เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 22 ธ.ค. 63
วันนี้ (22 ธ.ค. 63) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 427 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 5,716 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 1,578 ราย หายแล้วจำนวน 4,078 ราย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้รักษาหายเพิ่มเติม 25 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมโดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รองนายกฯ ‘อนุทิน’ หนุน “ทีมไทยแลนด์” เร่งผลิตวัคซีนจุฬาฯ ใช้เอง ดึงคนไทยมีส่วนร่วมบริจาคห้าร้อยบาทให้ถึงล้านคน
วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน เร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมพัฒนาวัคซีนสานฝันคนไทยมีวัคซีนใช้เองจากฝีมือคนไทย 100% คาดพร้อมใช้ปลายปี 2564 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” เปิดรับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน รวม 500 ล้านบาท เพื่อเร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชเพื่อทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 ระหว่างองค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บริษัท ใบยา […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.9 “FIT-D” ธุรกิจ ฟิตเนส
กิจวัตรประจำวันของเหล่าคนรักสุขภาพ คือการออกกำลังกายเข้าฟิตเนส แต่เมื่อเกิดโควิด-19 ทำให้สถานที่สร้างเสริมสุขภาพ กลับกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เสี่ยง “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 9 ชวนคุณมาร่วมฝ่าวิกฤติ ปรับวิถีชีวิตสู่ New Normal ไปกับ “เจเจ – เจตต์ กลิ่นประทุม” และ ”จอม- โศรัจ แวววิริยะ” จากผู้ที่รักการออกกำลังกาย สู่การก่อตั้ง “FIT-D” ฟิตเนส ที่อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีกันอย่างแท้จริง พร้อมกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “สมภพ โปษะกฤษณะ” ประธานกอล์ฟ สนจ. ฝากคอมเมนต์ EP. 9 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/GUpz9GvYKCfudwJA9 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.10 วันพุธที่ 29 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
สำรวจความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จาก ‘ทีมไทยแลนด์’ ผลิตเอง ใช้เอง ความหวังของคนไทยทั้งประเทศ
ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว หลังเริ่มพบการแพร่ระบาดของ ‘โควิด-19’ หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพัฒนาวัคซีนสำหรับรับมือกับโควิด-19 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ทั้งโลกจับตามอง เพราะจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตและการเดินทางมากยิ่งขึ้น ทว่าการพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลจาก พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากจดหมายข่าว ‘แวดวงวัคซีน’ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ 1 ชนิดอาจกินเวลาถึง 10-15 ปี อันเนื่องมาจากการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูง หลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลองแล้วก็ต้องนำไปทดสอบในคนอีก 3 ระยะ ก่อนจะนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนนำมาใช้ แต่การระบาดของอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนที่เร่งรัดจนสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกิดความหวังของการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็วเมื่อมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าเราจะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้พร้อมสำหรับการแจกจ่ายเมื่อใด แต่ก็คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงต้นถึงกลางปี 2021 นี้ และขณะนี้เราก็ได้เห็นความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือรัสเซีย ส่วนประเทศไทยนั้นมีทั้งแนวทางการจัดหาวัคซีนจากต่างประเทศ การเตรียมการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการวิจัย-พัฒนาวัคซีนเองภายในประเทศ โดยกรณีของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนภายในประเทศนั้น ประเทศไทยมีทีมนักวิจัยและพัฒนาวัคซีนจากหลายหน่วยงานที่กำลังทำงานเพื่อค้นหาวัคซีนสำหรับโควิด-19 เราจะลองมาสำรวจตัวอย่างของทีมพัฒนาวัคซีนเหล่านี้ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากฝีมือคนไทยกัน วัคซีนจุฬาฯ คืบหน้า เริ่มจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด […]
เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’
หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]
วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ผนึกพลังสู้ PM2.5 พัฒนา Sensor for All ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ แอพพลิเคชันที่คิดค้นโดยคนไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุฝุ่นพิษ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแถลงข่าวและประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล […]
โรงไฟฟ้าจากขยะสุดล้ำ เป็นพื้นที่สาธารณะ เล่นกีฬา ปีนผา สกี ที่สีเขียวอยู่ในเดนมาร์ก
CopenHill เป็นโรงงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนขยะจากในเมืองมาเป็นความร้อนและพลังงาน แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโรงไฟฟ้าคือมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถให้ทุกคนมาใช้ได้ และการที่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้เปิดให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้นั้นไม่ปล่อยสารพิษออกมาจากปล่องควันเลย มีเพียงแค่ไอน้ำเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา โรงงานไฟฟ้า CopenHill ตั้งอยู่ในประเทศเดนมาร์ก เป็นผลงานการออกแบบโดย bjarke ingels group โดยนอกจากมันจะทำหน้าที่เป็นโรงงานไฟฟ้าและมันยังมีพื้นที่ให้เล่นกีฬาและเดินเล่นอีกด้วย แถมมันยังเป็นที่ปีนผาที่สูงที่สุดในโลกอีกต่างหาก สำหรับสายลุยชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งหากเดินทางมาที่นี่ก็จะได้เล่นทั้งเวคบอร์ด โกคาร์ท สกี เดินป่า และปีนผาเลยทีเดียว หรือถ้าหากมาเป็นสายชิล ชอบกินลมชมวิวก็สามารถมาเพลิดเพลินได้ที่นี่เช่นกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ราบสูงซึ่งสูงที่สุดในเมือง และมีเส้นทางที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเลยทีเดียวแหละ หลังคาสีเขียวขนาดยักษืนี้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์หลากหลายมากทั้งช่วยดูดซับความร้อน ช่วยลดฝุ่นละออง และช่วยลดการไหลแรงของน้ำด้วย ในส่วนของการผลิตพลังงานจากขยะของโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ในแต่ละวันพวกเขาจะได้รับขยะประมาณ 250-350 รถบรรทุก ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำมารวบรวมในหลุมเพื่อรอนำเข้าเตาเผา ซึ่งในกระบวนการเผานี้จะได้เป็นพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำเดือด และไอน้ำที่ได้จากน้ำเหล่านี้ก็จะไปทำให้กังหันทำงาน ซึ่งในกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องเกิดสารพิษ แต่โรงงานแห่งนี้นั้นมีระบบภายในที่จะไม่ปล่อยสารพิษออกสู่แวดล้อมภายนอกเลย .นับว่าเป็นไอเดียที่บรรเจิดมากเพราะนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ไม่ก่อมลพิษให้แก่โลก แล้วยังสามารถสร้างพื้นที่สาธาณะให้ผู้คนออกมาใช้งานได้ร่วมกันอีกด้วย ที่มา : https://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.youtube.com/watch?v=pOqocj2h6EMhttps://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.copenhill.dk/enhttps://www.facebook.com/environman.th/posts/3166178603510565
‘การออกแบบเพื่อสังคม’ คืออะไร?
ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาฯ (CUD4S) เชิญผู้สนใจร่วมค้นหาความหมายของ ‘การออกแบบเพื่อสังคม’ ไปกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อสังคมจากนานาชาติ ในงานเสวนานานาชาติ DESIGN FOR SOCIETY VIRTUAL INTERNATIONAL FORUM 2020 ในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2020 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยร่วมฟังเสวนาได้ผ่าน 2 ช่องทางคือ Facebook l CUD4S และการฟังผ่านระบบ Virtual แบบถาม-ตอบกับวิทยากรได้ ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (รับจำนวน 40 ที่นั่งต่อวันเท่านั้น) พบกับ– Deborah Szebeko ผู้ก่อตั้ง Think Public เอเจนซี่ด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งแรกของอังกฤษ– Tom Bloxham ผู้ก่อตั้ง Urban Splash บริษัทด้าน regenaration ที่กวาดรางวัลมาแล้วกว่า 419 รางวัล– KELA สำนักงานสวัสดิการสังคมของฟินแลนด์ที่ดูแล KELA BOX นวัตกรรมกล่องของใช้สำหรับเด็กแรกเกิดซึ่งโด่งดังไปทั่วโลก เชิญผู้สนใจฟังเสวนาที่ห้องสมุดฯ […]
กฟผ. เปิดซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ดันกลไกใหม่ช่วยไทยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า
(เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายเร็วกว่ากำหนด ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายใบรับรองการผลิตเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่าภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จลดก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าเปิดซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน อภิปรายภายในงานว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก 4 ด้านสำคัญได้แก่ ด้านนโยบายและแผนพลังงาน ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 คาดจะลดได้ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะประเมินตามแนวทางการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1 ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกเฟสแรกได้ก่อนเวลาที่ NAMA/ COP21 กำหนด จากการขับเคลื่อนมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 ที่ทำมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ กฟผ. ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (กฟผ. และ IPP) ประจำปี 2562 ได้รวม 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันเป็นผลมาจากความร่วมมือของ กฟผ. และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ด้านการประสานความร่วมมือ โดยสร้างภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย โดยผลการลดดังกล่าวได้นำส่งกระทรวงพลังงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA REC กลไกสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสร้างความยั่งยืน Renewable Energy Certificate หรือ REC เป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน ที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบ REC โดยหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC) แนวโน้มการเติบโตของตลาด REC พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิก RE100 ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันความต้องการขาย REC ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ลงทะเบียนกับมาตรฐาน I-REC แล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 750 MWp กฟผ. เปิดซื้อขาย REC รายแรก […]
MEA ร่วม 7-Eleven เปิด EV Charging Station ชาร์จฟรี เพิ่มอีก 2 มุมเมือง
นายมนัส อรุณวัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมขับเคลื่อนตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินนโยบายในด้านรถไฟฟ้า (EV) มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จำนวน 2 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 7-Eleven สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ สาขา สน.บางขุนนนท์ เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้ขับขี่รถ EV ในพื้นที่ ซึ่งมีสถานที่สำคัญทั้งโรงพยาบาล ชุมชน และหน่วยงานราชการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ MEA ติดตั้งในครั้งนี้ เป็นรูปแบบ Normal Charger ขนาด […]