Banner 147

เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต (life supporting system) ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ (ecosystem services) ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน อาทิ แหล่งกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บธาตุอาหาร ดักจับสารพิษ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ เป็นเส้นทางคมนาคม ตลอดจนเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ราว 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมพัฒนาและบุกรุกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกษตร การประมง การขยายตัวของเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขง ที่แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำเหลือแต่กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมและไม่ได้รับความใส่ใจอนุรักษ์และจัดการอย่างเป็นระบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบองค์รวมโดยร่วมลงนามในข้อตกลงก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The University Network for […]

Banner 140 01

จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุนใช้ 4 นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทยต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชีย ร่วมกับศูนย์ยุโรปศึกษา และหลักสูตรบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลดล็อคใบเหลืองให้ประเทศไทยได้สำเร็จ จากกรณีสหภาพยุโรปได้จัดให้การทำประมงไทยอยู่ในกลุ่มผิดกฎหมาย ด้วยการดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล พ.ศ. 2560-2561” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานประมงไทยพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาครัฐผลักดันนโยบายสวัสดิการแรงงานในกลุ่มประมงพื้นบ้าน และยังมีส่วนช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศท้องทะเลที่เคยได้รับผลกระทบจากการทำประมงมากเกินไปผ่านการกำหนดนโยบายควบคุมระยะเวลาออกเรือพร้อมรายงานการจับสัตว์น้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2561 ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือที่ช่วยให้ประเทศสามารถปลดล็อคใบเหลือง IUU จากสหภาพยุโรป เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2561 พร้อมได้รับการเลื่อนลำดับความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับจากระดับ 3 ขึ้นมาเป็นระดับ 2 ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2561  ผ่านกระบวนการจัดประชุมสู่การออกแบบนโยบาย อาทิ […]

Banner 140 03

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ จากองค์ความรู้ “วิทยาศาสตร์ทางทะเล” สู่การพัฒนา “แสมสารโมเดล” “แสมสารโมเดล” หรือ แสมสารไร้ขยะ เป็นหนึ่งในโครงการท้องทะเลไทยไร้ขยะ ภายใต้ “โครงการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของชุมชนในการลดและแยกขยะเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลพื้นที่แสมสาร” ดำเนินงานโดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาและวิจัยผลกระทบของขยะทะเลและไมโครพลาสติกที่มีผลต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ในพื้นที่นำร่องชุมชนแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากความร่วมมือในระดับท้องถิ่นนำโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร  กองทัพเรือสัตหีบ และประชาชนในพื้นที่ ได้กำหนดแนวทางการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกอนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกับชุมชน พร้อมถ่ายทอดความรู้เรื่องการลดและแยกขยะให้กับชุมชนจนกลายเป็นนวัตกรรมทางสังคมผ่านการศึกษาวิจัยการมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึก และการสร้างชุมชนเข็มแข็ง โดยได้บูรณาการองค์ความรู้ “Chula Zero Waste” ที่ทดลองนำมาใช้จัดการปัญหาขยะภายพื้นที่จุฬาฯ จนสำเร็จแล้ว ขยายผลมายังชุมชนแสมสาร โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (The Japan International Cooperation Agency หรือ JICA) […]

Banner 140 02

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60

ปูม้า เป็นสัตวน้ำเค็มที่คนไทยนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายและเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้การทำประมงชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 28,800 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3,243 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ.2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยมีผลผลิตปูม้าอยู่ราว 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคของตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งออก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ชาวประมงไทยเคยใช้แร้วปูม้าแบบขอบเดียวต่างหันมาใช้ลอบปูม้าแบบพับได้และอวนลอยปูม้า อีกทั้งยังได้พัฒนาอวนลอยปูม้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นอวนแบบจมซึ่งสามารถหย่อนลงได้ถึงก้นทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการจับปูม้าและเพิ่มโอกาสจับสัตว์น้ำพลอยจับได้ ซึ่งการดัดแปลงอุปกรณ์ในข้างต้นส่งผลให้ทรัพยากรปูม้าไทยถูกจับมาบริโภคเกินกำลังการขยายพันธุ์ของปูม้าตามธรรมชาติ จนอาจเป็นเหตุให้ปูม้าไทยใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงปูม้า โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปูม้าให้สามารถผลิตตัวอ่อนที่แข็งแรงเหมาะสมต่อการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติช่วยเพิ่มสมดุลให้ประชากรปูม้าในระบบนิเวศได้อีกทางหนึ่ง  มากไปกว่านั้น ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกแห่งนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายหลักระดับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอเกาะสีชัง โดยมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นแล้วจำนวน 22 แห่ง และยังมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงภายในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายรองอีกจำนวน 3 แห่ง ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องประมงปูม้าของผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้คนในชุมชนเกาะสีชังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกรวมถึงร่วมกันติดตามสถานการณ์การทำประมงปูม้าในพื้นที่เกาะสีชังอีกด้วย […]

Banner 142 04

นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก

แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย  ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี  ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย  การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

Banner 133 04

จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย

ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่  ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

bannerq0 01

พี่เก่าจุฬาฯ ส่งข้าวคึกคัก วิดยายังรั้งอันดับ 1 อักษร-บัญชีติดท้อป 5 แล้ว

20 มิ.ย. 2564 ผ่านมา 35 วันของภารกิจข้าวแสนกล่องที่ได้รับบริจาคอาหารกล่องแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 156,936 กล่อง โดย 3 อันดับแรกผู้บริจาคสูงสุดได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มียอดบริจาค 11,110 กล่อง การไฟฟ้านครหลวงกับยอดบริจาค 10,000 กล่อง และคณาจารย์ บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย และผู้มีจิตศรัทธา มียอดบริจาครวม 8,300 กล่อง วันนี้ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับบริจาคข้าวกล่องทั้งสิ้น จำนวน 4,168 กล่อง เพื่อส่งต่อให้ผู้ที่ยังรอรับการช่วยเหลือในชุมชนแออัดพื้นที่กรุงเทพฯ นับแสนราย โดยมีผู้ร่วมบริจาคอาหารกล่องมาอย่างมากมาย อาทิ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร โรงแรม และ ผู้มีจิตศรัทธาอีกหลากหลายมาร่วมสมทบด้วย นอกจากนี้ยังนำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 20 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง โรงพยาบาลสนามพระมงกุฏ มูลนิธิดวงประทีป มูลนิธิเพื่อนหญิง ชุมชนคลองไผ่สิงโต ชุมชนคลองเตยล็อก […]

Banner 108

นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95

ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์  โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ  และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com

F15592EB D068 4222 9752 44A7019A05CD

จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่

เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์  จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100%  อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]

Banner 67 2

จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่

วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner