัวหน้าทีมดูแลผู้ป่วยโควิด19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก และนางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ นางณัฐกาญจน์ ศรีสุพพัตพงษ์ ผอ.รพ.สต.บ้านไร่ กล่าวว่า “กล่องรอดตายถือว่าได้เข้ามาเติมเต็มให้การทำงานในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น […]

Banner 192

ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์  โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน      โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]

Banner 190 1

“เตือนแล้วนะ! อย่าซื้อ Ivermectin มากินเอง”

ร่วม 2 ปีแล้วที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นวิกฤติการณ์ใหญ่ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มวลมนุษยชาติยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะเชื้อร้ายนี้ ทั้งคิดค้นวัคซีนเพื่อมาป้องกันและสรรหายาหลากชนิดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียชีวิตผู้ป่วย เราจึงได้เห็นความพยายามของหลายประเทศมุ่งใช้ทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ค้นคว้าวิจัยให้ได้วัคซีนและยา หรือนำยาที่เคยมีอยู่แล้วนำกลับมาศึกษาค้นคว้าใหม่ รวมถึงการเลือกใช้ยาที่ใช้ได้ผลดีในสัตว์มาใช้กับมนุษย์อย่าง “Ivermectin”  “Ivermectin” เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ โดยประโยชน์หลักของยาตัวนี้สามารถใช้กำจัดปรสิตได้ทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ สัตวแพทย์จะมีวิธีใช้ยานี้ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป อย่างการรักษาโรคติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ สัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุด ส่วนโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ไรในหู โรคติดเชื้อพยาธิตัวกลมและการกำจัดเห็บปรสิตของสัตว์บางชนิดอย่างสุนัขและแมวมักใช้ยาขนาดกลาง แต่ถ้าสัตว์เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกนั้นก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรทราบคือ Ivermectin เป็นยาที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้กับปศุสัตว์ในพวกสุกร โค กระบือ จึงมีความข้นสูงมาก การนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงจึงจัดเป็นการใช้แบบ extra-label use คือนำมาใช้นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตได้ขอขึ้นทะเบียนไว้นั่นเอง ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ลักษณะของยาที่ใช้กำจัดเห็บนั้นในบางยี่ห้อมีลักษณะหนืดข้นคล้ายน้ำมัน อาจทำให้สัตว์ที่ได้รับการฉีดยาที่ผิวหนังนั้นจะค่อนข้างแสบผิวมากโดยเฉพาะสุนัขนั้นอาจจะไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของยานี้คือเหมาะกับสุนัขที่ป้อนยายาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับยาหยดหลังนั้น อีกทั้งยังช่วยครอบคลุมการถ่ายพยาธิตัวกลม และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ ด้วยข้อแนะนำที่สำคัญคือกรณีใช้ยาเพื่อกำจัดเห็บนี้ควรจะใช้ในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจไม่ควรนำมาใช้ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีความไวต่อยานี้ เช่น พันธุ์คอลลี่ พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก และพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในสุนัขขนาดเล็ก […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner